Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 พฤศจิกายน 2548
เปิด "TCDC" เติมต่อธุรกิจ คลิกผู้ประกอบการ-ดีไซเนอร์             
 


   
search resources

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ




ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบพร้อมเปิดบริการกลางเดือนพ.ย.นี้ ยึดทำเลกลางเมืองเข้าถึงสะดวกใกล้ชิดวิถีชีวิตปกติ ชั้น 6 ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรี่ยม สร้างโอกาสใหม่ผู้ประกอบการ-ดีไซเนอร์ไทย โกยความรู้เทียบเท่าระดับอินเตอร์ ชี้ช่องทางใช้ประโยชน์จากการออกแบบ เจาะตลาดด้วยแนวคิดและกลยุทธ์ใหม่ ปูพื้นฐานเศรษฐกิจแนวใหม่ให้ประเทศ

ไชยยง รัตนอังกูร Acting Managing Director ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center : TCDC) เปิดเผยว่า TCDC เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่พบว่าประเทศไทยมีปัญหาจากการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมากเกินไป และใช้เรื่องต้นทุนต่ำโดยเฉพาะแรงงานที่มีคุณภาพ แต่เมื่อประเทศจีนมีต้นทุนที่ต่ำกว่าและแนวโน้มคุณภาพสินค้าที่ผลิตได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไทยต้องเปลี่ยนแปลง โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยสร้างคุณค่าในผลิตภัณฑ์และการบริการมากขึ้น

สิ่งสำคัญคือการจะทำอย่างไรให้มีความรู้แล้วก่อให้เกิดกระบวนการสร้างคุณค่า วิทยาการต่างๆ ที่มีพื้นฐานมาจากการออกแบบ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้น TCDC จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการ ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจ ให้ไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น และเลือกตั้งอยู่ในทำเลที่อยู่ในวิถีชีวิตปกติ เดินทางสะดวก เพื่อให้กระบวนการหาความรู้ไม่ได้อยู่ห่างไกล โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรี่ยม ถนนสุขุมวิท ซึ่งพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้

โดยผู้ต้องการใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น นักศึกษา 600 บาทต่อปี บุคคลทั่วไป 1,200 บาทต่อปี หรือสมาชิกพิเศษ 12,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม เพราะเป็นองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่ได้หวังผลกำไร แต่สามารถหารายได้นอกจากที่ได้จากงบประมาณของรัฐมาสนับสนุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านมีรายได้เข้ามาช่วยแบ่งเบางบประมาณรัฐ และการบริหารจัดการได้เหมาะสม

TCDC มีพื้นที่ทั้งหมด 4,490 ตารางเมตร 200 ที่นั่ง จัดแบ่งเป็น 2 โซน คือ ห้องสมุดและส่วนแสดงนิทรรศการ โดยแบ่งเป็นส่วนๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็น "หนังสือและมัลติมีเดีย" ซึ่งมีหนังสือที่ครอบคลุมเรื่องราวที่เกี่ยวกับการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมนุษยวิทยา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการออกแบบ โดยมีหนังสือทั้งหมด 15,000 เล่ม และลงทุนระบบการจัดการห้องสมุดสมัยใหม่ ทำให้เป็น 1 ใน 10 ของโลกที่ใช้ระบบนี้ โดยมี National Library of Singapore มาช่วยวางระบบและเทคโนโลยี ส่วนไทยจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดเอง โดยตั้งใจจะให้เป็นต้นแบบในไทย เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดอื่นๆ

"สมาชิกที่มาใช้บริการต้องเอาบัตรมาเช็คอินที่ทางเข้า ที่บัตรไม่มีรูปแต่จะมีรูปขึ้นที่จอคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจให้ตรงกัน ถ้าเป็นเด็กพ่อแม่สามารถเช็คได้ทางอินเทอร์เน็ตว่ามาจริงหรือไม่ เมื่อจะออกต้องเช็คเอ้าท์ และเมื่อปิดบริการก็รู้ว่ามีคนอยู่อีกหรือไม่ทำให้ได้เรื่องความปลอดภัยด้วย และเราอยากให้เด็กวัยรุ่นมาใช้ประโยชน์มาสนุกกับการหาความรู้ด้วย เราไปโปรโมทที่งาน BIG ครั้งล่าสุด มีการสมัครสมาชิกทั้งที่ยังไม่เห็นอะไรเลยเกิน 250 คน ส่วนใหญ่เป็นนักออกแบบ และมีประเภทพรีเมี่ยมซึ่งสูงสุดค่าสมาชิก 12,000 บาทต่อปีด้วย"

นอกจากนี้ มี "ห้องสมุดสำหรับมืออาชีพ" โดยมี "The Lounge" เป็นคลับที่มีหนังสือที่พิเศษจริงๆ แต่สมาชิกส่วนอื่นก็มีโอกาสได้ใช้หนังสือเหล่านี้เพราะจะมีการหมุนเวียนออกไปเป็นครั้งคราว อีกทั้ง มี "Private Room" เพื่อให้ดีไซเนอร์ซึ่งมักจะทำงานอิสระใช้เป็นที่นัดกับลูกค้า โดยมีการเก็บค่าใช้จ่ายเล็กน้อย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง

รวมทั้ง "ห้องสมุดสำหรับมืออาชีพขั้นสูง" คือ "Material ConnecXion" ซึ่งเป็นสาขาของ Material ConnecXion Worldwide ที่มี 3 สาขาทั่วโลก อยู่ที่นิวยอร์ก โคโลญ และมิลาน ส่วนในไทยเป็นสาขาเดียวในเอเชีย และอนาคตคงจะมีอีกเพียง 1 แห่ง เพราะกระจายอยู่ทั่วโลกแล้ว โดยเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบที่มีคุณลักษณะพิเศษจากทั่วโลกมาไว้ เช่น กันน้ำได้ หรือช่วยแก้ปัญหาการออกแบบบางอย่าง ซึ่งมีการคัดเลือกจากสาขาแม่ที่นิวยอร์กและทุก 3 เดือนจะมีการเพิ่มวัตถุดิบใหม่ 33 ชิ้น ซึ่งในวันเปิดบริการจะมีประมาณ 600 ชิ้น ซึ่งทันสมัยและมากพอๆ กับสาขาอื่น

สำหรับส่วนแสดงนิทรรศการซึ่งสำคัญมากเช่นกัน แบ่งเป็น แบบถาวรและแบบหมุนเวียน โดยแบบถาวรใช้ชื่อว่า “What is Design ? ” ซึ่งแสดงตัวอย่าง 10 ประเทศ หรือ 10 สังคม ว่าอะไรที่เป็นบ่อเกิดให้สังคมเหล่านั้นมีลักษณะและได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่ามีลัษณะพิเศษทางดีไซน์ โดยจะบอกว่า ดีไซน์ไม่ได้เกิดจาก One Crazy Idea ซึ่งเกิดมาแล้ววันหนึ่งจะหายไป และมักจะไม่คำนึงถึงการใช้งาน เป็นแค่สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจแล้วจบไป แต่ต้องเกิดจากการรวบรวมทุกวิทยาการรอบตัว จนกลั่นเป็น 1 ผลิตภัณฑ์ หรือ 1 บริการ

ส่วนแบบหมุนเวียน มีการวางแผนงานล่วงหน้า 2 ปี ทำเพื่อต้องการให้คนไทยได้ปะทะกับความคิดและเบื้องหลังของดีไซเนอร์จากทั่วโลก ให้เห็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างลึกซึ้ง กว่าจะสำเร็จมีความล้มเหลวอย่างไรบ้าง งานแรกชื่อว่า "Isan Retrospective" เล่าย้อนยุควัฒนธรรมอีกสานว่าที่เคยถูกดูถูก แต่ที่จริงมีเสน่ห์ไปปรากฎในงานดีไซน์ที่วันนี้โลกยอมรับโดยคนไทยไม่รู้ตัว ใช้เวลาแสดง 2 เดือน จากนั้นจะมีงาน “The DNA of Japanese Design” แสดงความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ของญี่ปุ่น และในปีหน้าจะมีนิทรรศการของ วิเวียน เวสต์วูด นักออกแบบชื่อดังของโลก Victoria Albert Museum นำมาแสดง

ไชยยง กล่าวต่อไปว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้ TCDC มีสีสันมากขึ้น คือ ร้านขายสินค้าดีไซน์จากนักออกแบบไทยและต่างประเทศ ซึ่งราคาไม่แพง เพื่อให้การช้อปปิ้งของคนไทยเกิดความรู้ไปด้วย จะมีการใส่คำอธิบายของของชิ้นนั้นๆ ว่ามีคุณค่าอย่างไร กว่าจะทำได้ต้องผ่านอะไรบ้าง นอกจากนี้ มี "The Kitchen" เป็นร้านอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารไปด้วย เช่น ให้ความรู้เรื่องน้ำมันมะกอกที่กำลังฮิต

สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ คนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และผู้ประกอบการซึ่งอยากจะมีความรู้เพิ่มขึ้น อยากปรับปรุงกระบวนการผลิต อยากคุยกับดีไซเนอร์ให้รู้เรื่อง จึงจะมีการทำเว็บไซต์ที่เรียกว่า "Portfolio Online" ซึ่งผู้ประกอบการจะมาหาข้อมูลผลงานของดีไซเนอร์ที่ใส่ไว้ แล้วสามารถนัดพบกันได้ที่ TCDC ในขณะที่ ดีไซเนอร์จะได้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่จะนำมารวมไว้ เช่น ซัพพลายเออร์ต่างๆ เช่น โรงงานฉีดพลาสติก ไม้ แม่พิมพ์ แก้ว ฯลฯ และข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อให้ติดต่อถึงกันได้ ซึ่งส่วนนี้จะเริ่มให้บริการได้ภายในปีหน้า นอกจากนี้คือกลุ่มคนที่อยากเรียนรู้เรื่องการออกแบบ และนักเรียนนักศึกษา

"เราพยายามให้สนุกจากความรู้ ให้เรียนรู้ได้หลายๆ ทาง เรามีเก้าอี้ดีไซน์คลาสสิกที่มีอายุนานเป็นสิบหรือบางตัวเกือบร้อยปีจากทุกมุมโลกมาให้ใช้จริง เพื่อให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรง เราติดต่อกับผู้ผลิตไม่ได้ซื้อแพงหรือบางตัวฟรี และมีเรื่องราวของเก้าอี้ทุกตัวให้ศึกษา หรือในห้องน้ำ เรามีกลิ่นหอมๆ ให้เรียนรู้หมุนเวียน"

เมื่อผู้ประกอบการมีความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบ และหาพันธมิตรได้มากขึ้น ขณะที่ ทางด้านนักออกแบบสามารถสร้างสรรค์และทำให้ธุรกิจมีทางเดินใหม่ๆ

สำหรับโลโก้รูป "ขนมใส่ไส้" ของศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) เพราะต้องการให้สื่อถึงความเป็นตัวแทนของความเป็นนักสร้างสรรค์ของคนไทย ซึ่งมี Original Idea

"ใบไม้มีตั้งเยอะ แต่เรานำใบตองมาใช้ และวิธีที่ใช้ บางสังคมก็ใช้แต่แค่เอามาวางรองอาหารแล้วก็ทิ้งไป แต่เราทำเป็นบรรจุภัณฑ์ มีรูปทรง (form) สามเหลี่ยมซึ่งเป็นทรงที่มั่นคงที่สุด มีการถ่วงน้ำหนักที่ฐานทำให้เกิดความแข็งแรง ของที่อยู่ข้างในคงรูป เหมือนปิระมิด และมีวิธีขึ้นรูปที่สวยได้ยังไง แล้วมีเทคนิค เอาใบตองมาตัดเป็นเส้นคาดตัดปลายเฉียงแปลว่าขนมใส่ไส้ ตัดแบบหางปลาแปลว่าขนมกล้วย หรือใช้ไม้กลัดหนึ่งอันหรือสองอัน มีความหมาย แล้วเวลาไปนึ่งยังมีกลิ่นหอมด้วย คนไทยมีความละเอียด เข้าถึงอารมณฺความรู้สึกสัมผัสทั้งห้า ซึงการดีไซน์ต้องเข้าถึงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทุกด้าน และยังใช้วัสดุจากธรรมชาติอีกด้วย" ไชยยง Acting Managing Director อธิบายอย่างละเอียด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us