Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
มีลาภเซรามิก             
 


   
search resources

มีลาภเซรามิก
มีลาภ ตั้งสุวรรณ
Ceramics




จากเด็กขายผ้า-ยังเติร์กดินเผา

ริมถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง เขตบ้านไร่ข่วงเปา ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นที่ตั้งของ หจก. มีลาภเซรามิก โรงงานเซรามิก เพื่อการส่งออกชั้นแนวหน้าอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง ที่มีผลิตภัณฑ์ ที่โดดเด่นอยู่ ที่ "มิเนียเจอร์"

ไม่ว่าจะเป็นชุดเบญจรงค์-mini porcelain tea set-hanging dolls-ชุดแจกันดอกไม้ และ handicraft porce lain-stoneware-terra cotta เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ล้วนย่อส่วนลงจากผลิตภัณฑ์ประเภทเทเบิลแวร์ และเน้นไป ที่ Hand made & paint แทนการใช้สติ๊กเกอร์เหมือนกับโรงงานเซรามิกในลำปางทำกันมาในอดีต

หลายครั้ง ที่รถทัวร์นำเที่ยวทั้ง ที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ-คนไทยมักจะจอดแวะเข้าเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ พร้อมกับไกด์นำเที่ยว ที่เพียรติดต่อขอนำทัวร์ลง เพื่อให้ "มีลาภเซรามิก" เป็นแหล่งชอปปิ้งกินค่าน้ำในแต่ละทริป

แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจาก มีลาภ ตั้งสุวรรณ หนุ่มใหญ่ วัย 38 ปี เจ้าของผู้จัดการ หจก.มีลาภเซรามิก ทุกครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า การขายปลีกหน้าโชว์รูม ที่มียอดขายวันละ 2-3 พัน หรือ 3-4 พัน/วัน ไม่คุ้มกับการที่เขาจะ ต้องยุ่งยากกับการจัดพนักงานมาขายหน้าโชว์รูม หรือแพ็กของครั้งละ 5-10 ชิ้นทุกวัน อันจะเป็นการกระทบกับกระบวนการผลิตตามออร์เดอร์ ที่ได้รับมาจากลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศของเขา

มีลาภ ตั้งสุวรรณ อุปนายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่มไฟแรง ที่ปลุกปั้น หจก.มีลาภเซรามิก ขึ้นมาโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็สามารถผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่ออกจากโรงงานของเขาติดตลาดทั้งใน และต่างประเทศรวมทั้งสามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้ กลายเป็น 1 ในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกชั้นนำของจังหวัดลำปาง

คนในแวดวงเซรามิกลำปางต่างยอมรับว่า มีลาภเป็นคนสู้ชีวิตคนหนึ่ง ทั้ง ที่ไม่มีพื้นฐานด้านเซรามิกแม้แต่นิดเดียว วุฒิการศึกษาก็มีอยู่เพียงระดับมัธยม มีอาชีพดั้งเดิมเป็นเด็กขายผ้าแผงลอยในตลาดสบตุ๋ย จังหวัดลำปาง

แต่เขากลับใช้เวลาเพียงไม่ถึง 5 ปีหลังการก่อตั้งโรงงานกับการออกงาน Exhibition 4 ครั้งคือ ที่ญี่ปุ่น 2 ครั้ง เยอรมนี 1 ครั้ง และอังกฤษ อีก 1 ครั้งก็สามารถทำยอดส่งออก ที่คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 900,000 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือราว 34.2 ล้านบาท/ปี (อัต ราแลกเปลี่ยน 38 บาท/ เหรียญ สหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ที่มีอยู่ราว 50,000 ชิ้น/เดือน

มีตัวแทนจำหน่ายทั้งในเยอรมนี และกลุ่มประเทศใน EU อีกหลายประเทศตลอดจนผู้สั่งซื้อขาประจำทั้ง ที่ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และ สหรัฐ อเมริกา เป็นต้น

การตัดสินใจ ที่จะเปลี่ยนอาชีพจากเด็กขายผ้าแผงลอยมาทำโรงงานเซรามิกของมีลาภ เริ่มขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะเห็นว่าในกลุ่มนักอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางรุ่นแรกๆ ต่างมีสถานะร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดินขาวลำปาง กอปรกับราวปี 2528- 29 ที่โรงเรียนลำปางกัลญาณี มีการเปิดคอร์สอบรมออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิก ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น ระยะเวลา 3 เดือน มีอาจารย์จากวิทยาลัยครูพระนคร ที่สอนด้านเซรามิกอยู่แล้วมาเป็นผู้สอน

เขาก็เป็น 1 ใน 30 กว่าคนที่เข้ารับการอบรมคราวนั้น จากนั้น ก็ลงทุนซื้อ ที่ดินย่านถนนลำปาง-เชียงใหม่ เนื้อ ที่ทั้งหมดราว 10 ไร่เศษ ในราคา 2 ล้านบาทเมื่อ 10 กว่าปีก่อน (ปัจจุบันราคาตกไร่ละประมาณ 2 ล้านบาทเศษ) เริ่มจากโรงงานขนาดเล็ก-คนงานไม่กี่สิบคนกับเตาแก๊สเพียงเตาเดียวผลิตออมสิน-ของตั้งโต๊ะ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ด้วยความ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทั้งด้านการจัดการ- เทคนิคการผลิต ปีแรก มีลาภยอมรับว่า ต้องเจอกับปัญหาค่อนข้างมากขั้นตอนการผลิตคุมไม่ได้กว่า 40-50% ของสินค้า ที่ผลิตออกมาใช้การไม่ได้จับทิศทางดีไซน์สินค้า หรือความนิยมผู้บริโภคไม่ถูก เพราะออมสิน-ผลิตภัณฑ์ เซรามิกตั้งโต๊ะ ที่นอกจากจะเห็นกันดาษดื่นทั่วไปในช่วงนั้น แล้ว ออมสินเซรามิก ก็ไม่มีข้อแตกต่างไปจากออมสินปูนพลาสเตอร์ ที่มีราคาต่ำกว่า 1 เท่าตัว นัก

แต่เขาก็ต้องทำด้วยการลองผิดลองถูกมาตลอด และจากการตระเวนออกร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ แล้ว พบว่า มีเซร ามิกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ค่อยมี ผู้ผลิตมากนัก แต่ลูกค้า ที่ซื้อ "ต่อราคาไม่ลง" ก็คือ มิเนียเจอร์ ทำให้มีลาภเริ่ม ทดลองผลิตขึ้นในโรงงานของเขา และเริ่มนำผลิตภัณฑ์ ที่พอใช้ได้ออกงานแฟร์ในประเทศ-ส่งขายตามตลาดจตุจักร กรุงเทพฯ

และด้วยปัจจัย ที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบคือ ดินขาว และค่าแรง ที่สมัยนั้น ต่ำ เพียง 40 กว่าบาท/วัน/คน และไม่มี โรงงานเซรามิกในลำปางรายใดผลิตสินค้าประเภทนี้มาขายทำให้เขาสามารถกำหนดราคาสินค้า ที่ผลิตออกมาได้ต่ำกว่าโรงงานเซรามิกทั้งขนาดใหญ่-กลางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลทำออกมาค่อนข้างมาก

อาทิ mini porcelain tea set ที่มีลาภเซรามิกทำออกมาจะขายในราคาเพียง 50-70 บาท/ชุด ขณะที่โรงงานในกรุงเทพฯ ขายในระดับ 100 บาท ขึ้นไป/ชุด เป็นต้น

กระทั่งปีที่ 2-3 ของการก่อตั้งโรงงานผลของการตระเวนออกงาน แสดงสินค้าในประเทศไม่ว่างานเล็ก งานใหญ่ เริ่มปรากฏ สามารถจับทิศทางรสนิยมผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของชำร่วย-มิเนียเจอร์เซรามิก ทำให้มีออร์เดอร์จากโรงงานเซรามิกใหญ่ส่งเข้ามาให้

การฉีกรูปแบบผลิตภัณฑ์ของมีลาภ ที่แตกต่างไปจากเซรามิกของโรงงานอื่นๆ ในลำปางอย่างสิ้นเชิง ทำใ ห้เขาสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการลอกเลียนแบบได้เกือบ 100% เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า มิเนีย เจอร์เป็นงาน ที่ยาก ทำให้เซรามิกประเภทนี้ไม่ค่อยมีออกมาในตลาดราคาจำหน่าย ในท้องตลาดจึงไม่ถูกกดมากนัก

ปีที่ 3-4 หลังการตั้งโรงงาน มีลาภก็สามารถขยายโรงงานได้ทันที เพิ่มทั้งเตาเผา-คนงาน ปีที่ 5-6 เริ่มออกงานแฟร์ในต่างประเทศร่วมกันกรมส่งเสริมการส่งออก อันถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดตลาดต่างประเทศ ซึ่งต่อมาเขาจะร่วมออกงานด้วยทุกปี

โดยใช้ผลิตภัณฑ์มิเนียเจอร์เซรามิก ที่เป็นจุดเด่นของตนเองเป็นธงนำ ที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น อาศัยการศึกษาจากนิตยสารต่างประเทศ แ ล้วนำมาดัดแปลงเอาเองเป็นหลัก

และร่วม 5 ปีของการทำตลาดต่างประเทศ มิเนียเจอร์เซรามิกของมีลาภ ก็สามารถเป็นธงนำสำหรับการเปิดตลาดส่งออกของ หจก.มีลาภเซรามิก ได้ทั้งในตลาดอเมริกา กลุ่มประเทศ EU และญี่ปุ่น กลายเป็นผลิตภัณฑ์ หลัก ที่มีลาภผลิต ขึ้นในโรงงานของเขา ภายใต้สัดส่วน ที่มากกว่า 70-80%

อย่างไรก็ตาม การส่งออกเซรามิกของมีลาภทั้งหมด โดยเฉพาะในส่วนของมิเนียเจอร์เซรามิก ที่เขาดัดแปลง-คิดค้นรูปแบบ-ดีไซน์ขึ้นมานั้น แม้ว่าจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Made to order จากผู้สั่งซื้อก็ตาม แต่จนถึงวันนี้ เขายังไม่หาญกล้าถึงขั้นตีตรา "by meelarp ceramic ltd. part. thailand" ได้

ยังคงต้องยืมจมูกบรรดาผู้สั่งซื้อตามประเทศต่างๆ ที่มีออร์เดอร์เข้ามาหายใจอยู่

มีลาภให้เหตุผลว่า เขายังไม่อยากเสี่ยง เพราะถ้าหากเขาตัดสินใจทำแบรนด์ขึ้นมา โอกาส ที่ผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ จะนำเอาดีไซน์สินค้า ที่เขาเคยผลิตอยู่ส่งให้โรงงานเซรามิกในแหล่งผลิตอื่นๆ ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุน ที่ต่ำกว่าหลายเท่าตัวอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ผลิตให้แทนก็มีอยู่สูง

เพราะผลิตภัณฑ์เซรามิกในคอลเลกชั่นต่างๆ ที่เขาทำออกมา ไม่ได้จดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาไว้เนื่องจากเห็นว่าดีไซน์-เทรนด์สีของเซรามิก มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี

หากต้องจดทะเบียนไว้ทุกประเภท ก็ทำกันไม่หวาดไม่ไหวแน่นอน เพราะแต่ละปีมีลาภเซรามิก จะมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ นำเสนอต่อลูกค้าไม่น้อยกว่า 200-300 รูปแบบ หนำซ้ำการก๊อบปี้สามารถทำได้ง่ายหากจะทำกัน เพียงแต่นำเอารูปแบบสินค้าไปเปลี่ยนสี เพิ่มขนาดเล็กน้อยหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำได้แล้ว

มีลาภยังเชื่อมั่นว่า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับเซรามิก คอลเลกชั่นต่างๆ ที่เขาทำออกมา ไม่มีส่วนช่วยเหลือกิจการของเขามากนัก

ขณะเดียวกันทุกวันนี้ มีลาภยอมรับว่า มีออร์เดอร์ล้นมือ ทำกันแทบไม่ทันอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ปลาย ปี 2539 ที่ค่าเงินบาท ของไทยลดลง ยิ่งทำให้ลูกค้าในต่างประเทศรายใหม่ ที่ยังไม่เคยสั่งออร์เดอร์เข้ามาตัดสินใจติดต่อซื้อขายกับเรามากขึ้น

มิหนำซ้ำยังเริ่มมีลูกค้า ที่ต้องการให้โรงงานเขาผลิตเซรามิกขึ้นมาตามดีไซน์ของเขาเพิ่มขึ้นทุกระยะ

จนเขาต้องพยายามคัดเลือกเอาเฉพาะรูปแบบ ที่สามารถขายในประเทศได้ เนื่องจากตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ก่อตั้งโรงงานมาจนถึงทุกวันนี้ มีลาภยอมรับว่า ยังไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ 100% ทุกครั้งจะ มีผลิตภัณฑ์ตกเกรดไม่ต่ำกว่า 20% ขึ้นไป

ทำให้เขาจำเป็นต้องเลือกออร์เดอร์ลูกค้า เพื่อให้สินค้าตกเกรดเหล่านี้มีช่องทางการระบายเข้าสู่ตลาด แทน ที่จะต้องทิ้งไปทั้งหมด ซึ่ง ที่ผ่านมาบรรดาสินค้าตกเกรดเหล่านี้มักจะถูกส่งไปขายตามตลาดจตุจักร กรุงเทพฯ-ไนท์บาซาร์ จังหวัดเชียงใหม่ มาโดยตลอดรวมทั้งเซรามิกประเภทเทเบิลแวร์ ที่ อยู่ในไลน์การผลิตของโรงงานมีลาภฯ ราว 20-30% ด้วย

นอกจากประเด็นปัญหาคุณภาพสินค้า ที่มีลาภจำเป็นต้องหาตลาดในประเทศมารองรับสินค้าตกเกรดอยู่ทุกวันนี้ แทน ที่จะสามารถทุ่มกับการผลิตเซรามิก เพื่อการส่งออก 100% แล้ว อีกปัญหาหนึ่ง ที่มีลาภ ยอมรับว่า ยังคงเป็นปัญหาสำหรับเขาทุกวันนี้ ก็คือ

การจัดการภายในองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องของแรงงานตามฤดูกาลในท้องถิ่นของลำปาง เขาบอกว่า ด้วยฐานด้านการศึกษา ที่ไม่สูงนักของเขาทำให้ไม่มีทักษะด้านการบริหารมากนัก รูปแบบการจัดการที่เขาใช้ในโรงงานตลอด ก็เป็นลักษณะของเถ้าแก่ในอดีต

ขณะที่อุตสาหกรรมเซรามิกจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องใช้แรงงานฝีมือต้องเลี้ยงคน สั่งสมคนที่มีประสบการณ์ไว้ให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้ เนื่องจากขั้นตอนการผลิตของมีลาภเซรามิก ส่วนใหญ่ ล้วนใช้มือแทบทั้งสิ้น ดังนั้น การใช้กฎระเบียบ ที่เข้มงวด 100% กับแรงงานในท้องถิ่นทำไม่ได้

ไม่เพียงเท่านั้น ค่าแรง ที่เขาจ่ายให้กับแรงงานนั้น แม้ว่า ระยะแรกของ คนที่เข้าทำงานใหม่ หากไม่มีฝีมือด้า นเซรามิก อยู่เลย อาจจะไม่ได้รับตาม กฎหมายแรงงาน แต่ภายในระยะเวลาเพียง 6-12 เดือน เราต้องปรับระดับ ค่าจ้างของเขาให้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำแทบทุกคน ทุกวันนี้แรงงาน ที่ทำงานในมี ลาภเซรามิก บางรายมีรายได้เ ดือนละ 2 หมื่นกว่าบาทก็มี โดยเฉพาะงาน ด้านดีไซน์

"เราต้องรักษาคนงานให้อยู่กับเรานานที่สุด เพราะ นั่นหมายถึงสัดส่วน ผลิตภัณฑ์ตกเกรด หรือความสูญเสีย ที่ เกิดขึ้นระหว่างการผลิต ที่มีอยู่ราว 20% ใ นขณะนี้ จะลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อคนงานทุกคนมีฝีมือได้มาตรฐาน" มี ลาภกล่าวย้ำ

ซึ่งนั่นหมายถึงผลกำไร ที่จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแน่นอน

และในเวลาอันใกล้นี้ หลังจาก ที่เขาสามารถจัดระบบควบคุมคนงาน เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพเต็มที่ มีลาภตั้งใจว่า จะเริ่มศึกษาแนวทางการใช้ E-commerce เข้ามาช่วยสนับสนุนด้านการตลาด

แต่ไม่ได้หมายถึงขั้นการเปิดช่องทางการค้าปลีกเซรามิกผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะมีลาภเห็นว่าไม่คุ้มสำหรับโรงงานเซรามิก

โดยขณะนี้กำลังหารือกับ เพื่อนฝูงในวงการ เพื่อเริ่มต้นทำโบรชัวร์ ออนไลน์ พร้อมกับเปิด E-mail address ขึ้นมาติดต่อประสานงานกับลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ อันจะช่วยลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน/ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลงไปกว่า ที่เป็นอยู่อีกทางหนึ่งด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us