|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดตัวผู้ผลิตกลุ่มแรก คว้าสิทธิ์จากกรมประชาสัมพันธ์ ผลิตรายการป้อนช่องเอ็นบีที ล้วนกลุ่มทุนเดิมที่มีสายสัมพันธ์ กับกรมประชาสัมพันธ์เป็นหลัก ทั้งอาร์เอ็นที ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ กลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลระบุต้องชัดเจนว่าจะเก็บอัตราค่าบริการเท่าใด หวั่นปัญหาในอนาคต
แหล่งข่าวจากวงการเคเบิลทีวี กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" จากกรณีที่ทางกรมประชาสัมพันธ์มีนโยบายตั้งช่องรายการ เอ็นบีที หรือ (National Broadcasting Television) เพื่อให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีนำไปออกอากาศผ่านทางเคเบิลทีวีทั่วประเทศนั้น โดยมีแนวทางที่จะให้เอกชนเป็นผู้ผลิตรายการให้ เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้เกิดความหลากหลายของรายการ เป็นการรับมือกับการเกิดขึ้นของ กสช. ด้วย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีหลายรายต่างเห็นด้วยกับวิธีการนี้ แต่ติดตรงที่ต้องการที่จะให้กรมประชาสัมพันธ์เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงว่ามีเอกชนรายใดเป็นผู้ผลิตรายการป้อนให้กับเอ็นบีทีบ้าง เพื่อ ความโปร่งใส
แหล่งข่าวกล่าวว่า รายการของช่องเอ็นบีที เริ่มออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้ว เช่น ช่องกีฬา ช่องข่าว ช่องวาไรตี้ เป็นต้น สำหรับกลุ่มที่คว้าสิทธิ์ในการผลิตรายการป้อนให้กับช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ในช่วงแรกนี้มีประมาณ 5-6 ราย ที่ผลิตรายการให้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ประกอบการที่มีสายสัมพันธ์และมีธุรกรรมต่างๆ เช่น การผลิตรายการทีวี หรือการทำสื่อต่างๆ ให้กับกรมประชาสัมพันธ์ทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละรายจะได้รับสิทธิ์ในการผลิตรายการประมาณ 2-3 รายการต่อราย
โดยค่ายทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ ได้ผลิตรายการ 3 ช่อง ประกอบ ด้วย ช่องกีฬา ช่องข่าว ค่ายอาร์เอ็นที ได้ 3 ช่อง เช่น ช่องข่าวและวาไรตี้ ช่องส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มแอล ช่องท่องเที่ยว บริษัทอะลาคาร์ทของ นางสาวอวัสดา ปกมนตรี และบริษัทที่ทำรายการสำรวจโลกผลิตรายการสารคดี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกนี้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่นำเอารายการต่างๆ เหล่านี้มาแพร่ภาพยังไม่ต้องชำระค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม ซึ่งทางกรมประชาสัมพันธ์จะใช้ระยะเวลาในการทดลองออกอากาศประมาณ 6 เดือน หากได้รับความนิยมก็จะเรียกเก็บค่าบริการ ซึ่งทางสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ต้องการที่จะให้กรมประชาสัมพันธ์และเจ้าของผู้ผลิตรายการ เหล่านั้น ระบุออกมาชัดเจนว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าบริการเท่าใดกันแน่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เนื่องจากว่าหากรายการบางรายการได้รับความนิยมแล้วมาเรียกเก็บค่าบริการที่สูงเกินความเหมาะสม ก็จะทำให้เกิดปัญหาในการเจรจา และจะกระทบกับสมาชิกของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีด้วย ที่เมื่อจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนแล้วไม่ได้รับชมรายการตามที่กำหนดเพราะผู้ประกอบการเคเบิลไม่สามารถสรุปเรื่องอัตราค่าบริการกับผู้ผลิตรายการได้
สำหรับช่องเอ็นบีทีนี้ กรมประชาสัมพันธ์วางแผนที่จะผลิตออกมาประมาณ 9 ช่อง ประกอบด้วย 1.ช่องวาไรตี้ ช่องข่าวภาษาไทยและอังกฤษ 2.ช่องกีฬาฟุตบอล มวย 3.ช่องบันเทิง วัฒนธรรม 4.ช่องสุขภาพ 5.ช่องสารคดี 6.ช่องท่องเที่ยว 7.ช่องรัฐสภา 8.ช่องเอสเอ็มอี 9.ช่องสารคดีทั่วไป ซึ่งจะเริ่มก่อนจำนวน 5 ช่อง ในเดือนพฤศจิกายนนี้
แหล่งข่าวจากกลุ่มทราฟฟิกคอร์นเนอร์ กล่าวว่า บริษัทฯเป็นผู้ผลิตรายการ ให้กับช่องเอ็นบีที ซึ่งได้เริ่มแพร่ภาพออกอากาศแล้วจำนวน 3 ช่อง ส่วนในอนาคตจะมีเพิ่มมากกว่านี้หรือไม่ยังไม่สามารถให้คำตอบได้
|
|
|
|
|