Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
เปลือกและพันธนาการของสังคม             
โดย ธีรัส บุญ-หลง
 





เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ฟังรายการตอบปัญหาทางวิทยุของคุณหมอท่านหนึ่ง ในรายการ นั้นได้มีท่านผู้ฟังสุภาพสตรีวัยทำงานได้โทรมาปรึกษาว่าแฟนมีคนใหม่จะทำยังไงดี "หนูไม่อยาก เสียเขาไปค่ะ เขาเป็นคนที่เพอร์เฟกต์มาก เขาทั้งหล่อแล้วก็รวยมากด้วยค่ะ สถานภาพทางสังคมเขาก็สูงกว่าหนูทุกอย่าง"

หล่อ รวย สถาน ภาพทางสังคมหรือแม้แต่เก่งก็ล้วนแต่เป็นเปลือกนอกทั้งนั้นแหละครับ แต่รู้สึกว่าสมัยนี้คนจะให้ความสำคัญ กับเปลือกมากขึ้นเรื่อยๆ จนลืมมองตัวตนแก่นแท้ที่ แท้จริงไป

เรากำลังอยู่ในสังคมที่ฉาบฉวยขึ้นทุกวัน สังคมที่บูชาคนมีเงิน คนเก่ง คนประสบความสำเร็จ จนลืมถามว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนดีหรือไม่? พวกเขาประสบความสำเร็จโดยอยู่บนพื้นฐานของความทุกข์ของผู้อื่นหรือเปล่า?

เปลือกนั้นสำคัญไฉน?

เปลือกเป็นสิ่งแรกที่คนมองเห็น เป็น first impression

เปลือกเป็นเครื่องป้องกันตัวเอง
เปลือกมีกี่ชนิดและเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ผมขอแบ่งเปลือกเป็นสามประเภท

1) เปลือกที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ตัวอย่างของเปลือกชนิดนี้คือ หน้าตาและสถานภาพทางสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้ เกิดมาหน้าตาดีหรือเกิดที่สลัม ก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ มันติดตัวมาตั้งแต่เกิด

2) เปลือกที่มนุษย์ทำให้เกิดมาทีหลัง เปลือกอย่างที่สองนี้ซับซ้อนแล้วก็ละเอียดอ่อนกว่าประเภทแรก เปลือกอย่างที่สองโดนกำหนดให้เป็นไปโดยสิ่งที่มองไม่เห็นที่เรียกว่า "กรอบของสังคม"

กรอบของสังคมเป็นตัวผลักดันให้มนุษย์สร้างเปลือกขึ้นมา กรอบของสังคมโดนกำหนดโดยสิ่งที่เรียกว่า ค่านิยมของสังคม โดยมนุษย์หมู่มากของสังคมเป็นคนสร้างและยอมรับมันขึ้นมา

อ่านดูแล้วอาจจะงงนะครับ ผมจะยกตัวอย่างให้ดูก็แล้วกัน

สมัยนี้สมัย Capitalist ครองเมือง เป็นสมัยที่มีการแข่งขันกันสูง เป็นสมัยที่มีผู้ชนะแล้วก็ผู้แพ้ ทุกคนต้องแก่งแย่งมาให้ได้ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (Need) และสิ่งที่ต้องการนอกเหนือไปจากจำเป็น (Want) ทั้ง Need และ Want ควบคุมโดยตัวแปร คือ เงิน (Money) คนที่มีเงินประทังชีวิตได้อยู่แล้ว ต้องการ ในสิ่งที่ Want (เช่น มือถือ รถยนต์ และอาหารแพงๆ) จึงต้องพยายามผลักดันตัวเองให้มีเงินร่ำรวย ถ้าได้มาในทางที่ดี เช่น เรียนเก่งๆ ทำงานหนักโดยสุจริตก็ดีไป ถ้าได้มาทางการโกง คอร์รัปชันก็เป็นผลเสียของสังคม ในขณะเดียวกัน บางคนอาจมีชีวิตที่สุขสบาย มีเงินเหลือ ใช้อยู่แล้ว แต่ต้องการสถานภาพทางสังคมที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการการยอมรับ (ค่านิยมของสังคม) และ ปิดปมของตัวเอง (ที่เกิดมาไม่เป็นที่ยอมรับและรู้สึกว่าเป็นจุดด้อย ซึ่งก็เนื่องมาจากค่านิยมของสังคมอีกนั่นแหละ) เพื่อที่จะได้อยู่ในที่ที่ตนอยากอยู่ในกรอบของสังคม คนเหล่านี้ก็พยายามจะสร้างเปลือกใหม่ เช่น ออก งานสังคม ทำสังคมสงเคราะห์ หรือแม้แต่การแต่งตัวเว่อร์ๆ ให้เป็นจุดเด่น มาเติมในจุดที่ขาด เพื่อที่จะอยู่ในกรอบของสังคมอย่างที่ตนพอใจ เพื่อให้รู้สึกว่าตัวเอง มีค่าพอที่จะมีตัวตนอยู่

3) เปลือกที่สร้างช่องว่างระหว่างมนุษย์ เปลือกอย่างที่สามนี้ ผมให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ การที่สังคมแก่งแย่งกันมากขึ้นก็ทำให้คนเรา ที่ตอนเด็กๆ เปิดเผย จริงใจ ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พอ เติบโตขึ้นมา รู้ความจริงมากขึ้น ก็กลัวมากขึ้น กลัวเจ็บ กลัวทุกสิ่งไม่เป็นไปอย่างที่คิด จึงสร้างเปลือกปิดบังปกปิด ตัวตนที่แท้จริง (เข้าทำนองสงวนทีท่า บางทีก็ถึงกับใส่หน้ากากเสแสร้ง) พอมีเปลือกมากขึ้นเรื่อยๆ เปลือกก็หนา และด้านมากขึ้น จนออกมาจากเปลือกไม่ได้ ไม่กล้าออก มาเพราะรู้สึกปลอดภัยอยู่ในนั้นอยู่แล้ว บางทีทำให้ถึง กับลืมตัวตนที่แท้จริงไปจนเกิด communication problem

ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของสังคมไทย เด็กดีคือเด็ก ที่ไม่เที่ยว ตั้งใจเรียน เด็กบางคนกลัวว่าจะไม่เป็นอย่างที่ พ่อแม่หวังหรือรู้ว่าเป็นไม่ได้ พออยู่บ้านก็เรียบร้อย (เปลือก) แต่ก็รู้สึกว่าไม่เป็นตัวของตัวเอง ปกปิดความรู้สึกที่แท้จริง ระหว่างตัวเองกับพ่อแม่จนกลายเป็นกำแพงที่มองไม่เห็น ที่หนาขึ้นเรื่อยๆ พออยู่ข้างนอกก็มีอีกเปลือกหนึ่งคือชอบเที่ยว ทั้งๆ ที่จริงๆ ก็ไม่ได้ชอบเที่ยว แต่ต้องการอยู่ กับเพื่อน ต้องการเข้าไปอยู่ในกรอบของสังคมนั้นๆ เป็น ที่ยอมรับ จะได้ไม่เหงา ให้รู้ว่าตัวเองยังมีค่า มีตัวตนอยู่ เมื่อมีอะไรไม่สบายใจก็จะไม่ปรึกษาพ่อแม่ พ่อแม่ก็ไม่มีวันที่จะเข้าใจ เพราะลูกไม่เคยบอกอะไรเลย ไม่เคยพูดอะไรเลย ไม่เคยเล่าอะไรลึกๆ ให้ฟังเลยสักนิด

หลายๆ คนพอเปิดเผยความจริง ความรู้สึกให้คนที่เชื่อถือรับฟังแล้วเกิดผิดหวังเพราะคนที่เชื่อถือทรยศต่อความรู้สึกของกันและกัน จึงถึงกับหลบอยู่แต่ในเปลือก กลัวความจริงอันเจ็บปวด กลัวบาดแผล จึงสร้างโลกส่วนตัวและก็อยู่ในสังคมโดยเปลือก พอ กลับมาบ้านค่อยมาอยู่ในโลกส่วนตัวแห่งความฝัน เป็นที่หลบมุม คนเราทุกวันนี้หมดความหวังในเพื่อนมนุษย์ที่จะเชื่อใจกันและกัน จึงอำพรางสภาพที่แท้จริงอยู่ในเปลือก มนุษย์จึงมีความสุขน้อยลง เห็นแก่ตัวกันมากขึ้น ทำเพื่อตัวเองมากขึ้นเพราะหมดความหวังที่จะพึ่งมนุษย์ด้วยกัน

การมีเปลือกทำให้การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อจรรโลงสังคมมีน้อยลง สังคมฉาบฉวย เด็กสาวหลายคนขายตัวทั้งที่มีเงินใช้เพื่อสิ่งของที่ฟุ่มเฟือย โดยสิ่งของที่ฟุ่มเฟือยซึ่งเป็นวัตถุนั้นเป็นตัวแทนจากสิ่งที่ไม่ได้รับจากมนุษย์ด้วยกัน จึงต้องไปพึ่งวัตถุมากขึ้น จนถึงกับลดค่าความเป็นคนของตัวเองลงไป ทุกคนเป็นปัจเจกชนมากขึ้นจึงเชื่อกันน้อยลง แต่เชื่อตัวเองมากขึ้น การโกงกินเพื่อตัวเองจึงมีมากขึ้น ความฝันของมนุษย์ก็น้อยลงด้วย ทุกคนทำเพื่ออยู่รอดในกรอบของสังคม เพื่อค่านิยมของสังคมที่เป็นพันธนาการมนุษย์ เมื่อก่อนตอนเรียนจบมาไฟแรงกันทุกคน อยากให้โลกนี้ดีขึ้น ต่อมาเมื่อเจอความเป็นจริง เจ็บจากสังคมจึงมองแคบเข้ามาเรื่อยๆ จน คิดถึงแต่ครอบครัวของตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้เศรษฐกิจที่เลวร้าย ทำให้คนเราไฟมอดลงตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ความฝันไม่มีเนื่องจากเลือกไม่ได้ ต้องทำอะไรก็ได้เพื่อประทังชีวิต จึงต้องเข้าไปอยู่ใน system ของคนทำงานที่ไม่มีโอกาสได้คิด ได้แต่เป็นฟันเฟืองเพื่อความก้าวหน้าของตัวเองในกรอบของสังคม โดย ไม่สงสัยหรือไม่มีเวลาสงสัยว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตัวเองต้องการจริงๆ หรือเปล่า โดน suck into the system จนไม่สามารถหลุดพ้นจากพันธนาการของสังคมได้ จึงต้องสร้างเปลือกปกป้องตนเองแล้วพยายามใช้ชีวิต อยู่ในกรอบของสังคม ลืมตัวตนที่แท้จริงของตนเอง

เราต้องหาทางให้ความจริงอยู่ร่วมกับความฝันได้ อย่าให้ความจริงคือจุดจบของความฝัน ซึ่งจะเริ่มได้โดยการสร้างเปลือกให้น้อยลง เปิดเผยกับบุคคลใกล้ชิดให้มากขึ้น พยายามเข้าใจกันและกันและก็มีความหวัง เชื่อในความดีของเพื่อนมนุษย์ เมื่อ สิ่งนั้นเกิดขึ้น Standard ของสังคมก็จะสูงขึ้น ทุกคนก็จะ care กันมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us