Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2548
สินเชื่อบุคคลพุ่งสวนทางมาตรการธปท. สิ้นไตรมาส3เพิ่มขึ้นเฉียดแสนล้านบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




แบงก์ชาติ เผยยอดปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ สิ้นไตรมาส 3 รวมเกือบ 5.56 ล้านล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสก่อน 216,213 ล้านบาท พบภาคการผลิตขอสินเชื่อนำโด่งถึง 1.55 ล้านล้านบาท สอดคล้อง กับ ธปท. ที่ระบุว่าการผลิตกำลังขยายตัว ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยอดรวมเกือบ 1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉียดแสนล้าน สวนทางมาตรการคุมสินเชื่อส่วนบุคคลที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฝ่ายบริหารข้อมูล รายได้ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อจำแนกตามประเภทของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ รายงานว่า ณ ไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2548 ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 5,557,274 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจำนวน 4,944,629 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อในส่วนของสาขาธนาคารต่างประเทศจำนวน 612,654 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบปริมาณ เงินให้สินเชื่อจำนวนดังกหล่าวกับไตรมาสก่อนหน้านี้ที่อยู่ในระดับ 5,341,061 ล้านบาท จะพบว่า ตัวเลขของไตรมาส 3 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 216,213 ล้านบาท โดยเงินให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้เพิ่มขึ้นจำนวน 151,966 ล้านบาท และเงิน ให้สินเชื่อสาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้นจำนวน 64,256 ล้านบาท

สำหรับประเภทของธุรกิจที่ได้รับเงินสินเชื่อมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ ภาคการผลิตที่มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,552,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 จำนวน 72,578 ล้านบาท แบ่งเป็นการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์จำนวน 1,308,596 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างประเทศจำนวน 244,097 ล้านบาท รองลงมาคือ ธุรกิจเกี่ยวกับการขายปลีกขายส่ง การซ่อมแซมยานยนต์ และของใช้ในครัวเรือนที่มีจำนวน 958,148 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25,441 ล้านบาท และอันดับ 3 คือภาคการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 955,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน มิถุนายน 96,182 ล้านบาท

โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ประกอบด้วย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การศึกษา การเดินทางเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาแยกย่อยในรายละเอียดจะพบว่าเป็นเม็ดเงินที่ให้สินเชื่อในส่วนของการจัดหาที่อยู่อาศัยมีมากที่สุดในหมวดอุปโภคบริโภคดังกล่าว โดยมีจำนวนสูงถึง 564,507 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 28,260 ล้านบาท รองลงมาคือ การให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 64,327 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 52,509 ล้านบาท

ขณะที่สินเชื่อเพื่อภาคธุรกิจตัวกลางทางการเงินอยู่ที่ 695,266 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจจำนวน 409,553 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อเพื่อการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และคมนาคม อีกจำนวน 231,181 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อในภาคการผลิตที่มีจำนวนมากที่สุด ของไตรมาส 3 นั้น เป็นการขยายตัวที่ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้านี้ที่มีจำนวนมากที่สุด เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดของ ธปท.ที่ระบุว่าอัตราการใช้กำลัง การผลิตในไตรมาส 3 ได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 71.1% จาก 70% ในไตรมาส ก่อนหน้านี้

สำหรับปริมาณการปล่อย สินเชื่อส่วนบุคคลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 1 แสนล้านภายในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มสูงสุดเมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นนั้น หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็น การเพิ่มที่สวนทางกับนโยบายของธปท. ที่ต้องการชะลอการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคล ด้วยการประกาศมาตรการควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคล เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา

โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแล สินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 28% และต้องคิดระบบลดต้น ลดดอก โดยจะต้องระบุให้ชัดเจน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่ใช้จ่ายตามจริง และสมควรแก่เหตุได้

ส่วนวงเงินในการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคแต่ละรายจะต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ของผู้กู้เฉลี่ยต่อเดือน เนื่องจาก ธปท.เห็นว่าวงเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในระดับที่มี ความสามารถในการผ่อนชำระ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us