Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
แฟคตอรี่เอ๊าท์เลท เพิ่มดีกรี 'FN' ผู้บุกเบิก ปรับตัวสู้ศึก             
 


   
search resources

Commercial and business
เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท, บจก.




กระแสแฟคตอรี่เอ๊าท์เล็ทมาแรง "เอฟเอ็น" ปรับตัว ชูจุดเด่นสินค้าส่งออก คุณภาพดีราคาประหยัด และบริการเยี่ยม ยึดแนวคิดธุรกิจมุ่งรักษาฐานลูกค้าเดิม พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่

ช่อทิพย์ ส่งวัฒนา ผู้อำนวยการ บริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมของธุรกิจในรูปแบบการขายสินค้าราคาถูกจากผู้ผลิตว่า ขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศ ขณะเดียวกับความต้องการของผู้บริโภคในสินค้าประเภทนี้มีเพิ่มขึ้น เป็นความนิยมใช้สินค้าแบรนด์เนมที่มีคุณภาพแต่ราคาต่ำ ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการปรับเพิ่มของราคาน้ำมัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการประมาณ 3 รายที่อยู่ที่ตลาดนี้ ได้แก่ 1. พีน่าเฮ้าส์ 2.แฟชั่นเอ๊าท์เลท และ3.ซีเอ็มจีเอ๊าท์เลทของกลุ่มเซ็นทรัล

ดังนั้น "เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท" (FN Factory Outlet) ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมผลิตภัณฑ์สำหรับการส่งออกหลากหลายชนิดมาลดราคากว่า 50% ถึง 80% จึงเตรียมปรับตัวรับกระแสการแข่งขันที่สูงขึ้น และการเติบโตของธุรกิจรูปแบบนี้ โดยยังคงเน้นการเป็นสินค้าส่งออก การรักษามาตรฐานสินค้าคุณภาพราคาพอเหมาะ และบริการที่ดีให้ลูกค้าไปบอกต่อ และการประชาสัมพันธ์ในจังหวะที่เหมาะสม

นอกจากนี้จะเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เช่น การสร้างพันธมิตรใหม่มากขึ้น เพื่อมาขยายกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ วัยทำงาน อายุ 35 ปีขึ้นไป มีรายได้ประมาณ 30,000-50,000 บาท/เดือน/ครอบครัว เช่น มีกลุ่มสินค้ากีฬาจากอาดิดาสอยู่แล้วจะหาสินค้าจากเซ็กเม้นท์อื่นๆ มาเสริม และอาจจะใช้ฐานลูกค้าเดิมช่วยขยายตลาด ซึ่งลักษณะของกลุ่มลูกค้าเอ้าท์เลท คือกลุ่มที่มีเงิน ไม่สนใจแบรนด์ และชอบสินค้าที่มีคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถที่จะใช้การกำหนดจำนวนผลิตเพื่อมาขายในช่องทางนี้โดยเฉพาะเพราะความต้องการของตลาดยังไม่สูงมากพอ จึงยังคงใช้สินค้าจากการเหลือจากการส่งออกแล้วจึงจะมากระจายตามสาขาที่มีอยู่เท่านั้น เพราะคนไทยยังนิยมสินค้าแบรนด์ต่างประเทศ แต่ไม่นิยมแบรนด์ไทยด้วยกันเอง

จุดเด่นของ "เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท" คือ รักษาจุดยืนของการเป็นสินค้าส่งออกซึ่งจะไม่สามารถหาซื้อได้จากที่อื่น เพราะกว่า 90% เป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกทั้งแบบที่รับจ้างผลิตและติดแบรนด์ของฟลายนาวโดยไม่มีจำหน่ายในไทย ที่เหลือประมาณ 5 % เป็นสินค้าของพันธมิตร เช่น ไนกี้ อาดิดาส เพื่อรักษาเครือข่ายและเพิ่มความหลากหลายให้ลูกค้า ขณะที่คู่แข่งเป็นสินค้าที่หาซื้อได้จากช่องทางปกติ เพียงแต่นำมาลดราคามากกว่าเดิมในช่องทางนี้

โดยสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย เสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ สำหรับบุรุษ สตรี และเด็ก, เครื่องหนังหลากหลายประเภท, อุปกรณ์เครื่องนอน, อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบ้าน, สินค้าหัตถกรรม และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมายจากโรงงานในเมืองไทยที่ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ชั้นนำ ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะโดดเด่นทั้งเรื่องดีไซน์ วัสดุคุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์จากนานาประเทศ ราคาประหยัดจากโรงงานมาจำหน่ายให้กับคนไทย โดยปัจจุบันมี 4 สาขา คือ จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี พัทยา และโคราช และวางแผนจะเปิดสาขาใหม่ที่เชียงใหม่ในปีหน้า ตามเป้าหมายที่จะเปิดสาขาตามเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะนอกจากจะเน้นกลุ่มลูกค้าคนไทยยังมุ่งกลุ่มต่างชาติด้วย

ส่วนแนวทางในการทำธุรกิจ ช่อทิพย์ กล่าวว่า ไม่ชอบเลือกใช้เงินกู้เพราะไม่ต้องการเป็นหนี้ ซึ่งหมายถึงว่าขยายธุรกิจกับต้องทำกำไรให้ได้เท่านั้น ซึ่งต้องดูแลทั้งการควบคุมต้นทุนมากที่สุด ขณะเดียวกันที่คุณภาพและการบริการต้องดี เพราะฉะนั้นจะขายอย่างไรให้กำไรมากและคนมามากจึงทำราคาสูงไม่ได้จึงเป็นโจทย์ที่ต้องแก้เสมอ

ประกอบกับแนวคิดในการดำเนินธุรกิจว่า ยึดหลัก "ยิ่งน้อยยิ่งมาก" คือ การมีกำไรต่อหน่วยต่ำเพื่อให้ขายได้จำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งเหมาะกับรูปแบบธุรกิจนี้อยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าลูกค้าที่ให้ความสนใจสินค้าเอ๊าท์เลท เพราะเป็นสินค้าที่หาหาต้องใช้ความพยายามในการเลือกสรรเลือกซื้อจึงจะได้ของที่สวยและดีแบบที่หายากและไม่เหมือนใคร หรือเท่ากับความรู้สึก "ยิ่งปิดยิ่งอยากรู้" พร้อมทั้ง การใช้วิธีคิดที่ต้องบริหารเชิงรุกโดยการนำปัญหาที่เห็นว่าจะเกิดขึ้นแนะนอนในอนาคตมาสะสางก่อน เพื่อให้เมื่อถึงเวลานั้นจะความรุนแรงของปัญหาจะเบาลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us