Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
"ลาภวิสุทธิสิน"ปิดตำนานปิคนิค ดีลแรกซื้อซากสร้าง-โกย-ขายทิ้ง             
 


   
search resources

ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง, บมจ.
ธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน
Oil and gas
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน
สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน




ปิดตำนานปิคนิคฯ "ลาภวิสุทธิสิน"สร้างปรากฏการณ์ซื้อซาก แต่งหน้าทาปาก เมื่อหุ้นเปิดซื้อขาย เททิ้ง จาก 77% ธีรัชชานนท์-สุภาพร 2 พี่น้องแต่ละรายถือต่ำกว่า 5% วานิชเผยมีบางกลุ่มทุนทำก่อนปิคนิคแต่ถือยาว โดนแรงบีบต้องถ่ายหุ้นต่อให้จึงรุ่งเรืองกิจ

การทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นของตระกูลลาภวิสุทธิสิน โดยธีรัชชานนท์โอนหุ้นออกไปเมื่อ 21 ตุลาคม 2548 เหลือ 3.21% เช่นเดียวกับสุภาพรที่โอนหุ้นออกไปเมื่อ 26 ตุลาคม เหลือเพียง 4.02% แน่นอนว่านับจากนี้หากผู้ถือหุ้น 2 รายนี้จะถอนตัวออกจากบริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ PICNI คงไม่มีใครทราบอีกต่อไป

ทั้งที่ในวันเดียวกับที่สุภาพรโอนหุ้นออกไปให้กับผู้เข้ามาใหม่อย่างสุวิมล ทองกร นั้น เป็นวันที่ PICNI แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ว่าใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน มีหุ้น 273.38 ล้านหุ้นคิดเป็น 9.25% ส่วนธีรัชชานนท์มี 199.72 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.76%

มรสุมที่ถาโถมเข้าใส่ตระกูลลาภวิสุทธิสินนั้นเริ่มถูกจับตาจากสาธารณชนเมื่อมีชื่อของบรรดานักการเมืองเข้ามาร่วมถือหุ้น พร้อมกับพี่ใหญ่ของตระกูลคือสุริยา ลาภวิสุทธิสิน มีชื่อเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลทักษิณสอง

55 ล้านครอง 77%

ก่อนหน้านี้ตระกูลลาภวิสุทธิสินได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทบี. กริม เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน) ที่ประสบปัญหาจากพิษเศรษฐกิจ โดยเข้ามาในฐานะผู้ถือหุ้นใหม่ตามแผนฟื้นฟูกิจการเมื่อ เดือนสิงหาคม 2545 ครั้งนั้นพบชื่อของวราวุฒิและสุภาพร ลาภวิสุทธิสินเข้ามาถือหุ้น 5.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 77.64% จากราคาพาร์ 10 บาทต่อหุ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

หลังจากนั้นมีการเพิ่มทุนอีก 326 ล้านบาท เมื่อ 11ธันวาคม 2545 เพื่อซื้อธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว คือ ยูเนี่ยนแก๊ส แอนด์ เคมิคอล ซึ่งเป็นกิจการของตระกูลลาภวิสุทธิสิน และดำเนินธุรกิจใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2546 และพ้นจากแผนฟื้นฟูเมื่อ 18 กันยายน 2546

ถัดมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 400 ล้านบาทเป็น 750 ล้านบาทพร้อมปรับราคาพาร์จาก 10 บาทเป็น 5 บาท ด้วยการออกเป็นหุ้นสามัญพร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ

ครั้งนั้นได้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิให้ผู้ถือหุ้นเดิม 20 ล้านหน่วย อีก 10 ล้านหน่วยจัดสรรให้ประชาชนทั่วไป แต่จากรายงานที่แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) พบว่าธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน ซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวที่ราคา 0 บาท จำนวน 23.84 ล้านหน่วย และสุภาพร ลาภวิสุทธิสิน ซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวที่ราคา 0 บาท จำนวน 34.25 ล้านหน่วย

จากนั้นก็พบรายการซื้อและขายของผู้ถือหุ้นทั้ง 2 รายนี้ตั้งแต่ช่วงที่หุ้นช่วงที่ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการ จนถึงปลายปี 2547 ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร เบ็ดเสร็จได้เงินออกมากว่า 681 ล้านบาท

ด้วยการที่มีรายชื่อนักการเมืองเข้ามาถือหุ้นใน PICNI ทำให้หุ้นตัวนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ จนกระทั่งมีนาคม 2548 ก.ล.ต.สั่งให้แก้ไขงบการเงินในปี 2547 ทั้งเรื่องการบันทึกบัญชีและการจ่ายค่าความนิยมในบริษัทย่อยที่ PICNI ซื้อกิจการ จนกระทั่งมีการกล่าวโทษธีรัชชานนท์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการในขณะนั้นและสุภาพร รองกรรมการผู้จัดการ พร้อมผู้เกี่ยวข้องอีก 7 ราย

การถูกกล่าวโทษจาก ก.ล.ต.พร้อมส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจเศรษฐกิจสานต่อคดีนี้ ส่งผลให้สุริยาต้องพ้นจากเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และโดดเข้ามาแก้ปัญหาใน PICNI ด้วยตัวเองด้วยการเพิ่มทุนเท่าตัว เพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ครบกำหนด และผ่านพ้นไปด้วยดีพร้อมกับการเข้ามาของกลุ่มใหม่และการถอยของกลุ่มลาภวิสุทธิสิน

ไม่ใช่แค่ปิคนิคตัวเดียว

ถึงวันนี้การถอยของตระกูลลาภวิสุทธิสิน จาก 77.64% เมื่อสิงหาคม 2545 จนเหลือต่ำกว่า 5% และไม่เข้าข่ายต้องรายงานการซื้อขายต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)อีกต่อไป ถือเป็นการปิดเกมของลาภวิสุทธิสินใน PICNI อย่างสมบูรณ์แบบ ส่วนจะถอยออกไปจริงหรือไม่ผู้ถือหุ้นรายใหม่จากตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจคงให้คำตอบได้ดี

กรณีของปิคนิคถือเป็นกรณีแรกที่กลุ่มทุนใหม่เข้าซื้อกิจการบริษัทที่อยู่ในการฟื้นฟูกิจการ(Rehabco) และลดสัดส่วนจนเหลือสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายเล็กที่ไม่มีบทบาทในการบริหารกิจการอีกต่อไป

วาณิชธนกิจรายหนึ่งกล่าวว่า ที่ผ่านมามีกลุ่มทุนรายใหม่ที่เข้ามาซื้อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจหลายแห่ง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาใหม่โดยใช้เงินไม่มากนัก และถือเป็นการเข้าตลาดหลักทรัพย์ทางอ้อม

ก่อนหน้า PICNI ก็มีหลายบริษัท แต่กลุ่มทุนเหล่านั้นยังคงถือหุ้นและบริหารงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็ไม่แตกต่างกัน คือ เมื่อซื้อซากของบริษัทได้แล้วก็เจรจาปรับโครงสร้างหนี้จนสามารถเปิดซื้อขายหุ้นได้ ถือเป็นธรรมชาติที่หุ้นประเภทนี้เมื่อเปิดซื้อขายจะสร้างผลตอบแทนจากราคาปิดครั้งสุดท้ายได้ราว 500-1,000%

จากนั้นกระบวนการสร้างความคึกคักให้กับราคาหุ้นก็เริ่มตามมาไม่ว่าจะเป็นการแตกพาร์ เพิ่มทุนแล้วแจกใบสำคัญแสดงสิทธิฟรี หรือการขยายธุรกรรมทางธุรกิจออกไปอีก เมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นก็จะมีแรงขายของกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เข้าไปบุกเบิกตามออกมา

แน่นอนว่าการขายหุ้นออกมานั้นมีทั้งขายออกเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และขายออกเพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้หนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินทุนที่นำมาซื้อหุ้นในครั้งแรกว่าเป็นเงินมาจากแหล่งใด หากเป็นเงินทุนของตนเองการขายหุ้นออกมานั้นก็เท่ากับเป็นการนำเอาเงินที่ลงทุนกลับคืนมา ถ้าราคาหุ้นเดินหน้าต่อส่วนต่างที่เหลือก็จะเป็นกำไร แต่บางรายจะใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินมาซื้อกิจการ ดังนั้นก็ต้องหาทางคืนเงินกู้ดังกล่าว ส่วนมากจะใช้กำไรของบริษัทมาชำระคืน ส่วนหุ้นที่ขายออกไปได้ก็มักเพื่อเข้ากระเป๋าตัวเอง

วิธีการแสวงหาประโยชน์ไม่ได้จำกัดแค่การขายหุ้นออกมาเท่านั้น ธุรกรรมบางประเภทช่วยอำพรางการถ่ายเงินออกของผู้บริหารบริษัทได้อย่างแนบเนียน เช่น ซื้อสินค้าแพงกว่าความเป็นจริง จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับคู่ค้าที่ไม่มีตัวตน หรืออ้างว่าลงทุนแต่กลับไม่มีความคืบหน้าในเนื้องานนั้น

"จริง ๆ แล้วปัญหาในปิคนิคนั้น ถือเป็นโชคไม่ดีของกลุ่มลาภวิสุทธิสิน ที่หน่วยงานอย่าง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์เอาจริงเอาจังในเรื่องธุรกรรมที่ไม่โปร่งใส ทั้งที่ก่อนหน้านี้บางบริษัทก็ทำในลักษณะที่ไม่แตกต่างกับปิคนิค"แหล่งข่าวกล่าว

ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีหน่วยงานที่ช่วยดูแลนักลงทุน เพราะธุรกรรมเหล่านี้นักลงทุนทั่วไปคงเข้าถึงยากและไม่มีอำนาจพอที่จะตรวจสอบ และกรณีนี้ยังเป็นการปรามกลุ่มทุนอีกหลายกลุ่มที่เตรียมทำในลักษณะเดียวกันกับปิคนิค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us