|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
น้ำมันพ่นพิษ ต้นทุนสูง สร้างอุปสรรคการแข่งขันในตลาดส่งออก ส่งผลปี 2549 ธุรกิจอาหารแปรูปทะเลแช่แข็ง หันหัวรบมาสร้างแบรนด์ เข้ามาโฟกัสตลาดในประเทศ
แม้จะก้าวขึ้นสู่ปีที่ 5 ที่พีเอฟพี ได้เริ่มเข้ามาบุกเบิกทำตลาดธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งซูริมิ ( ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาบด เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ปลาเส้น เนื้อปลาเทียม เนื้อกุ้งเทียม เนื้อปูเทียมหรือปูอัด ) ภายในประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2543 ที่หันมาทำตลาดซูริมิ เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคในตลาดระดับบนลงไปถึงระดับล่าง โดยวางระบบการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และรถเข็นเสียบไม้ ในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลทำให้พีเอฟ เป็นผู้นำตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด 50%
จากนั้นจึงได้พัฒนาช่องทางการกระจายสินค้าทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เพื่อวางจำหน่ายสินค้าในเครือทั้งหมดกว่า 16 รายการ ทั้งอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานมาเป็นลักษณะวางตู้แช่ในย่านชุมชน เช่นคอนโด,ออฟฟิค,ยี่ปั๊ว และซาปั๊ว กว่า 1,000 ตู้
ขณะเดียวกันในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา ยังได้ขยายฐานธุรกิจอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทาน โดยลงมาเล่นในตลาดอาหารกล่องพร้อมรับประทานที่ปรุงจากผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อปลาทะเล และข้าวหอมมะลิเกรดเอสลิมเมอร์ 4 เมนู ราคา 40 บาท ภายใต้แบรนด์ "ข้าวกล่องทัพพี" และเมนูพิเศษ "สุกี้ซีฟู๊ดเอ็กซ์เพรส" เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนให้เพิ่มขึ้น
การปรับแนวทางของ พีเอฟพี ที่หันมาให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ในประเทศ นั่นก็เพราะมองเห็นโอกาสจากแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยที่เปลี่ยนไปนิยมรับประทานสำเร็จรูปแช่แข็งมากขึ้น เพราะอาหารสดเริ่มมีจำนวนลดลง ประกอบกับยุคน้ำมันแพงทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมมารับประทานอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานมากขึ้น
ซึ่งยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจใหม่ โดยใช้ฐานเดิมจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งต่อยอดมาสู่อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานที่มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท ก็เป็นโมเดลธุรกิจที่ผู้ประกอบการหลายค่ายนำมาใช้เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับบริษัท เห็นได้ว่าในระยะหลังค่ายยักษ์ในธุรกิจอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งอย่างพรานทะเล สุรพลฟู้ดส์ ก็พลิกบทบาทหันมาสร้างแบรนด์เพื่อทำตลาดในประเทศ รวมทั้งลงมาเล่นในตลาดอาหารกล่องพร้อมรับประทานอาหารมากขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอีกประการเพราะต้องการขจัดอุปสรรคการทำตลาดที่กลุ่มผู้บริโภคไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้ เพราะการสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแข่งขันตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปีนั้น พีเอฟพี จะให้ความสำคัญกับตลาดส่งออกมากกว่าการทำตลาดในประเทศ แต่ระยะในทุกๆปีจะมีการปรับเป้าหมายสัดส่วนการขายในประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี
จากปี 2541 มีสัดส่วนการส่งออกไปขายในตลาดใหญ่ที่ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และออสเตรเลีย 75% สัดส่วนการขายในประเทศ 25% และในปี 2547 จากยอดขาย 2,400 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ส่งออกต่างประเทศ 70% และในประเทศ 30% และในปัจจุบันก็มีการปรับสัดส่วนรายได้จากการจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งในประเทศเพิ่มขึ้น เป็นสัดส่วน 40% ส่งออก 60%
ทว่า การปรับนโยบายเข้ามาทำตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นของพีเอฟพีในปีหน้านั้น จะยิ่งมีความสำคัญทวีคูณมากขึ้น เนื่องจากมีรายงานบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่กล่าวถึงสถานการณ์การแข่งขันของตลาดอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งในประเทศจะมีความรุนแรงขึ้น และจะมีคู่แข่งรายใหม่ แห่กันเข้ามาจับจองพื้นที่ทำตลาดในประเทศ ซึ่งจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตซูริมิส่งออกที่พบกับอุปสรรคจากราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนราคาปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่งผลถึงปัญหาด้านการทำตลาดที่ไม่สามารถแข่งขันได้ แม้ว่าในตลาดสหภาพยุโรปนั้นไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง และได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกซูริมิและผลิตภัณฑ์อันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม
นั่นก็เพราะว่าประเทศผู้นำเข้าเริ่มหันไปซื้อซูริมิและผลิตภัณฑ์จากประเทศคู่แข่งเช่นประเทศเกาหลีใต้ จีน อินเดีย เวียดนาม และพม่า เพราะมีราคาที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ก็ยังผู้บริโภคในประเทศบางกลุ่มยังติดยึดกับยี่ห้อสินค้าจากต่างประเทศ ทำให้การประชาสัมพันธ์ให้คนไทยยอมรับในซูริมิที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งจะสอดคล้องกับรสนิยมคนไทยที่หันมาบริโภคอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น ดังนั้นการหันเหแนวทางเข้ามาจับตลาดคนไทย ด้วยการสร้างการรับรู้ให้หันมาบริโภคคซูริมิ ซึ่งเป็นทางเลือก และวิถีทางรอดผ่าทางตันของการส่งออกได้อย่างดี
“นอกจากนั้นสถานการณ์ไข้หวัดนกในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมไปถึงการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ใหญ่ เช่น เชื้อแอนแทรกซ์ จะทำให้ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมมารับประทานอาหารทะเลและปลา มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ “พีเอฟพี” ในการเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค” พริษฐ์ อนุกูลธนาการ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ เทรดดิ้ง จำกัด (พีเอฟพี) กล่าวอีกว่า
ในปัจจุบันลูกค้าหลักของพีเอฟพีประมาณ 80% ของยอดขายภายในประเทศเป็นตลาดล่างซึ่ง การแข่งขันในตลาดล่างส่วนใหญ่จะแข่งขันกันทางด้านราคา ดังนั้นการสร้างแบรนด์และพัฒนาปรับเปลี่ยนแพ็เก็จจิ้งให้ดูทันสมัยก็เป็นแผนรุกอีกก้าวที่พีเอฟจะวางหมากเพื่อขยายตลาดขึ้นไปเล่นตลาดบน
สำหรับแผนการตลาดในปี 2549 ได้เตรียมงบการตลาดไว้เพื่อสู้ศึกที่คาดการณ์กันว่าหลายๆค่ายจะหันมาเล่นตลาดในประเทศไว้ถึง 150 ล้านบาท โดยจะมุ่งเน้นและการทำกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และสร้างให้เป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจผู้บริโภค และกิจกรรมส่งเสริมการขายกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในทุกช่องทาง เพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงที่มาและตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ “พีเอฟพี” ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากทะเล
อีกทั้งการขยายตลาดกลุ่มโรงแรมต่างๆ รวมถึงตลาดล่างและโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ อาทิ ร้านแฟมิลี่มาร์ท ทุกสาขา ร้าน 108 ช็อป และกลยุทธ์สินค้าในเรื่องราคาและขนาดที่มีเหมาะสมในช่องทางการจัดจำหน่ายให้ถึงมือผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นคือกระจายสินค้าในช่องทางตู้แช่กว่า 500 ตู้ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และคาดว่าจะสามารถขยายโครงการนี้ให้ครบ 1,500 ตู้ในปีหน้า ซึ่งจากการขยายช่องทางการจำหน่ายจะทำให้ พีเอฟพี มีฐานลูกค้าครอบคลุมทั้งตลาดพรีเมี่ยมและตลาดล่าง
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 ของปีนี้มีมูลค่า 1.7 พันล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ 2 พันล้านบาท ปัจจุบันมีกำลังการผลิตทั้งสิ้นมากกว่า 1 หมื่นตันต่อปี โดยคาดว่าหลังจากดำเนินการตามแผนที่วางไว้แล้ว จะทำให้ยอดขายของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 15% ในปีหน้า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กล่าว
|
|
|
|
|