Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
'เอสพี เซรามิก'หยุดทำตลาดต่างประเทศเพิ่ม             
 


   
search resources

เอสพี เซรามิก
พินิจ ศิริวัฒนกุล
Ceramics




ตั้งแต่ปี 1998 จนถึงตอนนี้ ผมต้องหยุดการทำตลาดต่างประเทศ งดออกงานแสดง สินค้าเหมือนอย่างที่เคยมาก่อนหน้านี้เป็นการชั่วคราว เพราะออร์เดอร์ ที่มีอยู่ตอนนี้ก็ทำกันจนไม่ไหวแล้ว"

พินิจ ศิริวัฒนกุล เป็นคนกรุงเทพฯ ศิษย์เก่าด้านบริหารธุรกิจจากรั้วรามคำแหง เจ้าของโรงงานเอสพี เซรามิก ที่ตั้งอยู่บนเนื้อ ที่ราว 4 ไร่ย่าน ถนนลำปาง-แม่ทะ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บอกเล่าถึงความเป็นไปของกิจการผลิตเซรามิกส่งออก ที่เขาปลุกปั้นมากับมือตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา เคียงข้างสมศักดิ์ ทาแกง ผู้จัดการโรงงาน/ดีไซเนอร์คู่ใจ ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น

โรงงานเอสพี เซรามิก ทุกวันนี้มีกำลังผลิตราว 100,000 ชิ้น/เดือน ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ 10-150 บาท/ชิ้น จากเตาไฟเบอร์ 3 เตา ในขนาด 1 คิว, 2.5 คิว และ 1.5 คิว อย่างละ 1 เตา มีตลาดหลักอยู่ ที่อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยียม และอเมริกา อันเป็นผู้สั่งซื้อเก่าแก่ ที่ติดต่อกันเรื่อยมา หลังจาก ที่เขานำผลิตภัณฑ์ร่วมออกงานแฟร์ ที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เมื่อปี 2536 ที่ผ่านมา

ผลิตภัณฑ์หลักคือ เซรามิกรูปสัตว์ต่างๆ ทุกชนิด อันเป็นรูปแบบ ที่เขาใช้เป็นธงนำมาตั้งแต่วันแรกที่ลาออกจากการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสำรวจแหล่งแร่ของบริษัทเหมืองแร่สหการ จำกัด เมื่อปี 2528-29 ด้วยความเชื่อมั่นว่า จะไม่ถูกก๊อบปี้จาก 5 โรงงานเซรามิกดั้งเดิมของลำปาง ที่อดีตเน้นผลิตถ้วย จาน ชาม ลูกกรง และเน้น ที่ Blue & White เป็นหลัก

เอสพี เซรามิกของพินิจในขณะนี้นอกจากจะงดทำตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม เพราะกำลังการผลิต ที่มีอยู่รองรับไม่ไหวแล้ว เขาเริ่ม ที่จะจัดโครงสร้างภายในโรงงานของเขาใหม่ให้ได้มาตรฐานรองรับการขยายงาน ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ด้วยการพยายามวางโครงสร้างให้แต่ละฝ่ายโดยคร่าวๆ ก่อน

เช่น ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มี สมศักดิ์ ทาแกง ที่ควบตำแหน่งผู้จัดการโรงงานติดต่อกันมาร่วม 7 ปีเป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว รวมทั้งญาติห่างๆ ที่จบการศึกษามาจากสถาบันเทคโนโลยี ภาคพายัพด้านออกแบบ-เซรามิก, จัดหาคนงาน ที่ทำงานในโรงงานมานานให้ขึ้นมาดูแลด้านเทคนิคการผลิตทั้งด้านการผสม คิดค้นสูตรดิน/การเคลือบสี โดยเปิดทางให้พนักงาน ที่อยู่ในแต่ละฝ่ายคิดค้นกันขึ้นมาเอง

จากนั้น ก็เสนอมาให้เขาเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง ส่วนงาน ด้านบัญชี พินิจจะว่าจ้างให้สำนักงานตรวจสอบบัญชีจากภายนอกเป็นผู้ทำให้อีกต่อหนึ่ง

และหลังจาก ที่เขาสามารถวางตัวมือรองในด้านต่างๆ พร้อมแล้ว ก็จะยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอย่างใด อย่างหนึ่ง จากนั้น ก็จะเริ่มแก้ปัญหาความเป็น "แรงงานท้องถิ่น" ที่หมุนเวียนเข้าออกในอัตราถี่เกินควร จนทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่ออกมาไม่สม่ำเสมอ หรือเกิดการสูญเสียมากเกินควร อันถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้เขาตัดสินใจชะลอการรับออร์เดอร์ใหม่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมานี้ เพราะการทำอุตสาห-กรรมในท้องถิ่นภาคเหนือ ที่ต้องพึ่งพิงแรงงาน ตามฤดูกาล ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม ที่มีกรอบระเบียบปฏิบัติภายในเข้มงวดได้เต็ม 100% อย่างแท้จริง ถ้าวางกฎกันเข้มงวดเช่นนั้น แม้จะจ้างกันในอัตราสูงสุดอย่างที่เขาทำตอนนี้คือ กว่า 300 บาท/คน/ วัน คน งานก็ไม่ทนอยู่ด้วยแน่นอน

เมื่อสิ่งเหล่านี้ลงตัว ก็จะเริ่มรุกทำตลาดอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง

การเริ่มต้นทำโรงงานเซรามิกของ พินิจ ศิริวัฒนกุล เมื่อปี 2529 ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นบทเรียนของนักต่อสู้ที่ดีบทหนึ่งทีเดียว เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญยิ่งของเขาครั้งหนึ่ง หลังจาก ที่บริษัทเหมืองแร่สหการ จำกัด ที่ส่งเขามาสำรวจแหล่งแร่ ที่จังหวัดลำปาง อันเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เขาพบว่า ที่ลำปางมีแหล่งแร่ดินขาว ที่สามารถสร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม

เช่นเดียวกับ ที่เขาพบเห็นในโชว์รูมเซรามิก ที่กองบริการอุตสาหกรรม ศูนย์อุตสาหกรรมกล้วยน้ำไทเมื่อคราว ที่เขาต้องเทียวนำตัวอย่างดินจากลำปางไปเข้าห้องแล็บ ที่นั่น เพื่อตรวจสอบปริมาณแร่สำรองใต้ดิน

เพราะเมื่อบริษัทต้นสังกัดตัดสินใจถอนตัวออกจากพื้นที่ลำปาง เพราะไม่พบแหล่งแร่ ที่ต้องการ หรือพบในปริมาณ ที่ไม่เพียงพอในเชิงพาณิชย์ พินิจตัดสินใจลาออกจากบริษัท เพื่อหันมาสร้างอาชีพใหม่กับดินขาว ที่เขาศึกษามาโดยตลอดในช่วง ที่เข้ามาทำงานในลำปาง

ด้วยเงินเดือนที่เก็บหอมรอมริบได้ราว 3-40,000 บาท ซื้อเตาไฟฟ้าใน ราคา 10,000 กว่าบาทจำนวน 1 เตา เช่าห้องแถว ที่เคยใช้เป็นที่อยู่สมัย ที่ทำงานสำรวจแร่ ขนาด 16 ตร.ม.ในอดีตมาใช้เป็นโรงงานว่าจ้างเด็กตกงาน ที่อยู่ในย่านใกล้เคียงกับ ที่ตั้งโรงงานจำนวน 4 คน

เริ่มต้นลงมือผลิตเซรามิกตามรูปเหมือนสัตว์ประเภทต่างๆ ตาม ที่เขา เคยเห็นตั้งโชว์ในห้องโชว์ผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม ที่ศู นย์อุตสาหกรรม กล้วยน้ำไทในช่วงก่อนหน้านี้ และใช้สูตรดิน ที่เขาเคยนำตัวอย่างดินขาวจากลำปางติดตัวไป ที่ศูนย์อุตสาหกรรมฯ เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลด้านเซรามิก ช่วยวิเคราะห์ถึงแนวทาง หรือสูตรผสมดินให้ทุกครั้ง เมื่อต้องเดินทางไปติด ต่อ มาเป็นสูตรผสมดินขาว

ในวันเริ่มต้น พินิจ และคนงานอีก 4 คน รวมทั้งเตาไฟฟ้าอีก 1 เตา สามารถผลิตเซรามิกตามรูปแบบ ที่เขาคิดไว้ได้ราว 60 ชิ้น/วัน ทำได้ 1 เดือนเศษ ก็เริ่มนำเอาผลิตภัณฑ์ ที่ได้ออกวางขายในตลาดท้องถิ่นลำปาง

ด้วยความ ที่เป็นเซรามิกรูปเหมือนสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ไม่เหมือนเซรามิกลำปางโดยทั่วไป การนำออกจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นก็ทำยอดขายได้ไม่เลวนัก หลังจากนั้น อีกไม่นาน เขาก็สามารถจัดสรรเงิน ที่ได้มาซื้อเตาเผาใหม่เพิ่มอีก 1 เตา เป็นเตาแบบ 2 แผ่น ที่สามารถเผาผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าเตาไฟฟ้า

และเมื่อสามารถผลิตเซรามิกได้ในปริมาณเพิ่มขึ้นไม่มีปัญหาเรื่องการจำหน่าย เพราะยังถือว่าเป็นของแปลกใหม่ ในท้องถิ่น เนื้อ ที่โรงงานแค่ 16 ตร.ม. ย่อมไม่พอสำหรับพินิจอีกต่อไป กอปรกับน้าชายของเขา ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้ขึ้นมาซื้อ ที่ดินย่านบ้านไร่ป่าคา อำเภอเมือง เนื้อ ที่ 6 ไร่ ใน ราคาราว 2 แสนบาท โดยที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ใดๆ

พินิจได้ขอเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ในลักษณะ ที่เฝ้า และพัฒนาให้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า จากนั้น ก็ลงทุนโยกย้ายโรงงานไป ที่ใหม่ ราวปี 2531-32 สร้างโรงเรือนหลังคามุงจากผลิตเซรามิกออกจำหน่ายตามตลาดท้องถิ่น เริ่มนำออกขายในต่างถิ่นโดยเฉพาะในตลาดเซรามิกกรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงนั้น ยอดขายของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนจำเป็นต้องขยายโรงงานรองรับความต้องการทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น

พร้อมกับส่งผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่ออกจากโรงงานเอสพีเซรามิก เข้าประกวดในงานประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ในงานนิทรรศการเซรามิกภาคเหนือเมื่อปี 2531 ของกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งเซรามิกรูปสัตว์ต่างๆ ของเขาได้รางวัลดีเด่นมาครอง

จากนั้น เขาตัดสินใจ ที่จะขยายโรงงานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ เป็นการขยายโรง งานอย่างถาวรทั้งในแง่ของโครงสร้าง-เป้าหมายลงทุนซื้อ ที่ดินย่านถนนลำปาง-แม่ทะ ก่อนถึงสถาบันราชภัฏลำปางเล็กน้อย โดยใช้เงิน ที่สะสมในช่วง ที่เริ่มทำเซรามิกมาได้ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ และเงินกู้จากสถาบันการเงินรวมแล้วราว 6 แสนบาท มาซื้อ ที่ดิน ได้ 4 ไร่ พร้อมกับจัดสร้างโรงเรือนถาวร ใช้เป็นโรงงานเซรามิก

ระยะปี 2534-36 พินิจ เริ่มนำผลิตภัณฑ์ ที่เขาผลิตได้จากโรงงานเอสพี เซรามิก เข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ในประเทศ เพื่อเปิด ตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เขาเริ่มหาช่องทาง ที่จะทำตลาดในต่างประเทศด้วย โดยใช้ช่องทาง และการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการส่งออกในการร่วมออกงานแฟร์ตามประเทศต่างๆ

ตลอดระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ปี 2536-39 พินิจลงทุนนำสินค้าเข้าร่วมงานโชว์ในต่างประเทศทุกปี จนได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ ที่เดินทางมาร่วม และดูสินค้าในงาน

แน่นอน เซรามิก ที่เขานำออกโชว์ทุกครั้ง เป็นผลิตภัณฑ์ รูปสัตว์ ที่เขา ใช้เป็นธงนำมาตั้งแต่เริ่มต้น

กระทั่งปี 2539 เริ่มมีออร์เดอร์จากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ อันเป็นคำสั่งซื้อเซรามิกตามดีไซน์ ที่เขาผลิตอยู่หลังจากนั้น ปริมาณออร์เดอร์ ที่มีเข้า มา ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บรรดาผู้สั่งซื้อ ที่เริ่มมีการติดต่อเข้ามาทยอยส่งแพลนออร์เดอร์ล่วงหน้าเข้ามาทุก 2-3 เดือน

จนเขาต้องขยายโรงงานภายในเนื้อ ที่ 4 ไร่เศษ ที่มีอยู่จนเต็มพื้นที่ จนแทบจะไม่สามารถขยายได้มากกว่า ที่เป็นอยู่นี้อีกแล้ว คนงาน ที่มีอยู่ราว 75 คน ส่วนใหญ่ต้องทำงานล่วงเวลากันมาโดยตลอด สัปดาห์หนึ่งทำงานไม่ต่ำกว่า 7 วันทีเดียว

ปัจจัย ที่พินิจเชื่อมั่นว่าทำให้เขาได้ออร์เดอร์จากผู้สั่งซื้อต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นเรื่องของคุณภาพ รูปแบบสินค้า ที่แตกต่างไปจากโรงงานอื่นๆ ในลำปางแล้ว อีกกรณีหนึ่งเป็นเพราะการโค้ดราคาเป็นเงินบาทของไทยมาตั้งแต่ต้น ทั้งก่อน-หลังลดค่าเงินบาท

เมื่อค่าเงินบาทลดต่ำลงตั้งแต่กลางปี 2539 ทำให้ราคาสินค้าของเขา เมื่อเทียบกับสินค้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ ตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมากลายเป็นราคา ที่ผู้สั่งซื้อสามารถตัดสินใจสั่งซื้อได้ง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานสินค้า

ตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษ ที่ไทยมีปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างหนักโรงงานเอสพีเซรามิก ไม่ได้รับผลกระทบแม้แต่น้อย ไม่มีการลดคนงาน ไม่ลดเงินเดือนใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่เพียงเท่านั้น สถานะความเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ที่เขาใช้เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการขยายโรงงานหลายครั้ง ที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีปัญหา จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าเอสพี เซรามิก ไม่ไ ด้จดทะเบียนในรูปนิติบุคคล ยังคงเป็นกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวอยู่ แต่การยื่นขอกู้เงินจากแบงก์ ยังคงได้ไฟ เขียวกันตลอด

ก่อนสิ้นสุดการสนทนา พินิจยังคงกล่าวย้ำว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ เขา คงไม่ขยับขยายโรงงานออกไปอีก แม้ว่าผู้สั่งซื้อทั้งหน้าเก่า-ใหม่ จะมีออร์เดอร์เพิ่มเข้ามาจนเพียงพอ หรือจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตก็ตาม เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กรให้ลงตัวก่อน จากนั้น ค่อยว่ากันอีก ครั้ง หนึ่ง

"ออร์เดอร์ ที่มีในมือตอนนี้มันทำกันไม่ทันอยู่แล้ว บางครั้งเรายังต้องใช้วิธีให้ผู้สั่งซื้อวางเงินมัดจำเป็นส่วนน้อย เพื่อแลกกับการยืดระยะเวลาส่งมอบสินค้าออกไปให้นานที่สุด เท่า ที่จะทำได้ ทั้ง ที่ลูกค้าต้องการที่จะชำระให้ทั้งหมด 100% เพื่อให้เราส่งมอบสินค้าให้เขาได้ตรงตามกำหนดเวลา ที่เขาต้องการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us