|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ดอกเบี้ยขาขึ้น บลจ.บัวหลวงพลิกกลยุทธ์เปิดตัวกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น หวังสร้างผลตอบแทนในระดับสูงคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ล่าสุดเตรียมเปิดตัวกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 8/50 มูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท ลงทุนแค่ 1 ปี 9 เดือน คาดให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 4% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 2 ปี ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ให้ดอกเบี้ยแค่ 2.75% ต่อปี
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียม เปิดขายหน่วยลงทุน กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 8/50 ซึ่งเป็นกองทุนที่มี นโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกองทุนนี้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก โดยมีมูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท
โดยกองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เป็นจำนวนเงินไม่น้อย กว่า 4.00% ต่อปีของเงินลงทุนเริ่มแรก ภายใน 3 เดือนแรก และทุก 6 เดือนถัดไป โดยไม่ต้องเสียภาษี และระยะเวลาการลงทุนเพียง 1 ปี 8 เดือน ถึง 1 ปี 9 เดือน นับตั้งแต่วันจดทะเบียน กองทุน กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 8/50 จะเปิดขายครั้งเดียวระหว่างวันที่ 15 ถึง 21 พฤศจิกายน 2548 ที่ราคา 10 บาทต่อหน่วย โดยลงทุนขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท
สำหรับกองทุนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 11/49 ถือเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ภายใต้การบริหารงาน ของ บลจ.บัวหลวงที่มีการเปิดตัวภายในปีนี้เป็นกองที่ 3 โดยกองทุนแรกที่เปิดขายคือ กองทุนรวมบัวหลวง ธนรัฐ 10/49 ซึ่งได้รับการตอบรับจาก กลุ่มลูกค้าเงินฝาก โดยมียอดจำหน่าย สูงถึง 9,200 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้ปิดยอดขายกองทุนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 11/49 ยอดขายกว่า 5,750 ล้านบาท
รายงานข่าวกล่าวว่า สำหรับกองทุนบัวหลวงธนทวี 10/49 ที่ออกก่อนหน้านี้มีนโยบายลงทุน 1 ปี คาดการณ์ผลตอบแทนอยู่ที่ 3% ต่อปี ส่วนกองทุนบัวหลวงธนรัฐ มีนโยบายการลงทุน 1 ปี คาดการณ์ผลตอบแทนประมาณ 3.25%
"แนวโน้มการออกกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.ในช่วงปลายปีจนถึงกลางปีหน้าคาดว่า กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีนโยบายลงทุน ในพันธบัตรของรัฐบาล ยังคงได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่กลยุทธ์ของบลจ.แต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้จัดการกองทุน แต่ในช่วงกลางปีหน้าคาดว่าการออกกองทุนตราสารหนี้จะให้น้ำหนักกับกองทุนตราสารหนี้ที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เริ่มนิ่ง" แหล่งข่าวจากวงการกองทุนกล่าว
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ 4 แห่งประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ที่เสนอให้กับลูกค้าในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.75%
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงนี้นักลงทุนยังคงลังเลที่จะตัดสินใจลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในระยะยาว เนื่องจากหลายฝ่ายต่างประเมินว่า ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงปลายปีจนถึงกลาง ปีหน้าจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้น (อาร์/พี) 14 วัน เพิ่มขึ้นอีก โดยประเมินว่าในช่วงกลางปีหน้า อัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันจะอยู่ที่ระดับ 5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.75% และคาดว่าผล การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในช่วงปลายปี จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน เป็น 4% เพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศกับดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ
"หลังจากที่ดอกเบี้ยอาร์/พี เริ่มนิ่ง นโยบายการลงทุนของ บลจ.จะปรับรูปแบบโดยหันมาลงทุนในระยะยาวมากขึ้น จากเดิมที่เน้นการเปิดตัวกองทุนที่มีนโยบายลงทุนสั้นเพียง 6 เดือน 9 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อตอบสนอง ความต้องการนักลงทุนที่ต้องการพักเงินฝากไว้กับกองทุนที่มีนโยบายลงทุนสั้นๆ ก่อนที่จะลงทุนในระยะยาวมากขึ้น หลังดอกเบี้ยเงินฝากเริ่มนิ่ง เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการลงทุน" แหล่งข่าวกล่าว
|
|
 |
|
|