Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 พฤศจิกายน 2548
ค่ายเบียร์มึนตลาดไม่โต 3 ปีซ้อน ปัจจัยลบกระทุ้งรอบด้านภาครัฐ-เศรษฐกิจ-ดอกเบี้ย             
 


   
search resources

ไทยเอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรี่, บจก.
Alcohol




ไทยเอเชียฯ ชี้กฎเหล็กภาครัฐจำกัดเวลาจำหน่ายเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง ห้ามทำสื่อโฆษณาเชิงพาณิชย์ทุกรูปแบบ พ่วงปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัวพ่นพิษตลาดเบียร์ไม่โตลากยาวปี 2547-2549 มูลค่าคงที่ 82,000 ล้านบาท ระบุค่ายเบียร์ปรับตัวละเลงศึกสงครามราคา ปีหน้าเดือดพร้อมผุดแผนอย่างมีชั้นเชิงสู้ ไทยเอเชียฯอัดงบเบียร์ 3 ตัว 1,200 ล้านบาท ปรับกลยุทธ์เน้นบีโลว์เดอะไลน์เลี่ยงกฎเหล็ก ปีหน้า ตั้งเป้าโต 20% กวาดรายได้ 9,000 ล้านบาท

นายปัญญา ผ่องธัญญา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการจำกัดการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยให้สามารถจำหน่ายได้ถึง 24.00 น.ในช่องทางร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านค้าปลีกรายย่อย จากเดิมสามารถขายได้ถึง 02.00 น. เชื่อว่าตลาดเบียร์โดยรวมมูลค่า 82,000 ล้านบาท ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะช่องทางจำหน่ายเบียร์ส่วนใหญ่จะเป็นออฟพรีมิสหรือร้านสะดวกซื้อ, ร้านค้าปลีกรายย่อย และโมเดิร์นเทรด 70-80% ส่วนอีก 20-30% เป็นออนพรีมิสหรือตามสถานบันเทิง ผับ บาร์ นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีมาตรการห้ามผู้ประกอบการทำสื่อโฆษณาในเชิงพาณิชย์ทุกรูปแบบ โดยสามารถทำได้เฉพาะ ณ จุดขายเท่านั้น

มาตรการที่ภาครัฐออกมาควบคุม ผสมกับปัจจัยลบด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้น ภัยแล้ง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ขณะที่คลื่นยักษ์สึนามิส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง และปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ ทำให้ปีนี้ตลาดเบียร์ไม่มีอัตราการเติบโต โดยมีมูลค่าเท่ากับปีที่ผ่านมาคือ 82,000 ล้านบาท หรือ 1,625 ล้านลิตร โดยสภาพเบียร์เซกเมนต์พรีเมียร์ คิดเป็นสัดส่วน 9% ของตลาดรวมหดตัว 3% จากการถอนตัวเบียร์ คาร์ลสเบอร์ก และการเติบโตที่ลดลงของแบรนด์อื่น

ขณะที่เบียร์เซกเมนต์สแตนดาร์ดมีการเติบโต 3% จากการเข้ามาเบียร์ไทเกอร์ และบลูไอซ์ ส่วนเซกเมนต์อีโคโนมี่มีการเติบโตคงที่ โดยลีโอเติบโตถึง 35% และมีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของตลาดเบียร์อีโคโนมี่ โดยเบียร์ช้างมีส่วนแบ่งลดลงจาก 75% เหลือเพียง 61%

ส่วนปีหน้าจากปัจจัยด้านดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ยิ่งเพิ่มภาระให้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเงินผ่อน รวมทั้งมาตรของภาครัฐที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้แนวโน้มตลาดเบียร์ปีหน้าไม่มีอัตราการเติบโตโดยยังคงมูลค่า 82,000 ล้านบาท เท่ากับปีนี้ แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้ในปีหน้านี้การแข่งขันจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยแต่ละค่ายจะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ภายใต้กลยุทธ์การแข่งขันที่มีชั้นเชิงมากยิ่งขึ้น รวมถึงการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงเพิ่มขึ้น

ไม่ว่าภาครัฐจะออกมาตรการอย่างไรออกมา ผู้ดื่มก็ยังสามารถปรับตัวได้ตลอด อย่างการจำกัดเวลาจำหน่ายจาก 02.00 น. มาเป็น 24.00 น. ในช่องทางร้านสะดวกซื้อ คนอาจจะซื้อสินค้าตุนไว้ที่บ้านเพิ่มขึ้น หรืออาจหันมาจัดงานปาร์ตี้ที่บ้าน ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ปริมาณการดื่มเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ โดยภาครัฐควรจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าที่จะเป็นปลายเหตุ ด้วยการปลุกจิตสำนึกดื่มอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ไทยเอเชียฯ อัด 1,450 ล้าน ชูแผนปรับตัว

นายปัญญา กล่าวว่า แนวทางในการทำตลาดในปีหน้า บริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 1,200 ล้านบาท เทียบกับปีที่แล้ว 900 ล้านบาท โดยหันมาเน้นการทำบีโลว์เดอะไลน์มากขึ้นจากเดิม 50% เพิ่มเป็น 60% เนื่องจากภาครัฐห้ามทำสื่อโฆษณาในเชิงพาณิชย์ทุกรูปแบบ ส่วนอะโบฟ เดอะไลน์จาก 50% เหลือเป็น 40% พร้อมกันนี้ในปีหน้าบริษัทจะบุกช่องทางออนพรีมิสมากขึ้น เน้น นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ใหม่ 8 รายการ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขาย พร้อมกันนี้ยังได้ทุ่มงบ 250 ล้านบาท ลงทุนพัฒนาระบบและเทคโนโลยีในโรงเบียร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเบียร์เพิ่มขึ้น

เล็งปั้นตัวแทนจำหน่ายขายตรง 3 แบรนด์

สำหรับแผนการตลาดสินค้าในพอร์ตโฟลิโอ 3 ตัว ประกอบด้วย เบียร์เชียร์อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี่ ได้ตั้งตัวแทนจำหน่ายแบบขายตรง โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านต่างๆ กับร้านค้ารายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านค้าขนาดเล็ก เนื่องจากเบียร์ อีโคโนมี่ต้องมีสินค้าให้เพียงพอในร้านค้าเล็กๆ เพราะส่วนใหญ่ ผู้บริโภคจะซื้อไปดื่มที่บ้าน โดยตัวแทนจำหน่ายจะมีรถบรรทุกเบียร์ เชียร์เป็นของตัวเอง รวมถึงมีทีมขายที่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการดูแลเยี่ยมเยียนร้านค้ารายย่อยเป็นประจำ ทั้งนี้ตัวแทนจำหน่ายมีทั้งหมด 30 ราย จากจำนวนทั้งหมด 120 ราย โดยหากรูปแบบดังกล่าวได้รับการตอบรับดีมีแนวโน้มว่าจะนำไปยังใช้กับเบียร์ไฮเนเก้น และไทเกอร์ เพิ่มเติม

ขณะที่ไฮเนเก้น เบียร์ในเซกเมนต์พรีเมียม ปีหน้าใช้งบมากกว่า 50% จากงบตลาดรวม 1,200 ล้านบาท โดยยังคงเน้นภายใต้กลยุทธ์ มิวสิกมาร์เกตติ้ง และเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันกอล์ฟ ส่วนแผนการทำตลาดไทเกอร์เบียร์ในเซกเมนต์ สแตนดาร์ด ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนาในช่วงที่ทำตลาดมา 1 ปี โดยบริษัทจะเน้นการจัดกิจกรรมสปอร์ตมาร์เกตติ้งเป็นหลัก ส่วนเบียร์เชียร์ภายใต้กลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้ง

สำหรับผลประกอบปีหน้านี้บริษัทตั้งเป้าโต 20% หรือมีรายได้ 9,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีนี้เติบโต 7% หรือมีรายได้ 7,500 ล้าน บาท และเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มี 7,000 ล้านบาท โดยวางเป้าหมายไว้ว่าภายใน 3 ปี บริษัทจะขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวมครองส่วนแบ่งอย่างน้อย 15% จากปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 9% ปัจจุบันไฮเนเก้นเป็น ผู้นำตลาดมีส่วนแบ่ง 94% ในเซกเมนต์ พรีเมียม โดยปีหน้าตั้งเป้าโต 5% ส่วนไทเกอร์ 4% ในสแตนดาร์ด ขณะที่เบียร์เชียร์หลังจากที่เปิดตัวลงสู่ตลาดในเดือนตุลาคมมียอดขาย 2 ล้านกระป๋อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us