Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 พฤศจิกายน 2548
อีลิทการ์ดดิ้นดึงทุนออสซี่ต่อยอดธุรกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี)

   
search resources

ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี), บจก.
Tourism
โชคศิริ รอดบุญพา
ไทย-ออสเตรเลียน แคปิตอล, บจก.




ทีพีซี-แอคทีฟ ดึงทุนนักธุรกิจแดนจิงโจ้ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจ "รถมอเตอร์โฮม" เข้าไทย ประเดิมร่วมทุนกับ TSAM เปิดตัว 2 บริษัท พร้อมตั้งกองทุน 1,000 ล้านสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ด้านชิ้นส่วนยานยนต์จ้างผลิต ชิ้นส่วนป้อนบริษัทแม่ ขณะที่บริษัทท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะจับมือนักลงทุนท้องถิ่น ตั้งเป้าภายใน 5 ปีเปิด 50 แห่ง เริ่มสตาร์ทปีหน้า รวมเม็ดเงินลงทุน กว่า 10,000 ล้านบาท

วานนี้ (14 พ.ย.) ในพิธีลงนามสัญญาจัดตั้งบริษัท ไทย-ออสเตรเลียน แคปิตอล จำกัด(TA Capital) นายโชคศิริ รอดบุญพา ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) เปิดเผยว่า บริษัทดังกล่าวจัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยร่วมทุนระหว่าง บริษัท เจโก ของนายเจอรี่ ไรอัน ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ถือบัตรไทยแลนด์ อีลิท ชาวออสเตรเลีย และบริษัท TSAM (TSA Management Ltd.) ของประเทศไทย ในสัดส่วน 50:50 เพื่อร่วมลงทุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(SMEs) ของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ตรงนี้จะสร้างโอกาส ให้กลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ของตัวเอง ขณะเดียวกันก็จะขยาย ไปสู่ธุรกิจยานยนต์ประเภทเพื่อการท่องเที่ยว หรือ "มอเตอร์โฮม"

ตั้งบริษัทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

ทั้งนี้เพราะ เจโก เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจ มอเตอร์โฮมในออสเตรเลีย โดยเบื้องต้น เจโก จะเข้า มาว่าจ้าง บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ให้ผลิตชิ้นส่วนของรถมอเตอร์โฮม เพื่อส่งไปยังบริษัทแม่ที่ออสเตรเลีย นอกจากนั้นยังใช้บริษัท ไทย-ออสเตรเลียน แคปิตอล จำกัด ลงทุนตั้งบริษัท ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์(ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท (Leisure Park) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในไทยอีกไม่ต่ำกว่า 50 แห่ง ภายใน 5 ปี โดยรูปแบบ การลงทุนจะเปิดโอกาสให้เอกชนคนไทยที่สนใจและมีความพร้อมหรือมีที่ดินที่เหมาะสมเข้ามาถือหุ้นในแต่ละพื้นที่ได้อีกด้วย

"ลักษณะการลงทุนจะกระจายทั่วประเทศในจังหวัดที่มีพื้นที่ที่เหมาะสม โดยจะให้บริษัท ท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์ ไปร่วมทุนกับเอกชนในจังหวัดนั้นๆ จัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พร้อมกับเป็นผู้บริหารจัดการด้วย ในส่วนของอุต-สาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ทาง เจโก ยังได้เตรียมเงินลงทุนไว้อีกราว 1,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีของไทย นอกจากนั้นหาก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมอเตอร์โฮม ได้รับการยอมรับจากคนไทยอย่างกว้างขวาง ก็จะลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถมอเตอร์โฮม ที่ประเทศไทยอีกเช่นกัน" นายโชคศิริกล่าว

สำหรับ บริษัท ทีเอสเอ แมเนจเมนท์ จำกัด (TSAM) ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการลงทุนแก่ หน่วยงานและบริษัทภาคเอกชนต่างๆ ทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ โดยมีนางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นผู้บริหาร ก่อนที่จะมาเข้าร่วมโครงการ เป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรอีลิท กับทาง ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จึงได้ตั้งบริษัท แอคทีฟ จำกัด ขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจขายบัตรสมาชิก อีลิท ตั้งเป้า 5 ปีหมื่นล้าน

นางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคทีฟ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนที่จะเกิดขึ้นหลังการลงนามในครั้งนี้ เฉพาะโครงการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ที่จะพัฒนา "ปาร์ก" เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ก็จะก่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจนี้ ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า และยังสามารถสร้างธุรกิจต่อเนื่องได้ครบวงจร และที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่จะพัฒนาขึ้นนี้จะกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่พื้นที่อย่างแท้จริง

โดยการพัฒนาพื้นที่ จะเริ่มตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แห่งแรกที่จะเข้าไปลงทุน ขณะนี้มองไว้ 2 ที่ คือ ที่ จ.ระยอง กับ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา คาดว่า จะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ไม่เกินสิ้นปี 2549 สำหรับพื้นที่ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 30-50 ไร่ ขึ้นไป ใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อแห่ง ซึ่งพื้นที่จะเป็นของ เอกชน หรือภาคราชการก็ได้ โดยจะมีการทำสัญญาข้อตกลงร่วมกันเป็นแห่งๆไป โดยบางที่อาจซื้อที่ดินมาพัฒนา บางที่จะเป็นร่วมทุนกับเอกชน หรือ บางที่อาจเป็นเรื่องของการเช่า ซึ่งจังหวัดที่อยู่ในการพิจารณาเพื่อจะเข้าไปทำปาร์ก หรือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ในขณะนี้ได้แก่ เขาใหญ่ ประจวบฯ กาญจนบุรี อยุธยา ระยอง เชียงใหม่ ตราด

จับตลาดคนไทย- เพิ่มจุดขายท่องเที่ยว

ปัจจุบัน คนไทยกลุ่มที่นิยมเที่ยวเชิงนิเวศน์ และกางเต็นท์นอน ต่อปีมีจำนวนรวมประมาณ 2 ล้าน คน ขณะที่เป้าหมายคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศถึง 76 ล้านคนครั้ง และจะเพิ่มเป็น 79 ล้าน คนครั้ง ในปีหน้า ตรงนี้จึงมองว่า ถ้าเราทำสินค้าขึ้นมาให้บริการในราคาพอควร และอาจจะถูกกว่าโรงแรมในหลายๆแห่ง ก็จะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว คนไทย และคนต่างชาติที่นิยมเที่ยวแบบนี้ เข้ามาประเทศไทยได้มากขึ้น ซึ่งประเทศเป้าหมายหลัก คือ ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา แต่ปีแรก จะมอง ตลาดคนไทยเป็นหลัก หรือมีสัดส่วนที่ 80% และต่างชาติ 20% โดยปีแรกผลประกอบการน่าจะโตแบบก้าวกระโดด

"ที่ออสเตรเลียนิยมท่องเที่ยวแบบนี้มาก โดยทั่วประเทศมีปาร์ก ที่ให้บริการถึง 2,800 แห่งทั่วประเทศ ส่วนญี่ปุ่น มีปาร์กแบบนี้มากกว่า 3 พันแห่ง ดังนั้นด้วยศักยภาพของประเทศไทย ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานจำนวนมาก ก็จะพัฒนาเป็นปาร์ก หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในมากและน่าสนใจ"

อย่างไรก็ตาม นายเจอรี่ ไรอัน เป็นสมาชิกบัตรอีลิท ที่มาจากการจัดจำหน่ายของบริษัทแอคทีฟ และการลงทุนครั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการชักชวนของบริษัทแอคทีฟเช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน แอคทีฟมียอดจำหน่ายบัตรสมาชิกให้แก่ทีพีซีไปแล้วกว่า 550 ใบ คิดเป็นกว่า 50% ของยอดจำหน่ายบัตรอีลิทของทีพีซีทั้งหมด โดยเราคาดว่าภายในสิ้นปี 2548 แอคทีฟ จะมียอดจำหน่ายบัตรเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของยอดจำหน่ายบัตรอีลิทโดยรวมของทีพีซี

นายโชคศิริกล่าวเพิ่มเติมว่า ตามนโยบายของทีพีซี ในการบริหารจัดการเงินที่ได้จากการขายบัตรสมาชิก และค่าต่ออายุรายปี ส่วนหนึ่งจะกันไว้เพิ่มลงทุน เพื่อเกิดผลกำไรเพิ่มเติม ดังนั้น ในส่วนของการลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว หรือปาร์ก จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ทีพีซีสนใจที่จะเข้าไปร่วมลงทุนด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us