|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ขุนคลัง "ทนง พิทยะ" ไม่อนุมัติแผนการปรับลดราคาพาร์ธนาคารทหารไทยเหลือหุ้นละ 3 บาท อ้างผลงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นลดราคาพาร์เพื่อนำไปล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 5 หมื่นล้านบาท พร้อมยืนยันยึดหลักแก้ปัญหาตามมาตรการ 14 ส.ค. 42 อย่างเคร่งครัด แนะสถาบันการเงินไทยเร่งปรับตัวเพื่อรับการแข่งขันที่รุนแรงจากการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB ไม่เห็นด้วยกับแผนการปรับลดตามมูลค่าที่ตรา ไว้(ราคาพาร์) จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เหลือ 3 บาท เพื่อนำไปล้างขาดทุน สะสมที่มีอยู่กว่า 50,000 ล้านบาท เพราะเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ เนื่องจากธนาคารมีกำไรและผลประกอบการเริ่มดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ขาดทุนสะสมของธนาคารลดลงไปได้ในที่สุด รวมทั้งการที่มีขาดทุนสะสมอยู่ยังมีข้อดีคือได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้
"คลังยืนยันว่าจะดูแลและแก้ไขปัญหา สถาบันการเงินตามระเบียบมาตรการฟื้นฟูสถาบัน การเงิน 14 ส.ค. 42 อย่างเคร่งครัด และใน ฐานะที่เป็นรมว.คลัง ก็จะยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก"
นายทนง กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่เคยได้รับข้อเสนอจากทาง TMB ให้ลดราคาพาร์ลงเหลือ 3 บาทจาก 10 บาทเพื่อล้างขาดทุนสะสมที่มี อยู่ราว 5 หมื่นล้านบาท ที่มีมาตั้งแต่ก่อนที่ธนาคารจะเข้าโครงการรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1
พร้อมกันนี้ นายทนงได้เสนอแนะให้สถาบันการเงินของไทยเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งการป้องกันความเสี่ยง การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็ว และได้รับแรงผลักดันให้เปิดเสรีทางการเงิน ดังนั้น หากต้องการให้ระบบการเงินของประเทศจะมีเสถียรภาพได้ ต้องขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง
"การพัฒนาในหลายด้านของสถาบันการเงินจะต้องมีพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความเข้มแข็งเพื่อแข่งขันกับธนาคารอื่น โดยเชื่อมั่นว่าใน 3 ปีข้างหน้าสถาบันการเงินของไทยจะไม่น้อยหน้าธนาคารต่างประเทศ เพราะการกำหนด มาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามมาตรฐาน บาเซิล 2 จะควบคุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น ทั้งเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การดูแล หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สำหรับการแก้ไขกฎหมายให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยในสัดส่วนที่มากขึ้นนั้นยังไม่มีความจำเป็น"
|
|
 |
|
|