Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
ปรีดี พนมยงค์ : รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์ (1)             
โดย อนุสรณ์ ธรรมใจ
 


   
search resources

ปรีดี พนมยงค์




ในยุคสมัยที่เราต่างเรียกหาผู้นำทางการเมืองที่เราสามารถยึดถือศรัทธาได้ ทรงคุณธรรมและมีความรู้ความสามารถสูง เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริตและมีอุดมการณ์อันสูงส่ง

จึงขอนำเอาเรื่องราวของ ท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์ มาเล่าขานอีกครั้งหนึ่ง ครับ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 ของเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก สหประชาชาติ ได้มีมติประกาศให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสเป็นบุคคลสำคัญของโลกอย่างเป็นทางการ และมีการจัดพิมพ์การเฉลิมฉลองบุคคลและเหตุการณ์สำคัญเป็นรูปเล่ม เพื่อแจกจ่ายประเทศสมาชิกขององค์การยูเนสโก

ลูกชาวนาแห่งกรุงศรีอยุธยา "ปรีดี พนมยงค์" เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 บนแพทางด้านใต้คูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็นบุตรชายคนโตของนายเสียงกับนางลูกจันทร์ เป็นบุตรคนที่สองในบรรดาบุตรทั้งหมด 6 คนได้แก่ นางธราทรพิทักษ์ (เก็บ) นายปรีดี นายหลุย นางนิติทัณฑ์ประภาศ (ชื่น) นางเนื่อง ลิมปินันท์ นายถนอม

บรรพบุรุษข้างย่าของบิดาท่านปรีดี (นายเสียง) นั้นมีหลักฐานสืบไปถึงนายกองคนหนึ่งแห่งกองทัพสยามที่ทำการต่อสู้ในสงครามกับพม่าจนตัวตายกลางสนามรบในคราวเสียกรุงครั้งที่สอง พ.ศ. 2310 นายกองผู้นี้สืบเชื้อสายมาจาก พระนม ประยงค์ พระนมแห่งพระมหากษัตริย์ องค์หนึ่งในสมัยอยุธยา

จากการเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ระบุว่า พระนมชื่อประยงค์นี้เป็นผู้สร้างวัดเล็กๆห่างจากมุมกำแพงพระราชวังโบราณทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร พระนมประยงค์นี้ ชาวกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า พระนมยงค์ วัดจึงได้ชื่อตามนามผู้สร้างและต่อมาก็เป็นชื่อสกุลของบรรพบุรุษท่านรัฐบุรุษปรีดี

ส่วนบรรพบุรุษข้างปู่ของนายเสียงนั้นมีเชื้อสายจีนซึ่งสัมพันธ์ญาติกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน อาสาสมัครร่วมรบในกองทหารของเจ้าตาก และทำการต่อสู้รักษากรุงจนตัวตายในสนามรบ

จิตสำนึกของความรักชาติของบรรพบุรุษก็ได้ถ่ายทอดมายัง ลูกหลานอย่างนายปรีดีอย่างเต็มเปี่ยม

ท่านปรีดีเริ่มศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่บ้าน หลวงปราณี (เปี่ยม) อำเภอท่าเรือ อ่านออกเขียนได้แล้วจึงเข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดรวก โรงเรียนวัดศาลาปูน โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า ไปศึกษาต่อโรงเรียนสวนกุหลาบได้ 6 เดือนและได้ลาออกไปช่วยบิดาทำนาระยะหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ด้วยการที่เรียนหนังสือเก่งสอบเป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต่อมาได้สอบชิงทุนของรัฐบาลไปเรียนจนจบปริญญาเอกทางด้านกฎหมายและสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยปารีส

สิ่งที่ ท่านปรีดี ได้จากฝรั่งเศสจึงไม่ใช่ความรู้ทางกฎหมายอย่างเดียว มีทั้งความรู้ทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศส อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักปรัชญาทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่อย่างวอลแตร์ มองเตสกิเออ และรุสโซ

ความคิดอภิวัฒน์ประชาธิปไตยเกิดขึ้นกับท่านปรีดีมาก่อนที่จะไปเรียนฝรั่งเศสทั้งจากเหตุการณ์ในประเทศอย่าง เหตุการณ์ ร.ศ. 130 แรงบันดาลใจจากข้อเขียนของ เทียนวรรณ และ กศร กุหลาบ และเหตุการณ์การปฏิวัติในจีนโค่นล้มราชวงศ์แมนจูโดย ดร. ซุน ยัด เซ็น

พอมาเรียนฝรั่งเศส ท่านปรีดี จึงไม่ได้เรียนหนังสือเหมือนนักเรียนทั่วไป ได้ดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมการอภิวัฒน์ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2466-2467 ท่านปรีดีได้ร่วมกับนักเรียนไทยในฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นในยุโรปจัดตั้งสมาคม สามัคยานุเคราะห์ หรือ มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า S.I.A.M

การประชุมคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่มต้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ ค.ศ. 1927 (ตรงกับปฏิทินไทยขณะนั้น คือ ปี พ.ศ. 2469 ปฏิทินไทยปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2470) ประชุมทางการครั้งแรกที่หอพัก Rue Du Sommerard ซึ่งกลุ่มนักเรียนผู้ก่อการได้เช่าห้องใหญ่ไว้สำหรับการประชุมโดยเฉพาะ มีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน คือ นายปรีดี พนมยงค์ ข้าราชการและนักเรียนทุนกระทรวงยุติธรรม ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายทหารกองหนุน เคยเป็นผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ รัชกาลที่ 6

ร้อยโท แปลก ขิตตะสังคะ สำเร็จวิชาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสยาม แล้วมาศึกษาที่โรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นายทหารกองหนุนเคยเป็นผู้บังคับหมวดกรมการทหารม้าที่ 5 นครราชสีมา แล้วมาศึกษาที่โรงเรียนทหารม้าฝรั่งเศส นายตั้ว พลานุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นจ่านายสิบในกองทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส

ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ท่านปรีดีเป็นประธานและเป็นหัวหน้าคณะราษฎรจนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะราษฎรในกาลต่อไป การประชุมเพื่อเตรียมการอภิวัฒน์ได้ดำเนินการเป็นเวลา 5 วัน

มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และให้มีการดำเนินการให้ สยาม บรรลุเป้าหมาย 6 ประการ

อันเป็นหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ได้แก่ หนึ่ง รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

สอง รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก

สาม บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

สี่ ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ห้า ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน หก ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ท่านปรีดีได้ทำการบันทึกเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า " โดยคำนึงถึงสภาพของสยามที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังฤกษและฝรั่งเศส ซึ่งชาติทั้งสองนี้มีข้อตกลงกันถือเอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำลังทหารเข้ายึดครองแล้วแบ่งดินแดนสยามเป็นเมืองขึ้น หรืออยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง ดังนั้นเราจึงเห็นว่า วิธีเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวจะต้องกระทำโดยวิธี Coup D'etat หรือการยึดอำนาจโดยฉับพลัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า รัฐประหาร เพื่อป้องกันการแทรกแซงของมหาอำนาจ เพราะเมื่อคณะราษฎรได้อำนาจโดยฉับพลันแล้ว มหาอำนาจก็ต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Fait Accompli คือ พฤติกรรมที่สำเร็จรูปแล้ว" (ต่อฉบับหน้า)

โปรย สิ่งที่ ท่านปรีดี ได้จากฝรั่งเศสจึงไม่ใช่ความรู้ทางกฎหมายอย่างเดียว มีทั้งความรู้ทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศส   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us