Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
AS THE FUTURE CATCHES YOU             
 





ผู้เขียน : Juan Enriquez

สำนักพิมพ์ : Crown Business, Random House Inc

จำนวน : 359

ราคา : amazon.com $ 16.10

Asia Books 895 บาท

AS THE FUTURE CATCHES YOU หนังสือที่นายกฯ ทักษิณอ่านแล้วบอกต่อ
เมื่อ 3 เดือนก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แนะนำหนังสือเล่มนี้ให้คนไทยได้รู้จักกันว่าเป็นหนังสือที่อ่านแล้วจะรู้ว่าเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก้าวหน้าไปถึงไหนๆ แล้ว หากเรายังไม่เปิดหูเปิดตารับรู้และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ที่เกิดขึ้นทุกวัน ก็จะหนีไม่ทันอนาคตที่กำลังวิ่งไล่จับเรา และถูกทำลายล้างไปในที่สุด

เทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ เทคโนโลยี พันธุกรรม ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยการปรับปรุง ดัดแปลง ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยใช้วิธีการตัดต่อยีนของสิ่งมีชีวิต ฮวน เอนริเกซ ผู้เขียน AS THE FUTURE CATCHES YOU เป็นผู้อำนวยการ โครงการ Life Science ของฮาร์วาร์ด บิส ซิเนส สกูล ซึ่งเขียนบทความเกี่ยวกับธุรกิจ และเทคโนโลยีพันธุกรรมมาแล้วหลายชิ้น AS THE FUTURE CATCHES YOU เป็นหนังสือเล่มแรกของเขา

เอนริเกซบอกว่า วันที่ 12 กุมภา พันธ์ 2001 เป็นวันที่มีความสำคัญมากเป็นวันที่แบ่งโลกออกเป็นสองยุค คือ ก่อน หน้าวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 เป็นยุคที่ เรายังไม่สามารถสร้างแผนที่พันธุกรรมของมนุษย์ได้ หลังจากวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 โลกเข้าสู่ยุคหลังจีโนม (post-genomic era)

จีโนมคือ พิมพ์เขียวของชีวิตมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมาก ส่วนตรงกลางของเซลล์แต่ละเซลล์เรียกว่านิวเคลียส ในนิวเคลียสของเซลล์จะมีโคร โมโซมจำนวน 23 คู่ โครโมโซมเหล่านี้ ประกอบด้วยสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ที่เรียงต่อกันเป็นสายเกลียวคู่

แม้ลำดับการเรียงตัวของจีโนมจะยาวเหยียด แต่มีดีเอ็นเอบางช่วงเท่านั้นที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลต่อการกำหนดกระบวนการของชีวิตตั้งแต่เกิด จนตาย ดีเอ็นเอเหล่านี้เรียกว่า ยีน สาร ดีเอ็นเอเหล่านี้เป็นกรด 4 ชนิด คือ อาดีนิน (ใช้อักษรย่อแทนว่า A), ไทมีน (T), ไซโตซีน (C) และ G-กูอานีน สารดีเอ็นเอ 2 ชนิด จาก 4 ชนิดนี้จะจับตัวกันเป็นคู่ๆ เรียกว่า "เบส" เบสจะเรียงตัวต่อกันไปเรื่อยๆ

การจัดทำแผนที่พันธุกรรม หรือ จีโนม คือ การวิเคราะห์ แยกแยะลำดับการเรียงตัวของ A, T, C และ G ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 เป็นวันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลจีโนมทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ในร่างกายของมนุษย์มียีน อยู่ทั้งหมด 26,588 ยีน ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน มียีนอยู่ 0.9% ที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 3.3% ทำให้แต่ละเซลล์ติดต่อ สื่อสารกันได้ 10.2% สร้างเอนไซม์ที่จำเป็น ในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย

นักวิศวพันธุศาสตร์ที่สังเคราะห์แผนที่พันธุกรรมของมนุษย์ออกมาได้ คือ เคร็ก เวนเตอร์ แห่งบริษัทเซเรล่าจีโนมิค กับทีมนักวิทยาศาสตร์จากโครงการจัดทำแผนที่พันธุกรรมของมนุษย์ ของกระทรวงพลังงานและสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ

การที่เรารู้ว่า ตัวอักษร A, T, C, G เรียงตัวกันอย่างไร ในยีนของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และรู้ว่าการเรียงตัวแบบนั้น ทำให้เกิดลักษณะเช่นใด และหากเรียงตัวแตกต่างออกไป จะเกิดอะไรขึ้น เป็นความ รู้ที่จะนำไปสู่การรักษาโรคที่ไม่อาจรักษาได้ เช่น อัลไซเมอร์ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบประโยชน์ไม่เกิดเฉพาะในทางการแพทย์เท่านั้น

แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมสารสนเทศ ฯลฯ ซึ่ง จะพลิกโฉมหน้าวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจอย่างสิ้นเชิง จะเกิดอุตสาหกรรมที่เรียกว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิต หรืออุตสาหกรรมไลฟ์ไซน์ (Life Science Industry)

ตัวอย่างเช่น เราสามารถตัดต่อยีนในยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะเชื้อมาเลเรียให้มีคุณสมบัติป้องกันโรคไข้จับสั่น ถ้ายุงไปกัดใคร คนนั้นก็จะมีภูมิคุ้มกันในตัว แทนที่จะเป็นโรคมาเลเรีย หรือการจัดลำดับการเรียงตัว A, T, C, G ในเมล็ดพันธุ์ พืชเสียใหม่ให้สามารถต้านศัตรูพืชได้

ตัว A, T, C, G นั้น อันที่จริงก็คือ ข้อมูลเหมือนกับเลข 0 และ 1 ในระบบข้อมูลดิจิตอลนั่นเอง ตัวหนังสือที่เราอ่าน เสียงที่เราได้ยิน ภาพที่เราเห็นก็เกิดขึ้นจากการเรียงตัวของเลข 0 และ 1 ลักษณะ เด่น ลักษณะด้อยของสิ่งมีชีวิต รูปร่างหน้าตา สีผิว ของสิ่งมีชีวิต ก็เกิดขึ้นจากการเรียงตัวของตัวอักษรทั้ง 4 ตัวนี้เช่นกัน แผนที่พันธุกรรมของมนุษย์จึงเป็นระบบข้อมูลสารสนเทศดีเอ็นเอที่ทรงพลังที่สุดในโลก

ดังนั้น ชาติใดที่มีเทคโนโลยีในการ สร้างระบบข้อมูลสารสนเทศ ดีเอ็นเอดีที่สุด คือผู้ชนะในโลกยุคใหม่ เพราะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้สารพัดแบบ

ภาษาดิจิตอล เป็นภาษาของศตวรรษที่ 20 ในศตวรรษที่ 21 จีโนมคือ ภาษาหลักและพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของศตวรรษนี้

นี่คือ สาระที่ผู้เขียนต้องการบอกเล่าใน AS THE FUTURE CATCHES YOU คือ เรื่องราวของเทคโนโลยีพันธุกรรม ส่วนเนื้อหาอื่นๆ อีก เกือบ 70% ของหนังสือหนา 260 หน้านี้ กล่าวได้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยีในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การอธิบายเรื่องสังคมแห่งความรู้ ซึ่งมีหนังสือมากมายหลายเล่มเขียนถึงมาก่อนแล้ว ผู้เขียนนำเรื่องเหล่านี้มาห้อมล้อมเรื่องเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ๆ เท่านั้น

เอนริเกซ เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ Life Science Industries ลงในวารสาร "ฮาร์วาร์ด บิสซิเนส รีวิว" ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน ค.ศ.2000 ซึ่งมีผู้เรียบเรียงลงพิมพ์ใน "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนมิถุนายน 2543 เนื้อหาของบทความชิ้นนั้น กับหนังสือเล่มนี้ไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก

สิ่งที่สมควรกล่าวถึงคือ การจัดรูปเล่ม โดยใช้แบบตัวหนังสือหลายแบบ เพื่อต้องการสื่อความหมายเฉพาะ การจัดรูปประโยคที่เหมือนกับการเขียนร้อยกรอง การทิ้งพื้นที่ว่างมากๆ ในแต่ละหน้า ซึ่ง ผู้เขียนมีเจตนาให้เป็นเนื้อที่ที่ผู้อ่านใช้เขียนถ่ายทอดความคิดที่เกิดจากข้อเขียนในหน้านั้นๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us