|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"กรณ์" ชำแหละเศรษฐกิจไทยระดับมหภาคยังมั่นใจ ได้ จุดล่อแหลมอยู่ที่เงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ระดับรากหญ้าลำบาก จากราคาสินค้าแพงขึ้น ตลาดหุ้นไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจเหตุนโยบาย ลงทุนรัฐไม่ชัด โดยเฉพาะเมกะโปรเจกต์ พบนักลงทุนต่างชาติไม่เชื่อตัวเลขเศรษฐกิจบางตัว หุ้นในตลาดฯเป็นของรัฐและนักการเมืองซีกรัฐเกือบครึ่งตลาด มิหนำซ้ำหุ้นหลายบริษัทที่รัฐเอี่ยวล้วนมีปัญหา การบิน ไทย ธ.กรุงไทย ปตท. ดึงความโปร่งใสถดถอย กดดัชนีหุ้นไทยย่ำอยู่ที่เดิม 2 ปีแล้ว สะท้อนระบบเศรษฐกิจใบสั่ง
นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจ ไทยปัจจุบันยังถือว่ามีเสถียรภาพ เมื่อเทียบเงินสำรองระหว่างประเทศต่อยอดนำเข้า และพิจารณาตัวเลขชี้วัดออก มาดีอยู่ อาทิ อัตราการว่าจ้างงาน ฯลฯ แต่มีจุดที่ล่อแหลมอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัด ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่มีความเสี่ยงมากนัก
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในระดับมหภาค ยังดีอยู่ แต่ในทางกลับกันในแง่ของภาค ประชาชนโดยเฉพาะรากหญ้าเห็นได้ชัดว่าได้รับความเดือดร้อนจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ฯลฯ เป็นคำถามว่าทำไม เศรษฐกิจไม่สะท้อนใหญ่ออกมา ขณะเดียวกันตลาดหุ้นไทยก็ไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจ ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลจาก บริษัทหลักทรัพย์ พบว่า นักลงทุนต่างประเทศไม่เชื่อตัวเลขทางเศรษฐกิจบางตัวที่มีการประกาศออกมา
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เป็นคำถามของนักลงทุนต่างประเทศ อย่างในเรื่องของขีดความสามารถ ในปัจจุบัน ซึ่งขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยอยู่ระหว่างประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งจะมีการพิจารณาที่จะเลือกเข้าไปลงทุน ขณะที่ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งภาครัฐช่วยกระตุ้น แต่ก็ยังไม่มีชัดเจนในเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล (เมกะโปรเจกต์) โดยเฉพาะเรื่องระบบขนส่ง-มวลชน
"ผมเคยไปฟังที่มีรมว.คลังพูดถึงนโยบายเมกะโปรเจกต์ มีนายธนาคารจากต่างประเทศจำนวน มากเข้าร่วมฟัง แต่สุดท้ายก็ไม่มีความชัดเจน มองกันว่า การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ยังอีกไกล ทุกคนผิดหวังมาก ไม่มีการตกผลึกในเรื่องนี้"
เมื่อไม่มีความชัดเจน จึงทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในตลาดทุนไทย ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนอนาคต สุดท้าย คนต้องมองอนาคต สภาพตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีนี้(2547-2548) ดัชนีหุ้นไทยอยู่เท่าเดิม 600-700 จุด ถือว่าเป็นตลาดหุ้นที่ถูกมานานแล้วมา 2 ปีแล้ว คนก็ยังงง ว่าทำไม่หุ้น ไม่ขึ้นสักที สุดท้ายคนมองว่า อนาคตยังมีความไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของระดับธรรมาภิบาล (ความโปร่งใส) ที่คอยบั่นทอน ซึ่งจะเห็นว่าบริษัทจดทะเบียนที่มีภาครัฐและการเมืองในกลุ่มภาครัฐเกี่ยวข้องล้วนมีปัญหา อาทิ บมจ.การบินไทย ก็ไม่มี ความชัดเจนว่าจะดูแลเรื่องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือประโยชน์เพื่อใคร, ธนาคารกรุงไทย ซึ่งรัฐบาลให้สนองนโยบายการปล่อยกู้ ในขณะที่ธนาคารเอกชน ไม่ปล่อยก็ต้องมีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขณะที่ บมจ.ปตท. สุดท้ายรัฐบาลก็เข้าไปแทรกแซงล่าสุด เรื่องการให้พยุงค่าเอฟที(ค่าไฟ) ส่วน บมจ.ปิคนิคคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเกี่ยวพันอดีตรัฐมนตรีช่วยที่ผ่านมาก็มีปัญหาเกิดขึ้น
"ตรงนี้เป็นความน่าเชื่อถือของตลาดทุน แม้แต่ธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งแม้จะดูภาพเป็นเอกชนก็ยังไม่วายต้องได้รับแรงกดดันจากการเมือง"
ทั้งนี้ เมื่อ บมจ. กฟผ.ที่จะเข้ามาจดทะเบียนใน ตลท.ก็จะช่วยภาวะตลาดดีขึ้น แต่สุดท้ายก็จะมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจน คลุมเครือในเรื่องรายละเอียดว่า เมื่อแปรรูปแล้วแต่รัฐบาลยังคงถือหุ้นใหญ่ จึงทำให้เกิดความสับสนว่าหน้าที่ในการบริหารนั้นจะเป็นของรัฐหรือของเอกชน ก็จะคล้ายกรณีธนาคาร กรุงไทย ที่ต้องสนองนโยบายของรัฐบาลแล้วมีปัญหา ปตท.ที่ต้องการดูแลผลประโยชน์ของเอกชน แต่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซง
ดังนั้น เมื่อ กฟผ. เมื่อเข้า ตลท.แล้วก็จะมีปัญหาตามมาเช่นกัน ซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องราคาสินค้า การให้บริการต่อประชาชน ซึ่งสุดท้ายจะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของรัฐบาลได้ยากมาก ต้าน กฟผ.โครงสร้างไม่เหมาะ
นายกรณ์ กล่าว การคัดค้านนำ บมจ.กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หวังว่าจะให้มีการยุติการนำเข้า แต่ไม่เห็นด้วยในเรื่องของโครงสร้างและจังหวะเวลา การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯต้องไม่ใช่โครงสร้างปัจจุบันนี้ ที่ผ่านมามีการคัดค้านมาตลอด ทั้งการอภิปรายในสภาฯก็ไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจ จึงได้เลือกไปยื่นหนังสือคัดค้านให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.)
"ตอนนี้อยู่ในช่วงของการพิจารณาการลงทุน เราจะเลือกที่จะเปิดเผยข้อมูลให้แก่นักลงทุน ซึ่งมีผลต่อการประเมินราคาหุ้น พูดถึงความน่าลงทุนมีแน่นอนเพราะโครงสร้าง กฟผ.ที่รัฐบาลทำออกมาเอื้อประโยชน์แน่นอน"
ภายใต้โครงสร้าง กฟผ.ในปัจจุบันไม่สามารถตอบโจทย์ที่ว่า แปรรูปเพื่อมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และไม่ตอบโจทย์ที่เพื่อให้เกิดการแข่งขัน มีการนำสาย ส่งเข้าไปรวมอยู่ใน กฟผ. ซึ่งการที่นำสายส่งไปรวม ยังมีความหมายในแง่ของประชาชนที่เคยถูกเวรคืนที่ดินไปเพื่อให้ กฟผ.สร้างสถานีสายส่ง รัฐบาลไปเวรคืนที่ดินมาแล้วจะเอาที่ดินพวกนี้ไปให้คนอื่นที่จะเข้ามาถือหุ้น ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อเขา
การแยกโรงไฟฟ้าออกจากกันแล้วนำเข้าทีละบริษัทจึงจะทำให้เกิดการแข่งขัน เช่นในอดีตที่พรรคประชาธิปัตย์แยกโรงไฟฟ้าออกเป็น 3 แห่งแล้วเข้าจดทะเบียนใน ตลท. ค่าเอฟทีเพื่อลดความเสี่ยง
ความใหญ่ของหุ้น กฟผ.ทำให้กลายเป็นหุ้นที่น่าสนใจ(ฮอต)การขยายตัวของธุรกิจประเภทนี้จะต้องมองยาว 4 ปี หุ้น ปตท.นั้นอิงกับราคาน้ำมัน ส่วน กฟผ.อิงกับค่าเอฟที ซึ่งโครงสร้าง กฟผ.ยังเป็นโครงสร้างที่กำหนดราคาฐานและที่เหลือเป็นค่าเอฟที ทั้งที่ไม่จำเป็น
ถ้าย้อนกลับไปดูที่มาของค่าเอฟที พบว่าในอดีต กฟผ.ไม่มีการกำหนดค่าเอฟที แต่เมื่อมีการกู้เงินจาก เวิลด์แบงก์มา ซึ่งเป็นปกติที่ผู้ให้กู้ต้องการความแน่นอน จึงเสนอสูตรค่าเอฟทีมาเพื่อลดความเสี่ยงให้มั่นใจในเรื่องของรายได้และฐานะการเงินที่แน่นอน บริษัทไฟฟ้าประเทศอื่นก็ไม่เห็นมีค่าเอฟที แต่ปัจจุบัน เราหลุดจากสภาพหนี้แล้ว ระบบใบสั่งนักลงทุนเผ่น
นอกจากนี้ การแปรรูป กฟผ.จะมีผลต่อตลาด ทุนในประเทศไทย ที่ผ่านมาแม้ราคาหุ้นของบริษัท ต่างๆ ใน ตลท.จะเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนในตลาดทุนกลับไม่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ ตลท. และราคาหลักทรัพย์ของไทยถูกนักวิเคราะห์ระบุว่าต่ำสุด ในเอเชีย จากรายงานสถาบันการลงทุนระหว่างประเทศระบุถึงสาเหตุของตลาดทุนไทยไม่กระเตื้องเป็นเพราะไม่มีใครกล้าลงทุน เพราะขาดหลักธรรมาภิบาล ภาวะขึ้นลงของตลาดหลักทรพัย์ขึ้นอยู่ กับนโยบายรัฐบาลหรือ ครม. ซึ่งมีการแทรกแซงตลาด หลักทรัพย์ฯ ตลอดเวลา หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจตามสั่ง โดย 40% ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นคนใน ครม.และคนใกล้ชิด ครม. ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในโลก ไม่มีความโปร่งใส
"หากตลาดหลักทรัพย์ของไทยอยู่ภายใต้การดูแลที่มีธรรมาภิบาล ราคาหุ้นของ กฟผ.ที่จะเข้าตลาดฯจะดีกว่านี้ เพราะความเสี่ยงของนักลงทุนจะน้อยลง ประกอบกับรัฐบาลไม่ตั้งองค์กรอิสระดูแลและกฎหมายรองรับ จึงเหมือนว่าความอิสระที่จะเกิดขึ้นอยู่ภายใต้การดูแลของ ครม.หรือฝ่ายการเมือง ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลทบทวนและตระหนักก่อนนำ กฟผ.แปรรูป" นายกรณ์ กล่าว
อยากให้รัฐบาลไทยดูตัวอย่างของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งก่อนจะมีการแปรรูปการไปรษณีย์ได้เกิดข้อสงสัยจากประชาชนอย่างมาก จึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจ ยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยวัดกระแสตอบรับจากประชาชนในเรื่องนี้ และสุดท้ายรัฐบาลญี่ปุ่นชุดเดิมได้รับเลือกเข้ามา แสดงว่าประชาชนนิยม ในนโยบายของรัฐบาล แต่การแปรรูป กฟผ.ของไทย รัฐบาลกลับไม่มีการทำประชามติเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่านโยบายรัฐบาลจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
นอกจากนี้ ยังมีช่องโหว่โดยเฉพาะการกระจาย หุ้นกฟผ. 1,245 ล้านหุ้น โดยเป็นนักลงทุนต่างประเทศ 374 ล้านหุ้น นักลงทุนในประเทศ 625.5 ล้านหุ้น บริษัทจัดการกองทุนหรือกองทุนต่าง ๆ ของรัฐ 249 ล้านหุ้น นอกจากนี้ยังมีกรีนชู หรือขายหุ้นส่วนเกินเพื่อพยุงราคาในช่วงการซื้อขายเดือนแรก 183 ล้านหุ้น ซึ่งจะเกิดช่องโหว่ โดยส่วนใหญ่จะมีการขายให้สถาบันการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อรวมกับสัดส่วน นักลงทุนต่างประเทศแล้วจะมีมากถึง 556 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 40% ของหุ้น กฟผ.ทั้งหมด และน่าเป็น ห่วง คือ มีนักการเมืองอาศัยช่องโหว่ตรงนี้โดยซื้อหุ้นผ่านกองทุนต่างประเทศ โดยผ่านบัญชีสถาบัน การเงินที่เปิดไว้ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ อเมริ-กา สวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการควบคุม และจากการที่พรรคถามไปยัง ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับคำตอบ โดย ก.ล.ต. อ้างว่าไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้ดูแลเรื่องนี้
|
|
 |
|
|