Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
"TMB BANK"ล้อเริ่มหมุน ถอดเครื่องแบบทหาร-ขรก.หัวเก่า             
 


   
search resources

ธนาคารทหารไทย
สุภัค ศิวะรักษ์
Banking
Branding




กระบวนการควบรวมระหว่าง 3 สถาบันการเงิน คือ IFCT ธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุ คือสาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกรรมแทบทุกอย่างของ TMB แบงก์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของ "ธนาคารทหารไทย"ต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว แต่ล้อก็เริ่มจะหมุนได้อีกครั้งในวัยครบรอบวันเกิด 48 ปี เพียงแต่จะต่างกันตรงที่ ปีนี้ "ทหารไทย" ได้จัดฉลองวันเกิด พร้อมๆไปกับการ "รีแบรนดิ้ง" รื้อภาพลักษณ์แบงก์สามเหล่าทัพโลโก้คนหัวเก่า แล้วสวมภาพลักษณ์ใหม่ที่หลายคนก็คาดไม่ถึง...

ภาพลักษณ์ภายนอกของธนาคารทหารไทย เริ่มสัมผัสได้จากภาพยนตร์โฆษณาภายใต้คอนเซ็ปท์ " แฮนด์ อิน แฮนด์" หรือ "ร่วมคิดเพื่อทุกก้าวของชีวิต" ที่จะมีให้เห็นถึงสิ้นปีนี้ ควบคู่ไปกับการรื้อพื้นที่การให้บริการภายในอาคารสำนักงานใหญ่ ให้กว้างขวางโอ่โถง

นัยว่า เพื่อลบภาพลักษณ์สาขาแบงก์ที่เคยมีบรรยากาศอึกทึก แออัดไปด้วยผู้คนเข้าแถวยาวเหยียด ยืนอยู่ตรงหน้าพนักงานหน้าตา "บอกบุญไม่รับ"

ไม่ใช่แต่สายตาคนภายนอกเท่านั้น แต่ลูกหม้อหรือพนักงานแบงก์เองก็รับรู้ว่าอดีตแบงก์แห่งนี้มีภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างปิด ให้บริการเฉพาะกับทหารและข้าราชการ คนทั่วไปจึงเข้าใจเหมือนกันหมด

ชื่อใหม่ TMB แบงก์ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการรีแบรนดิ้งครั้งใหญ่ จึงเสมือนเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง และความเป็นสากล เหมือนกับที่เคยเกิดกับ "KBANK" ไม่ผิดเพี้ยน

" รีบแบรนด์คือการตอกย้ำ ไม่ใช่จุดเริ่มต้น" สุภัค ศิวรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีอีโอ เล่าถึง การเปลี่ยนแปลงรูปโฉมสำนักงานใหญ่ ที่ไม่เคยปรับปรุงนานถึง 10 ปี ก่อนจะค่อยๆปรับเปลี่ยนอีกกว่า 430 สาขา

ตลอดทั้งปีนี้จึงถือเป็นปีที่ TMB แบงก์พยายามจะสื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับลูกค้า ที่เปรียบเหมือนเพื่อนร่วมทาง มีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้สะดวกขึ้น พนักงานมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส สดชื่น เพิ่มพื้นที่ให้บริการโอ่โถง เน้นความเป็นกันเอง

" สิ้นปีนี้จะปรับปรุงสาขาให้เสร็จประมาณ 42 แห่ง ส่วนป้ายสัญลักษณ์และโลโก้ใหม่จะทำให้เสร็จทั้ง 430 แห่ง"

สุภัคบอกว่า การปรับรูปแบบสาขาต้องใช้เงินทุนทั้งสิ้น 1.4 พันล้านบาท และงบสื่อโฆษณาตลอดปี 60 ล้านบาท โดยสาขาทั้งหมดที่เคยใช้พื้นที่ เป็นเคาท์เตอร์หรือแบ็คออฟฟิศ กินพื้นที่มาก ก็จะปรับมาเป็นระบบ ขั้นตอน เพื่อเพิ่มพื้นที่บริการลูกค้า

" จะตั้งเคาท์เตอร์ให้มากขึ้น ถ้าคิดแบบห้างสรรพสินค้า ก็คือ ยอดขายต่อตารางเมตรต้องเพิ่มขึ้น นี่คือโจทย์หรือการบ้านที่เราต้องทำ"

การแปลงโฉมสาขา ยังทำควบคู่ไปกับการดึงตัวผู้บริหารจากซิตี้แบงก์เข้ามาดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เริ่มโฆษณาทางสื่อทีวีไปก่อนหน้านั้นพักใหญ่แล้ว ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ที่ล่อใจให้คนมาเปิดบัญชีออมทรัพย์ แถมกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือ พีเอ

การดึงดูดใจให้มาเปิดบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง และล่าสุด มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์แบบ "ทรี อิน วัน" หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเอกสิทธิ์ ที่จะมีดอกเบี้ยให้สำหรับบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้เช็คได้และสามารถมีวงเงินเบิกเกินบัญชีได้ด้วย

วัยที่ล่วงมาถึง 48 ปี สำหรับแบงก์ทหารไทยยุคใหม่ จึงบอกได้ถึงการเน้นความคล่องตัว อิสระ และเปิดทางเลือกให้กับลูกค้า วิธีเลือกใช้เงิน ไม่ใช่จำกัดวงแค่รายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ ขณะเดียวกันก็กำลังปูทางเจาะเข้าถึงตลาดใหม่ๆ พร้อมกันนั้นก็พยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น

สุภัค บอกว่า ปีนี้คือการรื้อภาพลักษณ์เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆสำหรับลูกค้าธนาคารและที่จะเข้ามาเป็นลูกค้าใหม่ในอนาคต แต่ภายในปีหน้า TMB จะเริ่มรีโพสิชั่นนิ่ง โดยการขยายรายได้ พร้อมปรับตัวเป็นธนาคารมืออาชีพ ไม่ใช่ธนาคารครอบครัว

ความแข็งแกร่งของธนาคารหทารไทยยุคหลังรีแบรนดิ้ง จะวัดจาก รายได้จากกระเป๋าลูกค้า 1 ราย ที่จะมีผ่านเข้ามาทางค่าธรรมเนียมในทุกช่องทางทำรายได้ โดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อย ตลาดใหม่ที่ทหารไทยไม่เคยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดเหมือนแบงก์อื่น ที่รุกไล่กันอย่างเมามัน

ฐานลูกค้าหลักมากกว่า 50% มาจากลูกค้ารายใหญ่ และเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานลูกค้าหลักของธนาคารทหารไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(IFCT)ก่อนทำการควบรวม ส่วนลูกค้า "รีเทล" เริ่มจะมีบ้างประปรายผ่านธุรกิจบัตรเครดิต

ขณะที่จุดขายเดียวที่ทหารไทยมีอยู่ตอนนี้ก็คือ ฐานลูกค้าดั้งเดิมของ IFCT ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสินเชื่ออนุรักษ์พลังงาน ที่เป็นเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ มีสินเชื่อสำหรับสร้างพลังงานทดแทน

สุภัค ยอมรับว่า ตลาดการเงินก๊อปปี้ไม่ยาก แต่ประเด็นสำคัญสุดน่าจะอยู่ที่ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับการบริการเป็นพิเศษ หรือขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ครอบคลุม ในสถานที่นั้นๆเพียงแห่งเดียว

ดังนั้นแบงก์เล็ก แบงก์ใหญ่ หรือแบงก์ใหม่จึงไม่สำคัญ เพราะความสำคัญของการรีแบรนดิ้ง ไม่ได้อยู่ที่แบงก์ใหญ่ที่เปรียบเหมือนดีสเคาท์สโตร์ หรือแบงก์เล็ก แบงก์ใหม่ที่คล่องตัวราวกับร้าน 7-11 ที่ผุดเป็นดอกเห็ด แต่อยู่ที่การบริการที่ทำให้ลูกค้าแบงก์พอใจ...มองแบงก์เหมือนเพื่อน ไม่ใช่ศัตรู...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us