|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
“ทรูได้เปิดหาพันธมิตรต่างชาติที่จะเข้าร่วมทุนเพิ่มในสัดส่วน 20-25%” ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และทีเอ ออเร้นจ์ กล่าวในงานแถลงข่าวงานหนึ่ง สองสัปดาห์หลังจากข่าวการขายหุ้นยูคอมของผู้ถือหุ้นใหญ่ตระกูลเบญจรงคกุล ให้แก่เทเลนอร์ บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติสัญชาตินอร์เวย์
เหตุผลที่ทรูจำเป็นต้องมองหาพันธมิตรต่างชาติคือ เพื่อรองรับการลงทุนในธุรกิจสื่อสารเพิ่ม หลังจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดให้ใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี ที่ต้องใช้งบลงทุนเครือข่ายสูง
“การที่เราเปิดรับพันธมิตร เพราะเห็นแนวโน้มการให้ไลเซ่นต์ที่ชัดเจนขึ้นของกทช.” ศุภชัยกล่าว หลังจากที่สองสัปดาห์ก่อนปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเรื่องการหาพันธมิตรต่างชาติ โดยบอกแต่เพียงว่าต้องรอให้ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการจากกทช.ก่อน แต่ยังคงจุดยืนที่บริษัทต้องถือหุ้นส่วนใหญ่เพื่อควบคุมการบริหาร
"บทเรียนจากออเร้นจ์ ทำให้เราอยากได้พันธมิตรใหม่ที่ลงทุนจริงจังอย่างน้อย 7-10 ปี” ศุภชัย กล่าว “ส่วนข่าวที่ว่ามีการเจรจากับ เทเลคอม มาเลเซีย นั้น กำลังเจรจาผ่านอินเวสเมนท์แบงก์ตัวแทนของเทเลคอมมาเลเซีย” ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อยุติภายในครึ่งปีแรกของปี 2549 เพื่อให้ทันกับเงื่อนเวลาการขอใบอนุญาตจาก กทช.และการแข่งขันในตลาด
ส่วนพันธมิตรจะเข้าถือหุ้นในทรู คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ ออเร้นจ์ นั้น ขึ้นกับเงื่อนไขประเภทของการลงทุน
“หลักการหาพันธมิตร ถ้าสนใจบริการ triple play ก็จะมาลงทุนในทรู แต่ถ้าสนใจบริการโทรศัพท์มือถือก็จะมาลงในออเร้นจ์” ศุภชัยกล่าวถึงหลักการ
พันธมิตรที่เหมาะสมของทรูควรเป็นใคร?
ปัจจัยของความสำเร็จในธุรกิจมือถือในยุคต่อไป (3G) คืออะไร?
หากไม่หาพันธมิตรต่างชาติ ธุรกิจโทรคมนาคมสัญชาติไทยจะอยู่รอดในสภาพการแข่งขันได้หรือเปล่า?
บทวิเคราะห์
หลังจากเบญจรงคกุลทิ้งยูคอมให้เทเลนอร์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในหมู่ผู้ประกอบการเทเลคอมเอกชนอีก 2 รายที่เหลือ ว่าจะอยู่อย่างไรในเมื่อธุรกิจเทเลคอมไทยกลายเป็นธุรกิจระดับโลกไปแล้ว ผู้ประกอบการรายใดไม่แข็งแกร่งพอ ก็อาจถูกเตะพ้นวงโคจรได้
การทิ้งหุ้นยูคอมของเบญจรงคกุลเป็นการบอกให้ทราบว่าเทเลคอมไทยได้ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในยูคอมได้ไม่นานจะมีการวิเคราะห์และถกเถียงถึงอนาคตเทเลคอมอย่างหนาหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกเข้าสู่ตลาดไทยของกลุ่มเทเลคอมเอเชียที่เตรียมรุกเข้าสู่ตลาดไทยอีกคำรบหนึ่ง
ยกกรณีเอไอเอสไว้ไม่กล่าวในที่นี้ เพราะเดี๋ยวเรื่องจะยาวเกินไป เนื่องจากเอไอเอสมีพันธมิตรต่างชาติถือหุ้นอยู่แล้วคือสิงคโปร์ เทเลคอม
โอเปอเรเตอร์ที่จำเป็นต้องหาพันธมิตรโดยด่วนคือทรู
วันแถลงข่าวของ บุญชัยบอกว่าเจ้าของบริษัทคู่แข่งขันของแทคคือพานทองแท้และซีพี ซึ่งบอกเป็นนัยๆว่ายิ่งใหญ่มาก ยากจะหาใครเทียมทานในสยามประเทศ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว ซีพีก็ไม่ได้แข็งแกร่งเฉกเช่นอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องประสบวิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการขยายตัวมากจนเกินไป จนต้องประนอมหนี้จำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง
ทรูมีความได้เปรียบที่มีทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและมือถืออยู่ในบริษัทเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากโอเปอเรเตอร์ค่ายอื่นๆที่มีเพียงมือแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น กระนั้นก็ตามการมีโทรพื้นฐานอยู่ไม่ได้ถือเป็นความได้เปรียบมากมายเฉกเช่นอดีตอีกต่อไปแล้ว เพราะโทรศัพท์พื้นฐานไม่ได้ทำกำไรมากอย่างที่คาดไว้ ยกเว้นเสียแต่ว่าจะใช้เครือข่ายนั้นขยายไปสู่ธุรกิจอื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ซึ่งกำลังทำอยู่
หัวใจสำคัญที่ต้องเร่งหาพันธมิตรมาเสริมด่วนคือออเร้นจ์ซึ่งต้องเปลี่ยนไปเป็นทรูในอีกสองหรือสามปีข้างหน้าเมื่อหมดวาระที่ออเร้นจ์ให้ใช้ชื่อแล้ว ออเร้นจ์ในธุรกิจโอเปอเรเตอร์อยู่ในฐานะล่อแหลม ขนาดยังไม่เข้าสู่ระบบ 3 G เครือข่ายก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ยังห่างจากแทคอีกหลายขุม เพราะการขยายเครือข่ายจำเป็นต้องอาศัยเงินจำนวนมหาศาล ขณะที่ออเร้นจ์ทิ้งหุ้นในราคาเพียง 1 บาทเท่านั้น ส่งผลให้ออเร้นจ์กลายเป็น Niche Operator ไปโดยปริยาย
สถานการณ์ที่แทคมีเทเลนอร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หมายความว่าพร้อมจะกระโจนเข้าสู่ระบบ 3 G ได้ทันทีที่ใบอนุญาตออก อีกทั้งการมีรัฐบาลนอร์เวย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เท่ากับว่ามีอำนาจการต่อรองกับรัฐบาลไทยสูง ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่เบญจรงคกุลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
หากทรูยังไม่สามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ในเร็ววัน The Future isn’t Bright อย่างแน่นอน
กว่าจะมาเป็น TRUE
TRUE เป็นทั้งชื่อแบรนด์ และชื่อบริษัทของกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในเครือซีพี ก่อนหน้าปี 2547 ธุรกิจโทรคมนาคมในเครือเจริญโภคภัณฑ์ยังไม่ได้ถูกจัดระเบียบให้อยู่ในชื่อ TRUE หากแต่อยู่ในชื่อของ Telecom Asia (TA) และอื่น ๆ ชื่อทีเอนั้นเป็นที่รู้จักการนานกว่าสิบปีแล้ว นับแต่ซีพีกระโจนเข้าสู่ธุรกิจสื่อสาร ผ่านการประมูลสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐาน
หลังจากได้ครอบครองตลาดโทรศัพท์บ้านและสำนักงาน (ที่เรียกว่า Land Line หรือ Fixed Line) กลุ่มซีพีก็ต้องการบุกเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซีพีได้เจรจาข้อซื้อบริษัท Wireless Communication Services (WCS) จากแทค (ของตระกูลเบญจรงคกุลในขณะนั้น) เพื่อให้ได้มาซึ่งคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทรัพยากรสำคัญในการดำเนินธุรกิจผู้ใหบริการโทรศัพท์มือถือ
กลุ่มซีพีได้หาพันธมิตรต่างชาติอย่าง ”ออเร้นจ์” ยักษ์มือถือจากประเทศอังกฤษ ในเครือ France Telecom ทีเอออเร้นจ์ ลงสู่ตลาดเป็นผู้เล่นรายที่สาม ในปลายปี 2544 ก่อนที่สามปีต่อมา (2547) ออเร้นจ์จะขายหุ้นคืนในราคาที่ต่ำมาก ถอยออกจากตลาดไทยอย่างไม่เป็นท่า
แบรนด์มือถือออเร้นจ์นั้นมีอายุจำกัด ใช้ได้อีกเพียง 3 ปี หลังจากนั้นแบรนด์มือถือจะเปลี่ยนมาเป็น TRUE ทิศทางของ TRUE มุ่งหวังให้เกิดการสร้างพลังผนึก (Synergy) ระหว่างธุรกิจต่าง ๆ ในเครือตั้งแต่ โทรศัพท์บ้าน, โทรศัพท์มือถือ, อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์, เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ
|
|
 |
|
|