Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 พฤศจิกายน 2548
ก้าวสำคัญทุนโทรคมนาคมไทยขายทิ้งหรือปรับตัวเพื่ออยู่รอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ทีเอ ออเร้นจ์
โฮมเพจ DTAC
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
ทีเอ ออเร้นจ์, บจก.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications




เปรียบ 2 เส้นทางทุนสื่อสารไทย หลังเกิด กทช.ตระกูลเบญจรงคกุลเลือกขายดีแทคทิ้งให้ฝรั่ง ในขณะที่กลุ่มทรูของเจียรวนนท์เลือกซื้อยูบีซีจากเอ็มไอเอช จัดทัพธุรกิจครอบคลุมบริการแบบไร้พรมแดนเทคโนโลยีและอยู่เหนือความคลุมเครือขอกฎเกณฑ์ กทช.และกสช.

ธุรกิจโทรคมนาคมไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทั้งในด้านการกำกับดูแลจาก กทช. และ กสช. รวมทั้งถึงเวลาของการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือจาก 2G ไปยุค 3G และการเข้ามาของเทคโนโลยีไวร์เลส บรอดแบนด์อย่างไว-แม็กซ์ ประมาณว่าธุรกิจโทรคมนาคมในช่วง 2 ปีถัดจากนี้ไป จะใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยน้ำหนักจะอยู่ที่โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ที่คาดว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะออกกฎเกณฑ์ได้ภายในสิ้นปี และให้ใบอนุญาตได้ประมาณกลางปีหน้า

เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทของแต่ละโอเปอเรเตอร์ทำให้การหาพาร์ตเนอร์ต่างชาติกลายเป็นประเด็นร้อนที่โลคัล โอเปอเรเตอร์ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์

นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น กล่าวชัดเจนว่า ธุรกิจโทรคมนาคมไทยยังหอมหวนในสายตาต่างชาติเพียงแต่ต่างชาติจะเลือกเข้ามาลงทุนด้วยวิธีใดเท่านั้น

ในขณะที่ต่างชาติมองการเปิดเสรีและการมี กทช.ไทยเป็นโอกาสในการรุกเข้าธุรกิจโทรคมนาคม แต่กลายเป็นวิกฤตของทุนไทยที่หากไม่สามารถรักษาฐานที่มั่นได้ก็ย่อมถูกเทกโอเวอร์ เหมือนที่เกิดกับดีแทคของตระกูลเบญจรงคกุลที่ในอดีตถือเป็นคู่แข่งทางธุรกิจสำคัญของกลุ่มชินวัตร และถือว่าเป็น 1 ใน 4 ตระกูลใหญ่ในวงการโทรคมนาคมที่ประกอบด้วยชินวัตร เบญจรงคกุล เจียรวนนท์ และน้องเล็กตระกูลวิไลลักษณ์

สิ่งที่ผู้ประกอบการ และนักวิชาการมอง 1 ปี กทช.ไม่ห่างไกลกันมากนัก อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการในวงการโทรคมนาคมให้ความเห็นว่า "1 ปีที่ผ่านมา กทช.ทำงานแต่อาจไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ เอกชนอยากเห็นเงื่อนไขให้เร็วที่สุด เพราะมีผลกระทบกับมูลค่าสัมปทาน แต่ผมยังไม่ได้มองว่า กทช.ทำให้เอกชนอ่อนแอมาก"

กรณีดีแทคเกิดมานานแล้วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เทเลนอร์เคยยื่นของซื้อหุ้นดีแทค แต่บุญชัย เบญจรงคกุล ยังไม่อยากขายและไม่อยากให้เทเลนอร์ถอนตัว ในแง่บริหารงานซีอีโอร่วมทำงานกันไม่ได้ เหมือนกรณีออเร้นจ์ที่เคยมีฝรั่งกับไทยและไทยกับไทย ไปไม่รอดเพราะทิศทางบริหารไม่ชัดเจน และถ้าบุญชัยจะทำต่อต้องลงทุน 3G ซึ่งไม่ใช่แค่โครงข่ายแต่ต้องลงทุนเรื่องแอปพลิเคชัน นอนวอยซ์ และที่สำคัญธุรกิจโทรคมนาคมไทยหนีการเมืองไม่พ้น ถึงแม้ กทช.จะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมได้โดยเฉพาะเรื่องแอ็กเซสชาร์จ

"กทช.ผมมองว่าอยู่ในประเด็นการเมือง ไม่ได้มีผลทางตรง แต่มีผลทางอ้อม"

ส่วนการหาพาร์ตเนอร์ของทีเอออเร้นจ์ไม่ใช่ของใหม่ เพราะต้องหาทุนยาว การเป็นรายใหม่เข้าตลาดจำเป็นต้องมีทุนเย็นเพื่อใช้กลยุทธ์ราคาเป็นเรื่องธรรมดา การหาพาร์ตเนอร์ต่อไปคงต้องมีทุกรายแม้กระทั่งเอไอเอส ขึ้นอยู่กับว่าต้องผสมกับใครสัดส่วนเท่าไหร่ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมต่อไปไม่ใช่ Economy of Scale แต่เป็น Economy of Scope อยู่ที่นอนวอยซ์และแอปพลิเคชั่น

การแข่งขันปัจจุบันแบบไทยๆ แข่งกันอยู่ในจุดสมดุลย์ แต่เมื่อมีพาร์ตเนอร์ต่างชาติหรือโอเปอเรเตอร์ต่างชาติเข้ามาสักราย จะทำให้ดุลการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่แค่เงินทุน แต่เป็นเรื่องเทคโนโลยีนอนวอยซ์และแอปพลิเคชัน

"1 ปีกทช.เท่าที่เห็นมีแค่การออกใบอนุญาตให้ไอเอสพีและทีโอที กับ กสท โทรคมนาคม โดยอย่างอื่นยังไม่เห็น โดยเฉพาะไลเซนส์ เฟรมเวิร์กและกฎกติกาการแข่งขันต่างๆ"

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นยังยอมรับว่าทรูและทีเอออเร้นจ์จำเป็นต้องหาพาร์ตเนอร์ต่างชาติสัก 20-25% หากต้องการลงทุนใน 3G และไว-แม็กซ์ ในขณะที่กระแทกกทช.ว่าผู้ประกอบการคนไทยน่าจะเข้มแข็งมากกว่านี้ หากกทช.คิดถึงทุนไทยที่ฝังรากธุรกิจมากว่า 10 ปี โดยเฉพาะประเด็นที่เอกชนตามสัญญาสัมปทาน อาจได้รับการปฏิบัติไม่ทัดเทียมกับคนที่ขอใบอนุญาตใหม่

แต่สิ่งที่ทรูปรับตัวแตกต่างจากตระกูลเบญจรงคกุลทิ้งดีแทค เพราะทรูเลือกที่จะซื้อแทนที่จะขาย โดยซื้อยูบีซี และเอ็มเคเอสซี จากเอ็มไอเอชเพื่อให้บริการแบบไร้พรมแดน มุ่งสนองตอบไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมาย เป็นการจัดทัพธุรกิจ ให้อยู่เหนือ กฎเกณฑ์ที่ยังคลุมเครือระหว่าง กทช. และ กสช. โดยเฉพาะ triple play บริการที่กำลังจะมาถึงในอนาคต อันใกล้ ซึ่งเป็นบริการที่เชื่อมโลกโทรคมนาคมกับโลกมีเดียเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นบริการทั้งเสียงผ่านโทรศัพท์ในระบบไอพี, บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์ทีวี

ทรูจึงกลายเป็นโอเปอเรเตอร์ที่รวบรวมสิทธิในการให้บริการ หรือไลเซนส์ในมือมากและเกือบครบถ้วนที่สุด ขาดแต่เพียงมือถือ 3G และ เกตเวย์วงจรต่างประเทศเท่านั้น

ในขณะที่สิ่งที่ศุภชัยเฝ้ามองคือเทคโนโลยีที่เรียกว่า Wi-Max หรือ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายที่พัฒนาจากไว-ไฟแต่สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 75 เมกะบิตต่อวินาทีและครอบคุลมพื้นที่ได้กว้างกว่าคือประมาณ 15 กม. โดยประโยชน์ของไวแม็กซ์จะช่วยแก้ปัญหาคุณภาพ คุณภาพสายทองแดงหรือสายโทรศัพท์ รวมทั้งยังสามารถครอบคลุมในพื้นที่ DSL เข้าไปไม่ถึง เพื่อให้บริการในพื้นที่ประชากรไม่หนาแน่น หรือพื้นที่ห่างไกลในชนบทหรือนอกเมือง

ไว-แม็กซ์จะเข้ามาเติมเต็มในส่วนของโครงข่ายไร้สายความเร็วสูงหรือไวร์เลส บรอดแบนด์ที่อาจทำให้กลุ่มทรูไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาโครงข่ายดาวเทียมสื่อสาร ที่ปัจจุบันผูกขาดให้บริการเพียงรายเดียว

การจัดทัพธุรกิจของกลุ่มทรูวันนี้ ทำให้กลุ่มทรูดูผุดผ่องขึ้นทันตา ไม่ว่าจะเป็นความครบเครื่องด้านสิทธิ ให้บริการคอนเทนต์ที่หลากหลายและการเป็นเจ้าของโครงข่ายที่ครอบคลุม ทั้งหมดกำลังเพิ่มมูลค่าให้กลุ่มทรู โดยไม่จำเป็นต้องหวังพึ่งหรือรอไลเซนส์ใหม่จาก กทช.หรือ กสช.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us