Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
จับตา 'สปา' ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ด่วน ! สร้างตลาด ขายความต่าง             
 


   
search resources

Spa and Beauty
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม




- สิ้นยุค ! ธุรกิจ 'สปา' คาบช้อนเงิน ช้อนทองพร้อมโกยเงินเข้ากระเป๋า
- ราคาน้ำมันกระทบต้นทุน ฐานลูกค้าหด การแข่งขันเดือด ปัจจัยลบรุมกระหน่ำ
- แต่วิกฤต เป็นโอกาส เมื่อ 'ธุรกิจบริการ' เป็นจุดขาย-จุดแข็งของประเทศ
- กูรูแห่งวงการ ชี้ทางออกนำพาธุรกิจโต้คลื่นตลอดรอดฝั่ง และรายใหม่อยู่ได้อย่างยั่งยืน

จากตัวเลขการยื่นขอคำรับรองมาตรฐานสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวยและนวดเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุดกว่า 2,000 รายจากทั่วประเทศ และอยู่ระหว่างการติดต่อของยื่นขอรับรองอีกจำนวนมากนั้น ย่อมสะท้อนการเข้ามาลงทุนธุรกิจบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และจัดว่าเป็นธุรกิจที่ยังเป็นดาวรุ่งสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

แต่ทั้งนี้ ภาพที่ปรากฎควบคู่ไปกับการทยอยปิดกิจการ ปัจจัยหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือภาวะเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าสปา นวดไทย ยังเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และหลายรายผูกติดกับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการที่เข้ามาทำธุรกิจตามกระแสโดยไม่มีการทำแผนธุรกิจที่ชัดเจน

- 'ISMED' ส่งสัญญาณ พยุงรายเก่า

ธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาโครงการ สายการตลาด สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เปิดเผย “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า จากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจอันได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการเข้ามาใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมถึงการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติที่ลดลง ประกอบกับการแข่งขันของจำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบริการสปา นวดไทยทั้งสิ้น

ภาพดังกล่าว ทำให้สถาบัน กลับมาทบทวนบทบาทใหม่ จากที่ผ่านมาเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจทั้งการอบรม จัดสัมมนาให้ความรู้ รวมถึงการประสานแหล่งเงินทุนต่างๆ จึงหันมาเน้นฟื้นฟูผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้ส่งเสริมจนสามารถประกอบกิจการได้แล้ว กลับมาทบทวนธุรกิจกันใหม่ เสริมศักภาพ ผู้ประกอบการและธุรกิจภายใต้ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

โดยจะเริ่มในปี พ.ศ. 2549 ประสานกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศเพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้และคอนเน็ตชั่นกับสปารายใหญ่ในประเทศนั้นๆ จัดอบรม สัมนาเข้มข้นในประเด็นการตลาดและการสร้างความแตกต่างของธุรกิจ รวมถึงแหล่งเงินทุนเพื่อขยายหรือปรับปรุงกิจการ เพิ่มเติมการให้บริการด้วยโนว์ฮาวและเทคโนโลยีใหม่ๆ

"เป้าหมายในตอนนี้ไม่ใช่จำนวน แต่เป็นเรื่องของคุณภาพและมูลค่าเพิ่มที่จะใส่ลงไป เช่น กระตุ้นการใช้บริการหรือทรีตเม้นท์ที่มีราคาสูงขึ้นเพิ่มรายละเอียดต่างๆ ลงไป"

ธนันธน์ ยอมรับว่าที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนก้าวค่อนข้างเร็ว แต่ตอนนี้เป็นช่วงที่ต้องหยุดยืนแล้วมองรอบตัวว่าเกิดอะไรขึ้นและเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการกระโจนเข้าเข้าสู่ธุรกิจเหมือนที่ผ่านมา

แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจบริการสปา นวดไทยยังเป็นดาวรุ่งและยังไม่อิ่มตัว ซึ่งยังเป็นโอกาสธุรกิจของนักลงทุนหน้าใหม่ที่จะก้าวเข้ามา เพราะเป็นธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศ ซึ่งเรามีความพร้อมอย่างมากทั้งบุคลากร วัตถุดิบสมุนไพรไทยที่เป็นจุดขาย รวมถึงสถานที่ทำเลต่างๆ

- แนะทบทวนแผนธุรกิจ

ธนันธน์ แนะว่า ผู้ประกอบการต้องหันมาทบทวนแผนธุรกิจ กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดขึ้น รวมถึงการสร้างความแตกต่าง หากมองโอกาสทางการตลาดในวิกฤตจะพบว่าจำนวนคู่แข่งขันหรือผู้ประกอบการรายอื่นต้องปิดกิจการลงจำนวนมาก กลุ่มลูกค้าผู้ชายมีแนวโน้มเติบโต หรือตลาดในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นกลุ่มคนทำงานวัย 25-35 ปี ซึ่งในภาพรวมธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพจะเห็นแนวโน้มเติบโตทั้งระบบ

"อาจต้องขยายฐานตลาดลูกค้ามากขึ้น จากที่จับลูกค้าต่างประเทศก็มุ่งลูกค้าภายในประเทศ เจาะกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนขึ้น อย่างตอนนี้กลุ่มผู้ชายเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเข้ามาใช้บริการมากขึ้น"

ธนันธน์ ให้แนวคิดในการกำหนดกลยุทธ์ไว้ว่า ต้องสร้างจุดขายที่โดดเด่น หรือบริการที่เฉพาะตัว การตกแต่งและการกำหนดลูกค้าให้แตกต่างจากคู่แข่ง ใช้เครื่องมือการตลาดสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตลาดบนอินเตอร์เน็ตและการขายเชิงรุก การสร้างคนสร้างทีมงานของตัวเอง สร้างระบบการจัดการที่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงการสร้างแบรนด์

ทั้งนี้ จากการรวบรวมผลสำรวจของสถาบัน พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจสปามีปัญหาด้านการทำตลาดมากที่สุดคือไม่สามารถรักษาลูกค้าเก่าให้กลับมาใช้บริการได้ จากสถิติลูกค้าใหม่ 10 รายมีกลับมาใช้บริการเพียง 3 รายเท่านั้น สาเหตุที่พบเกิดจากไม่ได้รับความพึงพอใจจากบริการตามที่โฆษณาไว้ ซึ่งมาจากผู้ให้บริการไม่ได้มาตรฐาน และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ซึ่งผู้จัดการสปาไม่อยู่ ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจในขณะนั้นได้

พร้อมให้ข้อคิดไว้ว่า หัวใจของธุรกิจบริการคือบุคลากร โดยเฉพาะเทอราปิสต์ ทั้งนี้ต้องมีระบบการคัดเลือกเพื่อให้ได้คนที่เหมาะสม มีระบบการตอบแทนที่ยุติธรรม และให้เห็นถึงโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ มีระบบการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ระบบการติดตามและประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่เครื่องมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน นั้นควรหาพันธมิตรที่มีแนวคิดทางธุรกิจที่สอดคล้องกัน พันธมิตรต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน กำหนดขอบเขตความร่วมมือด้านต่างๆ กำหนดแผนงานปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ กำหนดกลยุทธ์แบรนด์กลุ่ม

"และในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ผู้ประกอบการที่ทำอยู่ต้องมีความเป็นมืออาชีพ รับมือกับความต้องการของลูกค้าที่ไม่สิ้นสุด และต้องมีทักษะบริหารจัดการเพื่อรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เป็นนักปฏิบัติมากกว่านักเพ้อฝัน" ธนันธน์กล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตด้านจำนวนของผู้ใช้บริการ อาจไม่ก้าวกระโดดอย่างที่ผ่านมาด้วยปัจจัยลบที่กล่าวมาทั้งหมด ทั้งนี้ตนมองเรื่องการแข่งขันระหว่างประเทศ เช่น เวียดนาม จีน ที่ดึงนักท่องเที่ยวไปได้มาก เพราะตลาดหลักของธุรกิจสปายังอิงกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก ฉะนั้นการลงทุนควรพิจารณาให้หนัก แนวโน้มในขณะนี้การลงทุนควรหาพันธมิตรเช่นเปิดในโรงแรม รีสอร์ท แทนการลงทุนเองทั้งหมดน่าจะป้องกันความเสี่ยงด้านการลงทุนได้

- SME BANK เข้มปล่อยกู้

ระพีพรรณ ประวัติวงศ์ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว สถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME BANK) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว และธุรกิจสปาซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยนั้นทำให้การพิจารณาสินเชื่อต้องเป็นไปอย่างรอบครอบและละเอียดมาขึ้น หมายถึงผู้ประกอบการต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนโดยเฉพาะการตลาดจะทำให้สามารถประเมินระยะเวลาในการคืนสินเชื่อที่ปล่อยไป

สำหรับปัจจัยหลักต่อการพิจารณาสินเชื่อว่า จะดูที่โอกาสความเป็นไปได้ของธุรกิจ ซึ่งผู้ขอสินเชื่อต้องจัดทำแผนธุรกิจที่ละเอียดตั้งแต่แนวคิดต่อการเข้ามาลงทุนในธุรกิจดูตลาดและภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขัน การผลิต การเงิน และการบริหาร

"ผู้ขอกู้ต้องมีระยะการคืนสินเชื่อที่ชัดเจน นั้นคือการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ การจะสร้างตลาดได้ต้องฉีกแนวด้วย ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ ผู้ขอสินเชื่อ ต้องแสดงแผนธุรกิจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น" พีระพรรณกล่าวและว่า

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้นเห็นชัดเจนในปี 2548 นี้ อัตราการขอสินเชื่อของผู้ประกอบการชะลอตัว จากเป้าการปล่อยกู้ในกลุ่มท่องเที่ยว ปี 2548 เดิม 2,600 บาท แต่ภาวะเศรษฐกิจจึงได้ปรับเงินปล่อยกู้ใหม่ เหลือประมาณ 2,000 ล้านบาท ตัวเลข ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 เพิ่งปล่อยสินเชื่อไปเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น สำหรับสินเชื่อธุรกิจสปามีไม่เกิน 10%

อย่างไรก็ตาม ด้วยบทบาทของสถานบันฯ ในการสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ จึงมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข็งขันให้กับผู้ประกอบการรายเดิมจัดการอบรม สัมมนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในกลุ่มผู้ประกอบการใหม่นั้นเป็นการให้องค์ความรู้ต่อการเข้ามาทำธุรกิจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่ธุรกิจ

พีระพรรณ กล่าวถึงปัจจัยหลักต่อการพิจารณาสินเชื่อว่า จะดูที่โอกาสความเป็นไปได้ของธุรกิจ ซึ่งผู้ขอสินเชื่อต้องจัดทำแผนธุรกิจที่ละเอียดตั้งแต่แนวคิดต่อการเข้ามาลงทุนในธุรกิจดูตลาดและภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขัน การผลิต การเงิน และการบริหาร

ข้อมูลสนับสนุนจากงาน ‘สปาแอนด์บิวตี้ สวย...รวย...รุ่ง’ โดยเอสเอ็มอีแบงก์ พีเพิลมีเดีย นิตยสารชี้ช่องรวย


- แบ่งสรร ปันส่วนลงทุน

ธนัฎฐา ไชยวงศ์วัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เนชเชอรัล บี สปา จำกัด ผู้ให้บริการ ‘จอมพลสปา’ ฉายภาพให้เห็นถึงการเข้ามาลงทุนธุรกิจสปา ในฐานะบริษัทให้คำปรึกษาธุรกิจ ว่า ในปี 2548 มีผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการคำปรึกษาธุรกิจสปาเพิ่มขึ้น ซึ่งพบมากในต่างจังหวัด ที่หลายรายเข้าสู่ธุรกิจนี้ด้วยกระแสและยังเข้าใจว่าเป็นธุรกิจที่ทำกำไรดีกว่าทำธุรกิจอย่างอื่น

แต่ขณะเดียวกันยังพบว่ามีกลุ่มที่เข้าใจธุรกิจที่ต้องการเปิดสปาเพราะมองเห็นโอกาสของธุรกิจในจังหวัดนั้นๆ โดยเฉพาะมีกลุ่มลูกค้าระดับบีขึ้นไปที่มีกำลังซื้อสามารถเข้ามาใช้บริการสปาได้เพราะยังไม่มีรายใดเปิดให้บริการ

แต่สำหรับผู้ประกอบการรายเดิม ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ นั้นจะเลือกปรึกษาบางเรื่องเท่านั้น เช่น การเพิ่มทรีตเม้นท์ใหม่ๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการต่างๆ ปรับปรุงสถานที่ รวมถึงการวางตำแหน่งสินค้าเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้ เป็นกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท ที่เริ่มเข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มบริการ และยกระดับภาพลักษณ์ของโรงแรม รีสอร์ท ขึ้นและเป็นการให้บริการที่ครบวงจรให้กับลูกค้าที่เข้าพัก

สำหรับการเข้ามาลงทุนในธุรกิจสปานั้น จากที่เข้ามารับคำปรึกษาจะมีเม็ดเงินลงทุนเฉลี่ยรายละ 5 แสนบาท ซึ่งตนมองว่าเป็นเงินที่ค่อนข้างน้อยหากต้องการเข้ามาทำธุรกิจสปาอย่างจริงจัง เพราะจะขาดความครบวงจรด้านการให้บริการ

ธนัฎฐา ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ลงทุนธุรกิจสปาว่า ควรมีเงินลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1.5 ล้านบาท พื้นที่ 1 คูหา 3 ชั้น (ไม่รวมพื้นที่ซักล้าง) จะสามารถให้บริการที่มีองค์ประกอบครบทั้งนวดตัว นวดเท้าและการทำทรีตเม้นท์ต่างๆ พื้นที่ไม่อึดอัด มีเงินหมุนเวียนต่อเดือน 30,000-50,000 บาท สำหรับการคืนทุนอยู่ที่ทำเลเป็นส่วนสำคัญและการบริการให้เกิดการเข้ามาใช้บริการซ้ำ

ซึ่งผู้ขอรับคำปรึกษานั้น ตนจะเริ่มถามคอนเซ็ปต์กันก่อน ว่าต้องการนำเสนอสปาในรูปแบบไหน และมีเงินทุนเท่าไรเหมาะสมหรือไม่ เช่น มีเงินลงทุนไม่มากน้อย แต่ต้องการสปาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งอุปกรณ์เครื่องมือในส่วนนี้การลงทุนค่อนข้างสูง

และแนะนำการบริหารเงิน เพราะกว่า 50% หมดไปกับการตกแต่งสถานที่ การจัดวางตำแหน่งบุคลากรที่เหมาะสมกับบริการและขนาดพื้นที่ที่ให้บริการ 20% เป็นการตลาด สื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก ที่เหลือเป็นอุปกรณ์ สินค้า ทั้งนี้การให้คำปรึกษา จะแนะนำจัดหาอุปกรณ์ ของสำคัญที่ต้องใช้ภายในสปาให้ทั้งหมด ราคาค่าปรึกษาจะพิจารณาเป็นรายตามรายการที่ปรึกษา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us