Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 พฤศจิกายน 2545
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในไอทีวี... หลัง"สรรค์ชัย"ลุกจากเก้าอี้?             
 

   
related stories

ITVชงทรงศักดิ์แทนสรรค์ชัย
ผลงานของสรรค์ชัย ตั้งแต่ ตุลาคม ปี 2543-ตุลาคม 2545
ผู้มาใหม่ ทรงศักดิ์ เปรมสุข ขุนพลชินฯ ที่ชื่อ "ชิน"

   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล
ทรงศักดิ์ เปรมสุข




หลังจากที่คำสั่งย้ายนายสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล ขึ้นเป็นรองประธาน กรรมการ และดันเอา ทรงศักดิ์ เปรมสุข อดีตกรรมการผู้จัดการเอสซี แม็ทช์บ็อกซ์ ขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการแทน หลายฝ่ายเชื่อว่าจะมีความ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในไอทีวีอย่างแน่นอน

นับตั้งแต่สรรค์ชัยก้าวเข้ามา ไอทีวี ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นภาพของสถานี ข่าวรวมถึงเป็นสถานีซึ่งเน้นรายการสาระได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างหน้ามือเป็น หลังมือ กลายเป็นสถานีซึ่งเน้น รายการ บันเทิงมากขึ้น ตามคอนเซ็ปต์ Best News + Best Entertainment ที่นายสรรค์ชัยเคยประกาศไว้ เพราะต้นทุนของสถานีอันเนื่องมาจากสัญญา สัมปทานที่ของเดิมเคยทำไว้นั้น มหาศาลเกินกว่าที่รายได้จากรายการข่าวเพียงอย่างเดียวจะครอบคลุมได้ทั้งหมด พูดได้ว่าภาวะเลือดไหลออกของไอทีวียังมีอยู่ตลอดเวลา

สรรค์ชัยเคยยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไม่มีสถานีไหนที่อยู่ได้ เพราะ รายการข่าว ทั้งๆที่รายการข่าวของไอทีวีนั้นมีโฆษณาเต็มตลอด ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องจริง ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะเพิ่มรายการบันเทิงโดยเฉพาะรายการ ละครหลังข่าว เพราะเขาเชื่อว่า เมื่อมีละครแล้ว โฆษณาต่างๆจะเข้ามา เพราะในหลายช่อง อาทิ ช่อง 7 และช่อง 3 เม็ดเงินในช่วงโฆษณาของ ละครโทรทัศน์ถือเป็นบ่อเงินบ่อทองที่สามารถเลี้ยงสถานีได้

แต่กระนั้นจำนวนโฆษณาที่เข้ามากลับไม่ดีอย่างที่คิดไว้ ส่วนหนึ่งเป็น เพราะคุณภาพของละครของไอทีวีในช่วงเปิดตัวนั้นไม่ได้มีทีท่าที่จะสู้กับช่อง อื่นได้เลย ทั้งในแง่ของการเป็น ทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์ หรือในแง่ความสนุก สนาน การลงทุนทำละคร แต่โฆษณาไม่เข้านั้นจึงยิ่งไปการเฉือนเนื้อตัวเองไปเรื่อย เพราะในความเป็นจริงต้นทุน การผลิตละครต่อตอนของไอทีวีก็สูงไม่แพ้ละครของช่องอื่นเหมือนกัน แต่เมื่อปรากฏว่า ละครอย่าง อมตะ , ส่วย, ทะเล จำปี ดนตรี ทราย ฯลฯ กลับไม่ติดความรู้สึกเลยแม้แต่น้อย

แม้ว่าระยะหลังๆจะมีผู้จัดฝีมือ เยี่ยมๆเริ่มเดินเข้ามาสู่ไอทีวีแล้ว แต่ดูเหมือนภาพละครโทรทัศน์ที่ไม่น่าดูยังติดตาอยู่เสมอ นอกจากนั้นข่าวของ ผู้จัดที่ไม่ค่อยจะมีภาพลักษณ์ที่ดีเท่าไหร่ก็ออกมาเรื่อยๆ อย่างล่าสุดกรณีของ หลงไฟ ละครที่สร้างจากเรื่องที่ดีได้รับรางวัลมามากมายของ กฤษณา อโศกสิน ก็ยังไม่ได้ฤกษ์ลงจอเสียที กลายเป็นปัญหาคาใจคนดูอยู่ตลอด

หลายฝ่ายเชื่อว่าเรื่องของรายการ ละครจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แน่นอนเป็นประการแรก นอกจากนั้น ที่จะสวนทางก็คือ การเพิ่มเวลาการ นำเสนอรายการข่าว เพราะในขณะนี้ โฆษณาที่เข้ามานั้นล้นจนอาจจะต้องขยายเวลาออกไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่อง ดีสำหรับคอข่าวไอทีวี

"จุดเด่นที่สุดของไอทีวีก็คือข่าว สิ่งที่เราจะเสริมเข้าไปก็คือการนำเสนอ ข่าวให้รวดเร็วและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น" คือคำพูดที่ทรงศักดิ์ยืนยันตั้งแต่วันแรกที่เข้ามารับหน้าที่

ความเปลี่ยนแปลงประการถัดมาก็คือ ในยุคของสรรค์ชัยไอทีวียังมี นโยบายสุดหรูอยู่อย่างหนึ่ง นั้นคือ การเซ็นสัญญากับดาราพร้อมจ่ายเงินเดือนให้ด้วย ถือเป็นนโยบายแปลกใหม่ เพราะดาราเหล่านั้นสามารถ ไปรับงานของช่องอื่นต่างค่ายได้อีกด้วย แต่กระนั้นดาราที่เข้ามาอยู่ในสังกัดก็ยังถือว่าเป็นดาราไม่ใหญ่เท่าไหร่ อาทิ อุ้ม ลักขณา นางเอกกระสือ เหมียว เสาวรส อดีตรองนางสาวไทย เมย์ กุลฑีรา สัตบงกช ฯลฯ จนคนต้องตั้งข้อสงสัยว่า ทำไปทำไม และไอทีวีได้ประโยชน์จากงานนี้อย่างไร?

เรื่องของการเซ็นสัญญาเพื่อจ้าง ดาราให้อยู่ในสังกัดเป็นเวลาอย่างต่ำ 2 ปีอาจจะต้องมีการปรับเช่นเดียวกัน

ประการที่สามก็คือ การกลับมาของละครเกาหลี - ญี่ปุ่น ในช่วงดึก ซึ่งถูกโยกย้ายเวลาไปอยู่ในตอนเย็นซึ่งยากลำบากต่อแฟนๆกลุ่มนี้น่าจะได้รับไฟเขียวให้กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งแฟนๆหลายคนกังขา เพราะซีรี่ส์ของหนังเกาหลี - ญี่ปุ่นเหล่านี้ ถือเป็น หน้าเป็นตาของช่องเสียด้วยซ้ำไป แม้ ว่าไอทีวีจะไม่ได้เป็นช่องแรกที่บุกเบิก แต่การทำงานอย่างต่อเนื่องทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นเจ้าแห่งละครเกาหลี - ญี่ปุ่นของไอทีวีโดดเด่นอย่างยิ่ง และกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนดู เป็นไปได้ว่า แฟนๆไอทีวีน่าจะยิ้มออก

เหล่านี้น่าจะเป็นความเปลี่ยน แปลงระลอกแรกที่อาจจะทำให้ภาพของไอทีวีที่เคยดูล้ากลับมาเข้มข้นและ กลายเป็นสถานีน้ำดีอีกรอบหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us