Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 พฤศจิกายน 2548
TOP ฟุ้งผลประกอบการ Q4 เจ๋ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
Oil and gas




ไทยออยล์มั่นใจผลประกอบการไตรมาส 4/2548 เจ๋ง ใกล้เคียงไตรมาส 3 ที่ฟันกำไรทะลุ 6 พันล้านบาท เหตุค่าการกลั่นยังสูงและรับรู้กำไรจากบริษัทลูก คาดแนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบ ปีหน้าทรงตัวระดับ 55 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ธุรกิจการกลั่นน้ำมันขาดแคลนอยู่ทำให้ค่าการกลั่นสูง พร้อมทั้งเร่งโครงการฮอตออยล์ที่ร่วมกับไทยลู้บเบส ทำให้มีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นอีก 5 พันบาร์เรล/วัน โดยจะให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 49 เร็วกว่ากำหนดเดิมครึ่งปี

ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดผลประกอบการไตรมาส 4/2548 จะใกล้เคียงกับไตรมาส 3/2548 ที่มีรายได้ 70,723 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 6,253 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้อ่อนตัวลง จึงขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน แต่เชื่อว่าปลายปีนี้ราคาน้ำมันจะดีดตัวสูงขึ้นทำให้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันมาชดเชย รวมทั้ง บริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าในอนาคตกำไรจากบริษัทลูกจะอยู่ที่ 30-40% ของกำไรทั้งหมด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยออยล์มีกำไรในไตรมาส 3/2548 เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 83% เนื่องจากรับรู้กำไรจากบริษัทย่อยถึง 1,750 ล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรเพียง 8 ล้านบาท และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 800 ล้านบาท และค่าการกลั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

โดยไตรมาส 3 ปีนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ IPT ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระ (ไอพีพี) เดินเครื่อง ผลิตไฟเต็มที่ 700 เมกะวัตต์เป็นครั้งแรกนับ ตั้งแต่ก่อตั้งมา ทำกำไรทันที 500 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนหลายร้อยล้านบาท

"ก่อนหน้านี้ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 60 กว่าเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้อ่อนตัวลงมาเหลือเพียง 52-53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ตุลาคมมีการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน แต่อาจจะมีกำไรจากการสต๊อกน้ำมันก็ได้ในช่วงปลายปี ถ้าราคาน้ำมันดีดตัวลงขึ้น ซึ่งไตรมาส 3 ปีนี้แตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นสูงมาก อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปค่าการกลั่นในช่วงครึ่งปีแรกจะต่ำกว่าครึ่งปีหลัง"

ดร.ปิติ กล่าวต่อไปว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบในปีหน้าคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันเชื่อว่าเป็นระดับราคาที่ผู้ใช้น้ำมันยอมรับได้ หากราคาน้ำมันดิบสูงกว่านี้มากจะทำให้ประชาชนประหยัดการใช้ รวมไปถึงการหาพลังงานทดแทน ขณะที่ธุรกิจการกลั่นน้ำมันยังคงขาดแคลน ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงอยู่ ส่วนความต้องการใช้น้ำมันของไทยนั้นจะโตประมาณ 5% ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ไทยออยล์มีแผนใช้เงินลงทุนประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 28,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกำลังการกลั่นหน่วยกลั่นที่ 3 อีก 50,000 บาร์เรล/วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2550 โครงการขยายกำลังการผลิตพาราไซลีน ของบริษัท ไทยพาราไซลีน จาก3.48 แสนตัน/ปีเพิ่มเป็น 8.53 แสนตัน/ปี เสร็จปี 2550 และการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าอีก 38 เมกะวัตต์แล้วเสร็จในปีเดียวกัน รวมทั้งยังมีโครงการอีกหลาย โครงการของบริษัท ไทยลู้บเบส ซึ่งเป็นบริษัทลูก อาทิ โครงการฮอต ออยล์ โดยนำน้ำมันร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตของไทยลู้บเบสเข้าสู่กระบวนการกลั่นของไทยออยล์ ทำให้ไทยออยล์ มีการกลั่นเพิ่มมากขึ้นอีก 5,000 บาร์เรล โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในกลางปี 2549 เร็ว กว่ากำหนดการเดิมที่ตั้งไว้ปลายปี 2549 ส่งผลให้ไทยออยล์มีรายได้และกำไรเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า

"โครงการฮอตออยล์เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนเพียง 100 กว่าล้านบาท แต่ให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี โดยจะมีรีเทิร์นภายใน 4 เดือน ทำให้ไทยออยล์มีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นอีก 5,000 บาร์เรล ซึ่งขณะนี้ได้เร่งให้ดำเนินการแล้วเสร็จในกลางปีหน้าเร็วกว่ากำหนดเดิมที่ตั้งไว้ปลายปี 2549"

สำหรับโครงการผลิตเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในต้นปีหน้า ขนาดกำลังการผลิตเอทานอล 1-2 ล้านลิตร/วัน ใช้เงินลงทุน 150-250 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการนี้จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2ปี ซึ่งเอทานอลที่ผลิตได้จะจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากผู้ใช้รถหันมานิยมใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น

เดิมโครงการดังกล่าวจะผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากเห็นว่าไทยส่งออกมันเส้นไปจีนจำนวนมาก โดยจีนนำไปผลิตเป็นเอทานอล จึงเห็นว่าไทยน่าจะเป็นผู้ผลิตเอทานอลแล้วส่งออกจะดีกว่า แต่เนื่องจากกำลังการผลิตเอทานอลในไทยยังไม่เพียงพอ จึงตัดสินใจที่จะยื่นขออนุญาตเป็น ผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแทนผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้ใบอนุญาต แต่ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานเอทานอลแต่อย่างใด สำหรับแหล่งเงินลงทุนนั้นจะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

บีบลดค่าการกลั่น : ได้ไม่คุ้มเสีย

ดร.ปิติ กล่าวถึงกระแสเรียกร้องให้โรงกลั่นลดค่าการกลั่นลงเพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันตัวลงว่า โดยทั่วไปราคาน้ำมันดีเซลในช่วงปลายปีจะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งการจะปรับลดค่าการกลั่นลงมานั้นตนเห็นว่าจะเป็นการทำลายโครงสร้างธุรกิจ เพราะค่าการกลั่น 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นราคาน้ำมัน 25 สต./ลิตร หากไทยออยล์มีค่าการกลั่นอยู่ที่ 8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับไทยออยล์ได้ค่าการตลาดเพียง 2 บาท/ลิตร ซึ่งถือว่าต่ำมากเพราะต้องลงทุนสูงมาก เมื่อเทียบกับสถานีปั๊มน้ำมันที่ลงทุนน้อยกว่า แต่ได้ค่าการตลาด 1-1.50 บาท/ลิตร

ดังนั้น หากรัฐจะให้โรงกลั่นลดค่าการตลาดลงเหลือเพียง 4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับว่าช่วยลดราคาน้ำมันลงแค่ 1 บาท/ลิตร แต่จะเป็นการทำลายโครงสร้างธุรกิจ ไม่มีใครกล้าเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นใหม่ ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นควรปล่อยให้เป็นไป ตามกลไกตลาดดีกว่า

นอกจากนี้ เมื่อไทยออยล์มีผลการดำเนินงานที่ดี ภาครัฐก็จะได้ประโยชน์ทางด้านภาษี โดยปีนี้คาดว่าไทยออยล์จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงถึง 4 พันล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วที่จ่ายภาษีไป 1-2 พันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันตลาดขายปลีกน้ำมันมีการแข่งขันรุนแรง ซึ่งถือว่าเป็นตัวกำหนดให้โรงกลั่นไม่สามารถทำกำไรได้เต็มที่อยู่แล้ว เพราะโรงกลั่นต้องขายน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่นให้ผู้ซื้ออยู่แล้ว และช่วงใดค่าการกลั่นสูงเกินไป ลูกค้าก็จะหยุดการสั่งซื้อน้ำมันไปจนกว่าจะต่ำลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us