Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 พฤศจิกายน 2548
เคพีเอ็มจีเผยผลสำรวจการทุจริต ผู้บริหารเมินความจริงยอมรับแค่21%             
 


   
search resources

เคพีเอ็มจี ภูมิไชย โฮลดิ้งส์, บจก.
Knowledge and Theory




เคพีเอ็มจี เผย การเรียกเก็บใต้โต๊ะติดอันดับหนึ่งในการทุจริตในองค์กร เผยผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 100% เห็นว่าการทุจริตเป็นปัญหาสำคัญ แต่ไม่ยอมรับความจริงเพราะแค่ 21% กลับตอบว่าการทุจริตเป็นปัญหาสำคัญของบริษัทตน หวังผลการสำรวจจะช่วยกระตุ้นให้บริษัทเห็นความสำคัญของการทุจริต และหามาตรการป้องกัน

นางไขศรี เนื่องสิกขาเพียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย เปิดเผยว่า เคพีเอ็มจี ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นไปยังบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย องค์กรเอกชนไทยขนาดใหญ่และองค์กรในต่างประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และนิวซีแลนด์ เพื่อรับรู้เกี่ยวกับปัญหาการทุจริตและการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งได้เผยแพร่ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ จากผู้ตอบแบบสำรวจ 98% เห็นว่า การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญของระบบธุรกิจไทย แต่เพียง 21% กลับตอบว่า การทุจริตเป็นปัญหา สำคัญของบริษัทตน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถาม 61% อ้างว่าได้พบเหตุทุจริตในบริษัทของตนในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ 28% ยอมรับว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ทุจริตขึ้นจริงผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลกลับเพิกเฉย ซึ่งอาจทำให้พนักงานในองค์กรเข้าใจว่า การทำทุจริตไม่ได้เป็นประเด็นที่บริษัทให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม จากคำตอบที่ได้รับมีความเห็นว่า ผู้กระทำทุจริตส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุระหว่าง 26-40 ปี และเป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า 25,000 บาทต่อเดือน โดยผู้ที่พบเหตุการณ์ทุจริตในองค์กรของตนอ้างว่า 86% ของผู้กระทำผิดเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ และ 18% เป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร รองลงมาคือ ผู้ทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสิ่งดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่เป็นคนใน

ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการทุจริตภายในองค์กร คือ ระบบกำกับดูแลภายในองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งมีถึง 60% รองลงมาคือ การสมรู้ร่วมคิดระหว่างพนักงานและบุคคลภายนอก 44% และการขาดมาตรการส่งเสริมจริยรรมในการปฏิบัติงานจำนวน 28% โดยการเรียกเก็บค่านายหน้าและสินบนเป็นรูปแบบการทุจริตที่พบมากที่สุด รองลงมาคือ การยักยอกเงินโดยจ่าย คืนองค์กรจากการรับเงินครั้งถัดไป และการบันทึกข้อมูลเท็จทางบัญชี

อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวม ข้อมูลของต่างประเทศพบว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทุจริตคิดเป็นมูลค่าถึง 6% ของรายได้รวม ซึ่งการทุจริตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลกแต่องค์กรส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย ปัญหาจึงถูกจัดการอย่างเงียบๆ จนทำให้สังคมไม่ตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวมีผลต่อ ความมั่นคงของภาคธุรกิจมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เชื่อว่าการเผยแพร่ ผลการสำรวจดังกล่าวจะช่วยกระตุ้น ให้บริษัทเห็นความสำคัญและช่วยกันดูแล และหามาตรการป้องกัน

ด้านม.ล.ผกาแก้ว บุญเลี้ยง กรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวว่าการทุจริตในองค์กรมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของบริษัท ซึ่งหากบริษัทที่พบการทุจริตพยายามปิดบัง และแก้ไขปัญหาด้วย ตนเองเป็นการภายในก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุทุจริตขึ้นควรใช้มืออาชีพเข้าช่วยแก้ไขและวางระบบใหม่ หากมีการปฏิบัติที่ผิดกฎต้องรายงานให้คณะกรรมการ บริษัททราบ

"ที่สำคัญคือ บุคลากรภายในบริษัททุกคนต้องมีคุณธรรม และแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับคุณภาพของบริษัท และสร้างความเชื่อมั่นให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ในการประกอบกิจการในที่สุด" ม.ล. ผกาแก้ว กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us