Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
เดอ โซโต้ กับนโยบายประชานิยม             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

   
related stories

ประวัติเดอ โซโต้

   
search resources

เฮอร์นานโด เดอ โซโต้




ในที่สุด สื่อมวลชนและแวดวงคนรอบตัวนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ก็ได้พบกับตัวจริงเสียงจริงของนักคิดนักเศรษฐ ศาสตร์ที่นายกฯ เอ่ยชื่อถึงมาระยะหนึ่ง และคาดว่าในราวต้นปีหน้า แนวทางปฏิบัติ จากการประยุกต์แนวคิดของเฮอร์นานโด เดอ โซโต้ ก็จะเห็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

ชื่อของเดอ โซโต้คงจะเป็นที่รับรู้อย่างจำกัดเฉพาะแวดวงนักเศรษฐศาสตร ์ สนใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ เปรู แต่บังเอิญอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน แห่งสหรัฐฯ ได้เอ่ยชื่อนี้กับนายกฯ ทักษิณในคราวพบกันเมื่อปีที่แล้ว และก่อน หน้านั้น กนต์ธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย ก็เคยซื้อหนังสือของเดอ โซโต้มาฝาก นายกฯ แล้ว

นั่นเป็นสาเหตุให้นายกรัฐมนตรีเชื้อเชิญเดอ โซโต้มาเยือนไทยในฐานะแขกส่วนตัวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน เพื่อพูดคุยแนวคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับบรรดา "คนวงใน" ของนายกฯ ซึ่งหนึ่ง ในนั้นคือ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกฯ และเป็นผู้ดูแลการทำแนวคิดแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่มีรากมาจากแนวคิดของเดอ โซโต้ นำไปประยุกต์ออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

พันศักดิ์บอกว่าเขาจะจัดเวิร์คชอประหว่างหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกเอกสารแสดงการมีสิทธิบนสินทรัพย์ ทั้งที่มีความชัดเจนและไม่มีความชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว ในการทำเวิร์คชอปครั้งนี้จะใช้เวลาสั้น และจะมีแนวทางจากฝ่ายรัฐบาลเสนอให้พิจารณาเพื่อร่างแนวทางที่ชัดเจน หลังจากนั้นรัฐบาลต้องตัดสินใจว่าควรจะออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคตหรือไม่

เขามองว่าสิ่งที่จะทำได้ก่อนคือ การปรับกฎกระทรวง กฎกอง กฎเทศบาลต่างๆ โดยความร่วมมือบางส่วนจากบางหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของพื้นที่ทางเท้า เป็นต้น ทำให้เกิดสิทธิชั่วคราว หรือ temporary right ซึ่งระบบธนาคารของรัฐและของเอกชนสามารถรับได้

"ประเด็นคือปรับกฎหมายลูกทั้งหลาย ไม่ต้องแตะกฎหมายแม่ เพื่อไปรับรองสิทธิชั่วคราว แล้วค่อยให้เปลี่ยนสิทธิเหล่านี้ในขั้นต่อๆ ไป อย่างไรก็ดี สิทธิชั่วคราวที่เราจะแก้ กฎหมายลูกไปรับรองนี่คืออะไรบ้าง เรายังไม่ได้สรุปเรื่องนี้กับท่านนายก ต้องสรุปก่อนแล้วค่อยไปทำเวิร์คชอป

" พันศักดิ์ยอมรับว่าการดำเนินงานบางอย่างของไทย มีความก้าวหน้ากว่าหากมองจากมุมของเดอ โซโต้ เช่น เรื่องเอกสารสิทธินั้น ไทยมีระบบนี้มานานแล้ว คือเอกสารแสดง สิทธิในที่ดินซึ่งมีอยู่หลายประเภทจำนวนมาก (เช่น นส. ต่างๆ และยังมี สปก.อีก) มันมีกระบวนการอย่างนี้อยู่ และยังมีกองทุน สปก. ให้คนมายืมเงินทุนอีก

ว่าไปแล้วแนวคิดของเดอ โซโต้กับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบันก็สอดคล้องรองรับกันดี เดอ โซโต้ได้กล่าวถึงโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาลว่า เป็นโครงการที่มอบความไว้วางใจในการบริหารลงสู่ประชาชนที่เป็นฐานรากของสังคม สิ่งนี้เกิดขึ้นในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากชาติที่ปกครอง โดยกลุ่มชนชั้นนำไปเป็นชาติที่มีฐานเศรษฐกิจจากชนส่วนใหญ่ในสังคม หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจรากหญ้า

อย่างไรก็ดี เดอ โซโต้ไม่ได้มีความรู้เรื่องประเทศไทยมากนัก และเขามาพำนักอยู่เพียง 3 วันก็จากไป สิ่งที่เหลือคือ การประยุกต์แนวคิดของเขา จัดมันให้เข้ากับนโยบายประชานิยมของรัฐบาล และนำไปปฏิบัติได้จริงต่างหาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us