|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เปิดแผนบางกอกแอร์เวย์ส 5 ปี สยายปีกเพิ่มเที่ยวบินและเส้นทางบินทั้งในภูมิภาคเอเชีย และระยะไกลอย่างยุโรป เผยเตรียมสั่งนำเข้าเครื่องบินโดยสารรวม 10 ลำในปีหน้า และปี 2553 ขณะที่พร้อมลงทุนสร้างงวงเชื่อมที่สนามบินสุวรรณภูมิ หวังเพิ่มรายได้จากการบริการ คาดรวมทุกโครงการใช้เงินรวมไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท เผย 2 ปีข้างหน้ามีเส้นทางบินในเอเชียแซงหน้าพี่ใหญ่บินไทย
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินกรุงเทพ ดำเนินธุรกิจสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผย ว่า กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาแผนลงทุนระยะ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2549-2553 ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการแข่งขันในธุรกิจการบิน และการปรับ ลดต้นทุนในการบริหารจัดการในยุคน้ำมันแพง
เบื้องต้นมีแผนการลงทุนใน 2 ส่วนหลัก รวมมูลค่าราว 25,000 ล้านบาท ได้แก่ 1. การก่อสร้างงวงเชื่อมทางเดินระหว่างอาคารจอด กับเครื่องบิน โดยจะทำที่สนามบินสุวรรณภูมิใช้เงินลงทุน 1,000 ล้าน บาท เริ่มดำเนินการในปีหน้า ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานงานด้านบริการ ในสนามบินสุวรรณภูมิ และ 2. การสั่งเครื่องบินใหม่เข้ามาในปีหน้า 4 ลำ เป็นเครื่องขนาดกลาง 2 ลำ และเครื่องขนาดเล็ก 2 ลำ เพื่อรองรับการขยายเส้นทางการบินทั้งในและต่างประเทศ และแผนในปี 2553 จะนำเข้าเครื่องบินอีก 6 ลำ กำลังอยู่ระหว่างเจรจาว่าจะใช้เครื่อง แอร์บัส รุ่น 350 หรือโบอิ้ง รุ่น 787 คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณปลายเดือนนี้
ทั้งนี้ การลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การบริการภาคพื้นดิน ขนส่งทาง อากาศ และการบริการด้านอาหาร โดยจะลงทุนให้เสร็จภายใน 2 ปี ตั้งเป้ามีส่วนแบ่งทางการตลาด 20% ของมูลค่าการบริการทั้งหมดในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งคาดว่าการบินไทยมีส่วนแบ่งที่ 50% และสายการบินอื่นๆ 30%
"การนำเข้าเครื่องบินของบางกอกแอร์เวย์ส จะทำในรูปแบบ leasing option to buy คือ เป็นเงื่อนไขคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ แต่มีเงื่อนไขพิเศษ คือ ถ้าพอใจก็จะซื้อขาด แต่ถ้าไม่พอใจก็คืนเครื่องกลับไป เมื่อหมดสัญญา ซึ่งบริษัทอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สำหรับเครื่องที่จะสั่งเข้ามาในปี 2553 จะมีราคาเครื่องละประมาณ 4,000 ล้านบาท รวม 6 เครื่องราว 24,000 ล้านบาท"
ล่าสุด ในวันที่ 2 ธันวาคม เตรียมเปิดให้บริการเที่ยวบินไปกลับกรุงเทพฯ-ฮิโรชิมา สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน เมืองดังกล่าวนอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตรถยนต์มาสด้า ซึ่งถือเป็นค่ายรถยนต์รายใหญ่อีก 1 ราย ที่มีการลงทุนในประเทศไทยสูง ดังนั้น บริษัทจึงคาดหวังลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจ ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยในเส้นทางนี้ด้วย โดยช่วงแรกของการเปิดให้บริการคาดว่า จะเป็นญี่ปุ่นเดินทางมาไทย มากกว่าไทยจะไปญี่ปุ่น ตั้งเป้าหลัง 4 เดือนแรกที่เปิดให้บริการ จะมีอัตราที่นั่งผู้โดยสาร(โหลดแฟกเตอร์) ไม่น้อยกว่า 80%
นอกจากนั้น ยังกำลังเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-นาโกยา โดยจะเปิดเป็นแบบ เดลี่ไฟลต์ ซึ่งปัจจุบัน การบินไทยบินอยู่แล้ววันละ 2 ไฟลต์ แต่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เราเข้าไปในตลาดนี้ได้ โดยหากสรุปการเจรจาได้ปลายปีนี้ ก็จะเริ่มบินในเมษายนปีหน้า ตั้ง 2 ปี มีเส้นทางบินมากกว่า TG
อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนธุรกิจในเส้นทางตลาดอินโดจีน จะเน้นนำเส้นทางบินที่มีอยู่แล้วในแหล่งท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ มาจัดเป็นแพกเกจเส้นทางท่องเที่ยวแบบเชื่องโยงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย สุโขทัย-หลวงพระบาง-นครวัด-กรุงเทพฯ โดยมีแผนโปรโมตเส้นทางหลวงพระบาง เพื่อเพิ่มระยะเวลาการเดินทางให้มีมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีแผนเพิ่มเส้นทางบินให้เชื่อมโยงครอบคลุมทุกเส้นทางที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย จากปัจจุบันมี 19 เส้นทาง โดยบริษัทจะเพิ่มทั้งเส้นทาง การบินและเที่ยวบิน คาดว่าภายใน 2 ปีเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย บางกอกแอร์เวย์สจะมีเส้นทางบินมากกว่าสายการบินไทย
สำหรับในเส้นทางระยะไกล กำลังศึกษาเปิดเส้นทางบินในยุโรป เช่น กรุงเทพฯ-ลอนดอน ใช้จุดแข็งที่เรามีเดสติเนชั่น อยู่ในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลายจุด ในอินโดจีน จึงจะจัดขายเป็นแพกเกจ ตั๋วท่องเที่ยวไปยังเมืองนั้นๆ โดยเมื่อซื้อตั๋วของบางกอกแอร์เวย์ส จะได้ไปเที่ยวด้วย เช่น ลอนดอน-กรุงเทพฯ-สมุย เป็นต้น
ด้านผลประกอบการของบริษัท ถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีรายได้รวมประมาณ 7,000 ล้านบาท เติบโตราว 20-25% ซึ่งเป็นการเติบโตที่มาก กว่าทุกปี เพราะในเส้นทางสมุยยอมรับว่าเติบโต มากที่สุด 3 เดือนแรกของปีโตถึง 45% แต่ทั้งนี้จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นส่งผลให้บริษัท น่าจะมีผลกำไรในปีนี้เพียง 3% ของรายได้ หรือประมาณ 200 ล้านบาท ทั้งที่ธุรกิจการบินจะต้องมีกำไรประมาณ 5%
จากภาวะน้ำมันราคาแพง และไม่มี แนวโน้มที่จะปรับลดลง จึงมองว่าในอนาคตธุรกิจการบินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเครื่องบินแบบใหม่ๆ ซึ่งในปี 2553 น่าจะเริ่มเห็นได้แล้ว คือ เครื่องบินจะถูกออกแบบโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง ขณะที่ภายในจะต้องจุผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น ส่วนการฟื้นตัวของธุรกิจการบิน น่าจะเริ่มเห็นในปีหน้า เพราะเชื่อว่าทุกคนคงเริ่มที่จะปรับตัวได้จากปัญหาราคาน้ำมันแพง
|
|
 |
|
|