Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
จับชีพจร-วัดความดัน"นักรูด" บัตรKTCเติมน้ำมันปีละ8พันล้าน             
 


   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
Credit Card




กฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะการกำหนดเพดานคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าธุรกิจ "บัตรเครดิต"ของทางการ อาจเริ่มเห็นผลกระทบโดยตรงกับปริมาณบัตร แต่ที่ทางการควบคุมให้อยู่ในกรอบแทบไม่ได้เลยก็คือ การพยายามดิ้นรนหาทางออกของผู้ประกอบการ ที่สะท้อนออกมาในรูปแคมเปญส่งเสริมการขาย ซึ่งมากระจุกตัวในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ว่ากันว่าการขีดกรอบให้เดินยังใช้ไม่ได้สำหรับ "นักรูด" ขณะที่โปรแกรมล่อใจให้จับจ่ายใช้สอยก็ยังมีอยู่ชุกชุม....

ทั้งธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการด้านเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ นอนแบงก์ ที่ถูกจำกัดพื้นที่ขยายฐานลูกค้าโดยหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กำลังหาทางออกให้กับหนทางที่ตีบตันของธุรกิจบัตรเครดิต ถ้าสังเกตุเห็นโปรแกรมส่งเสริมการขายที่มีอยู่ชุกชุมตลอดช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้

รูปแบบแคมเปญทั้งของแบงก์ไทย-เทศ รวมถึงนอนแบงก์ ที่ยิงผ่านสายตาสื่อแทบทุกประเภทจึงมีหน้าตาหลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่หนีการลด แลก แจก แถม หากลูกค้ารูด รูด รูดและรูดการ์ดให้มากที่สุด...

ธวัชชัย ธิติศักดิ์กุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บมจ.บัตรกรุงไทย เอ่ยถึงการเทงบกว่า 150 ล้านสำหรับแคมเปญเขย่าตลาดบัตรเครดิตช่วง 3 เดือน(พ.ย.2548-ม.ค.2549) โดยเลือกกิจกรรมแจกทองลูกค้าที่รูดเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป จะได้ลุ้นรับทองคำแท่งหนัก 1,500 บาท มูลค่า 15 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือน

รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ร่วมกับพันธมิตรมากหน้าหลายตา อาทิ สถานีบริการน้ำมัน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ โรงพยาบาล ท่องเที่ยว โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า แฟชั่น นาฬิกาและเครื่องประดับ

กิจกรรมที่อัดงบช่วงโค้งสุดท้าย ที่ถือเป็น "ฤดูไฮซีซั่น" ของการจับจ่ายใช้สอยของธุรกิจบัตรเครดิตหลากหลายค่ายจึงหวังจะกระตุ้นกำลังซื้อทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ โดยพุ่งตรงไปที่บัตรใบที่สอง หรือ "second card"

ธวัชชัย บอกว่า เคทีซี จะโฟกัสไปที่ กลุ่ม "second card"

" กิจกรรมนี้เชื่อว่าจะทำให้เพิ่มปริมาณบัตรใหม่อีก 2 แสนบัตร เราเลือกแคมเปญแจกลุ้นรางวัลทองคำ เพราะทองคำราคาสูง และคนส่วนใหญ่ชอบซื้อทองในช่วงใกล้ปีใหม่"

แผนส่งเสริมการขายที่ซาลงไปมากของเคทีซีหากเทียบกับแบงก์ไทยและเทศ รวมถึงคู่แข่งรายอื่น ก็ยังไม่ทำให้ถูกโค่น "บัลลังก์" แชมป์ได้ง่ายนัก โดยเคทีซียังมีฐานลูกค้าที่ถือบัตรมากเป็นอันดับหนึ่ง ที่ 1.2 ล้านบัตร

อย่างไรก็ตาม การปล่อยหมัดชุดครั้งนี้ก็ทำให้เชื่อว่า จะทำให้ผู้คนควักเงินจากกระเป๋าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นบาทต่อคนต่อเดือน จากที่มีอยู่เฉลี่ย 5.7 พันบาทต่อคนต่อเดือน โดยเป็นลูกค้าแอคทีพ 7 พันบาทต่อคนต่อเดือน

ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของลูกค้า เคทีซีปัจจุบันสูงถึง 4 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือ 4.8 พันล้านบาทต่อเดือน โดยมีหมวดที่ใช้จ่ายสูงสุดคือ การรูดบัตรเติมน้ำมันที่สูงระดับ 8 พันล้านบาทต่อปี รองลงมาคือ ดีสเคาน์สโตร์ 4 พันล้านบาทต่อปี โรงพยาบาล 2 พันล้านบาทต่อปี และดีพาร์ทเม้นต์สโตร์ 2 พันล้านบาท

ธวัชชัย มองว่า เมื่อ 5-10 ปีก่อน เงินพลาสติกอาจพกเพื่อความโก้ หรือเท่ แต่ปัจจุบันบัตรเครดิตกลายเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์และความจำเป็น ดังนั้นการวางแผนส่งเสริมการขายก็ต้องมองถึงหมวดหลักที่จะกระตุ้นให้ผู้คนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยด้วย

" พันธมิตรเราจึงเน้นหนักที่หมวดหลักพวก น้ำมัน อาหาร เช่น โออิชิ บาบีคิวพลาซ่า หรือซีสเลอร์"

นอกจากนั้น แทบทุกบริษัทก็หมายตาจะโหมแคมเปญเร่งลูกค้ารูดบัตรช่วงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นฤดูกาลของการใช้จ่าย ขณะที่เคทีซี ก็มีตารางเวลาจัดกิจกรรมครั้งนี้ในแต่ละสัปดาห์ เพราะนอกจากเร่งการใช้จ่าย ยังมีตัวแปรที่คือ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ที่ผลักให้ต้นทุน ค่าใช้จ่ายสูงเป็นเงาตามตัว ทำให้ทุกบริษัทต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอด

ผลประกอบการปีนี้บอกว่า ผลกำไรของเคทีซีไม่ลดลงมาก แต่มาร์จิ้นก็ลดลงจาก 3% กว่ามาเป็น 3% ต้นๆ แต่อย่างน้อยเคทีซีก็มีหมัดเด็ดคือ จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี เหมือนกับค่ายอื่นๆ แต่ที่ไม่ต่างกันคือ เตรียมจะปรับเพิ่มการเก็บดอกเบี้ยลูกค้าขึ้นอีกในปี 2549 จาก 17.75% เป็น 18% เต็มเพดานที่รัฐกำหนด

จึงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงๆ สำหรับนักช้อป และราชาเงินผ่อนทั้งหลาย เพราะหันไปทางไหนก็จะเห็นเหมือนกันหมดคือ "มืดแปดด้าน" ซ้ายก็ปรับดอกเบี้ย ขวาก็ปรับดอกเบี้ย ภาระที่แบกบนบ่าหนักอยู่แล้ว ก็จะยิ่งหนักยิ่งขึ้นอีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us