|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"คลัง" จี้พัฒนาตลาดบอนด์เอเชีย เสนอนายกฯ ช่วยดึงเอ็กซิมแบงก์ ประเทศสมาชิกเอเปกเป็นตัวแทนจำหน่ายยกระดับ เรตติ้งบอนด์ ตั้งเป้าต่างชาติออกซื้อพันธบัตรสกุลเงินบาท ในไทย 5% ของมูลค่าตลาด พร้อมสั่งศึกษาแนวทางให้ประเทศเพื่อนบ้านออกบอนด์ ระดมทุนในไทย ขณะที่สบน. ชี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมความน่าเชื่อถือของเพื่อนบ้าน หวั่นนักลงทุนไทยมีความเสี่ยง
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยภายหลังการเข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ได้รายงานถึงแนวทางการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (เอเชียบอนด์) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่นครปูซาน ประเทศ เกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 12-19 พฤศจิกายนนี้ โดยระหว่างวันที่ 12-13 นั้นจะเป็นการประชุมเพื่อสรุปการ เตรียมการของเจ้าหน้าที่อาวุโส วันที่ 15-16 พ.ย. จะเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี และในวันที่ 18-19 พ.ย.จะเป็นการประชุมระดับผู้นำรวมถึงในระดับผู้นำธุรกิจและสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปก
สำหรับแนวทางพัฒนาเอเชียบอนด์นั้น ได้เสนอให้ใช้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ของแต่ละประเทศเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาตลาดเอเชียบอนด์ โดยให้เป็นตัวแทนในการจำหน่ายเอเชียบอนด์ ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย และเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เอเชียบอนด์ (Improve Rating) ได้อีกทางหนึ่ง
"ผมอยากให้นายกฯ คุยกับผู้นำแต่ละประเทศ ให้ใช้เอ็กซิมแบงก์ มาเป็นตัวสร้างตลาดเอเชียบอนด์ โดยให้เป็นตัวแทนจำหน่าย และมีสิทธิ์ Improve Rating ได้ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ตลาดเอเชียบอนด์พัฒนาได้"นายทนง กล่าว
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ผลักดันมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) มีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมไปมากแล้ว อาทิ การออกมาตรการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่นักลงทุนในตราสารหนี้ ที่ไม่ได้มีถิ่นฐานในประเทศไทย (Non Resident) การอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการ พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทย รวมถึงการอนุญาตให้บริษัทนิติบุคคลต่างชาติเข้ามาออกพันธบัตรในประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีหน้าด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีแผนการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ออกและผู้ซื้อพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยที่เป็นต่างชาติ เป็น 5% ของมูลค่าตลาด ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันการที่นักลงทุนสถาบันเข้ามาออก พันธบัตรในประเทศไทยได้นำนักลงทุนจากประเทศของตนเองเข้ามาลงทุนด้วย เช่น เอดีบี ดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุน 1 ใน 3 ของวงเงินพันธบัตรที่ออกจำนวน 4,000 ล้านบาท และเจบิกดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุน 10% ของวงเงินพันธบัตรที่ออกจำนวน 3,000 ล้านบาท
นางพรรณี ยังได้กล่าวถึงแนวคิดของรัฐบาลส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาออกพันธบัตรในประเทศไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ว่า เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงความน่าเชื่อ และการดูแลความเสี่ยงให้กับนักลงทุนไทยด้วย ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังมีนโยบาย ธสน.เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาออกพันธบัตรในประเทศไทย โดยใช้รายได้ที่แน่นอนในอนาคตเป็นหลักประกันในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชัน) หรือเป็นตัวการันตี พันธบัตรดังกล่าว
|
|
|
|
|