Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 พฤศจิกายน 2548
แบงก์ชี้ดอกเบี้ยเงินกู้ต้องไม่เกิน 11% จับตาครึ่งหลังปีหน้าค่าผ่อนบ้านขยับ             
 


   
search resources

ชาติชาย พยุหนาวีชัย
Interest Rate




แบงก์พาณิชย์ เชื่อดอกเบี้ยขึ้นยังไม่กระทบลูกค้าในการผ่อนชำระค่างวดรายเดือน ระบุมีการคำนวณความเสี่ยงดอกเบี้ยเพิ่มไว้แล้ว 1-2% จับตาดอกเบี้ยขาขึ้น เงินกู้ต้องไม่เกิน 11% ชี้ครึ่งหลังของปีหน้าอาจจะชนเพดานดอกเบี้ย 1% แนะลูกค้าระวังการใช้จ่าย

จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์พี 14 วัน)ครั้งล่าสุดของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) วันที่ 19 ตุลาคม 2548 อัตรา 0.50% เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นสัญญาณ ที่ชัดเจนของธปท.ที่ต้องการเห็น อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก เพื่อ กระตุ้นเงินออมในประเทศ ปัจจุบันยังมีอยู่ 31-32% ของจีดีพี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามมา เพราะ มองว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะยังคง อยู่ในช่วงขาขึ้น จึงต้องระดมเงินฝาก ระยะยาวเพื่อคงฟิกซ์อัตราดอกเบี้ยไว้

ในทางกลับกันการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากจะต้องกระทบกับต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นเพื่อเป็นการบริหารต้นทุน ธนาคารพาณิชย์จึงได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามไปด้วย ซึ่งลูกค้าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเงินกู้ ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละครั้งจะกระทบกับลูกค้าเงินกู้มากกว่า เป็นผลดีกับลูกค้าเงินฝาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งยังไม่มีการปรับขึ้นเลย และกลุ่มลูกค้าที่กังวลกับการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากที่สุดคือ กลุ่มลูกค้าสินเชื่อบ้าน ที่ธนาคารพาณิชย์ เริ่มทยอยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารพาณิชย์นั้น เป็นการปรับขึ้นตามต้นทุนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับเพิ่มยอดวงเงินผ่อนชำระรายเดือน เนื่องจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยเพื่อเข้าไปในค่าผ่อนงวดรายเดือนอยู่แล้ว ตามปกติจะคำนวณไว้ประมาณ 1-2% ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันยังไม่ถึง 1% คาดครึ่งแรกของปี 2549 อัตราดอกเบี้ยบ้านคง จะปรับขึ้นไม่ถึง 1% แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยอย่าง ใกล้ชิด คาดว่าครึ่งหลังของปีหน้าดอกเบี้ยบ้านน่าจะปรับขึ้นใกล้เคียงถึง 1% แต่หากเกิน 1% ที่ธนาคารพาณิชย์คำนวณเผื่อไว้ การผ่อนชำระค่างวดอาจจะยังคงเดิม แต่ในค่างวดรายเดือนที่ต้องผ่อนชำระนั้น อาจจะเป็นค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และค่าเงินต้นจะลดลง ซึ่งในทางเดียวกัน ในทางบวกหากลูกค้ามีการทำงานตามปกติที่เป็นมนุษย์เงินเดือน เชื่อว่าในแต่ละปีจะมีการปรับขึ้นเงินเดือนทุกปีอยู่แล้ว อาจจะช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนจากการเพิ่มค่าผ่อนชำระบ้านได้บ้าง

ปัจจุบันลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของทั้งระบบมีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นยอดบัญชีประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่ เชื่อว่าทาง การจะต้องคิดถึงความเดือดร้อนของ ประชาชนที่กู้ซื้อบ้านบ้าง ในขณะเดียวกันแบงก์ต่างๆก็มีการดูแลลูกค้าอย่างดีอยู่แล้ว หากกระทบกับลูกค้ามาก อาจจะเป็นหนี้เสีย กลับมาเป็นปัญหาของแบงก์อีกรอบหนึ่ง

สำหรับโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์ จะมีการปรับค่างวดส่งบ้านนั้น จะเกิดจากธนาคารพาณิชย์ไม่มีบวกค่าดอกเบี้ยเผื่อความเสี่ยงไว้ เพราะมองว่าโอกาสของการปรับขึ้นดอกเบี้ย ไม่ใช่ช่วงนี้ ซึ่งขอรอดูสถานการณ์อีกระยะหนึ่ง การที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น 0.25-0.5% ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตที่ต้องรีบปรับขึ้นค่างวดผ่อนบ้าน ซึ่งมองว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต้องไม่เกิน 11% หากเกินกว่านี้แล้วจะมีผลกระทบกับลูกค้า โดยเฉพาะการผ่อนค่างวดแน่นอน

สำหรับภาพรวมตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น มองว่าธุรกิจให้สินเชื่อ บ้านมี 2 ตลาดคือ ตลาดผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ และตลาดลูกค้าทั่วไป โดยเป็นสัดส่วนในด้านตลาดผู้พัฒนาฯ 50% โดยเป็นสินเชื่อประมาณ 200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น สุทธิประมาณ 110,000 ล้านบาท ซึ่ง ใน 2 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 100,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 16% ของฐานสินเชื่อในแต่ ละปี แต่ในปีนี้มองว่า อาจจะเติบโตในอัตราที่ถดถอยหรือเพียงแค่ 10%

ในด้านของการแข่งขันจะเน้นหนักใน 3 ด้านคือ อัตราดอกเบี้ย ความรวดเร็วในการอนุมัติ และของกำนัล ซึ่งส่วนใหญ่ทุกธนาคารจะเน้น กลยุทธ์ Pre-sale เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาสนใจในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญเรื่องบริการหลังการขายด้วยการดึงพันธมิตรเข้ามา เช่น เสนอส่วนลด ซึ่งกสิกรไทยมีโฮมสมายคลับ เป็นความพยายาม สร้างความแตกต่างของสินค้าในแง่ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

เรื่องความรวดเร็วในการอนุมัติ สินเชื่อจะมีบทบาทกับการแข่งขันในตลาดผู้พัฒนาโครงการมาก เนื่องจากยิ่งธนาคารให้บริการเร็วทางเจ้าของโครงการก็ยิ่งได้เงินเร็วจากการโอนบ้านให้ลูกค้าได้เร็ว ดังนั้นเจ้าของโครงการมักจะเลือกลูกค้ามาให้ธนาคารที่ทำงานเร็วมากกว่า ส่วนเรื่องของกำนัลส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆแต่ธนาคารกสิกรไทยพยายามฉีกแนวที่เรียกว่า แจ๋ว หรือบริการต่างๆเกี่ยวกับบ้านอย่างมืออาชีพ เช่น กำจัดปลวก ตกแต่งสวน ซักอบรีด ทำความสะอาดรถ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us