|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เม็ดเงินโดยรวมของตลาดโลจิสติกส์ในประเทศไทยไม่มีใครทราบได้ว่าสูงเท่าไรแต่อัตราการเติบโตผู้ประกอบการทุกฝ่ายต่างยอมรับว่ามีมูลค่ารวมสูงถึงร้อยละ 22 ของจีดีพีทั้งประเทศ นั่นแสดงว่าธุรกิจการให้บริการขนส่งทางอากาศยังคงเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่ผู้ประกอบการทุกฝ่ายต่างแย่งชิงให้ได้มาครอบครองมากที่สุด
มาตรฐานและประสิทธิภาพจึงเป็นกลยุทธ์ที่หยิบนำมาใช้ เพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าได้ถูกต้องและรวดเร็ว ในขณะที่กลุ่มผู้ทำธุรกิจทางลอจิสติกส์ อย่าง DHL ,FedX, ทีเอ็นที ฯลฯ ต่างประกาศความเป็นผู้นำตลาดกันทั้งหมดพร้อมเร่งหากลยุทธ์ชิงความเป็นหนึ่งในตลาดนี้เช่นกัน
การเปิดมหาวิทยาลัยสอนบริหารจัดการด้านลอจิสติกส์ ของ ดีเอชแอล แอลเอ็มยู ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เพื่อฝึกอบรมพนักงานและลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจขนส่งทางอากาศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นการส่งสัญญาณถึงการแข่งขันในอนาคตอันใกล้ที่จะทวีความรุนแรงและทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีการปรับกลยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุด บริษัททีเอ็นที ได้ฉีกหนีการแข่งขันด้วยการเข้าไปแทคทีมกับไปรษณีย์ของญี่ปุ่นร่วมกันทำธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งทางทีเอ็นทีเชื่อว่าการรวมตัวครั้งนี้จะเกิดความแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะทีเอ็นทีเองก็มีความเชี่ยวชาญและเครือข่ายการขนส่งในระดับนานาชาติ ส่วนทางไปรษณีย์ญี่ปุ่นเองก็มีชื่อเสียงและเครือข่ายที่ครอบคลุมในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว
“เราเชื่อว่าการรวมตัวกับทีเอ็นทีครั้งนี้ จะทำให้ไปรษณีย์ญี่ปุ่นก้าวขึ้นสู่ธุรกิจระดับนานาชาติได้อย่างเต็มตัว” มร. มาซาฮารุ อิกูตะ ประธานไปรษณีย์ญี่ปุ่นพูดถึงการร่วมธุรกิจกับทีเอ็นที
เมื่อบริษัทสำนักงานใหญ่ของทีเอ็นที ออกนโยบายที่จะร่วมธุรกิจลอจิสติกส์กับไปรษณีย์ญี่ปุ่น บวกกับการที่ไทยได้ร่วมลงนามทำเขตเสรีทางการค้าหรือเอฟทีเอ (FTA) กับญี่ปุ่น ทำให้บริษัททีเอ็นที (ประเทศไทย) มีโอกาสทางการตลาดสูงมาก เพราะสินค้าที่จะส่งออกไปญี่ปุ่นมีจำนวนสูงขึ้น ในขณะเดียวสินค้านำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นก็ต้องมีปริมาณสูงขึ้นเช่นกัน
การร่วมมือกับไปรษณีย์ญี่ปุ่นครั้งนี้ ถือว่าทีเอ็นทีก้าวไปในตลาดการขนส่งที่ประเทศญี่ปุ่น ได้เปรียบกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ เพราะทางไปรษณีย์ญี่ปุ่นเองมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งประเทศ และทางทีเอ็นทีเองไม่จำเป็นต้องเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมของคนญี่ปุ่นใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้การจับมือกับไปรษณีย์ญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังได้สายการบินนิปปอนแอร์ (ANA) ซึ่งเป็นสายการบินที่มีความเชี่ยวชาญในการขนส่งสินค้าทางอากาศ และยังเป็นพันธมิตรของไปรษณีย์ญี่ปุ่นมาด้วย
ในขณะที่การขนส่งภายในประเทศของบริษัททีเอ็นที ก็ต้องแข่งกับไปรษณีย์ไทย ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งประเทศมากกว่า นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติที่เป็นเจ้าตลาดโลจิสติกส์อย่าง บริษัท DHL, FedX ทำให้ทีเอ็นทีต้องหันไปเพิ่มศักยภาพของบุคลากร เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ บวกกับพยายามพัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่ไปรษณีย์ไทยและคู่แข่งอื่น ๆ ให้ไม่ได้
“ลูกค้าของเราส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มไฮเอน (High End) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับคุณภาพของการบริการมากกว่า และสินค้าที่เราส่งจะเป็นพวกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งต้องการคุณภาพในการส่งสูงมาก และในอนาคตอันใกล้นี้ เราก็จะเปิดบริการส่งสินค้าให้ครบทุกเขตไปรษณีย์ด้วย” มร.วิรเฟรด คิสบี้ กรรมการผู้จัดการ ทีเอ็นที (ประเทศไทย) พูดถึงการแข่งขันกับไปรษณีย์ไทย
สำหรับสัดส่วนการขนส่งสินค้าภายในประเทศ จะเน้นไปที่ ชิ้นส่วนประกอบยานยนตร์ (Auto motive) อุปกรณ์เทเลคอมมิวนิเคชั่น (Tele Communication) และสินค้าไอที โดยเฉพาะชิ้นส่วนประกอบยานตร์ มีสัดส่วนมากที่สุดคือ 50% และคาดว่าหลังจากเปิดเอฟทีเอกับญี่ปุ่นแล้ว สัดส่วนของสินค้าพวกนี้จะมีเพิ่มขึ้น
สำหรับตลาดลอจิสติกส์ในประเทศไทย เฉพาะบริษัททีเอ็นที ถือว่ากำลังมาแรงมากและมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เพราะอย่างทีเอ็นทีในประเทศสหรัฐอเมริกาคิดเป็น 8% ของรายได้ทีเอ็นทีทั้งหมด ในขณะที่ประเทศไทยและเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงกว่าสหรัฐอเมริกา เพราะการมีโกดังเก็บสินค้าที่มาก มีคาร์โก้ที่ซ้ำซ้อน หรือแม้แต่การมีระบบการขนส่งมวลชนที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาบริษัทลอจิสติกส์ต่อไป ซึ่งตรงข้ามกับปริมาณความต้องการที่ใช้บริษัทลอจิสติกส์ที่น้อยกว่า ในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว
|
|
|
|
|