Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 พฤศจิกายน 2548
"วิชัย"โขกหุ้นม.รังสิตแลกรพ.พญาไท             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลพญาไท
โฮมเพจ มหาวิทยาลัยรังสิต

   
search resources

มหาวิทยาลัยรังสิต
ประสิทธิ์พัฒนา, บมจ.
วิชัย ทองแตง
Stock Exchange
อาทิตย์ อุไรรัตน์




"อาทิตย์"แฉกลุ่ม"วิชัย ทองแตง"ขอแลกหุ้น ม.รังสิต กับรพ.พญาไท ที่เหลืออยู่ 5% สุดช้ำเจอโขกราคาหุ้น ม.รังสิต 600 บาท สูงจากบุ๊คกว่าเท่าตัว แต่ให้ขายรพ.พญาไทหุ้นละบาทเดียว รอความหวังสุดท้ายศาลฎีกา 15 พ.ย.นี้ ขอเปลี่ยนผู้บริหารแผนฯ หากผลเหมือนเดิมอาจขายทิ้งหุ้นรพ.พญาไท แต่ถ้าพลิกล็อกพร้อมกลับมาสู้-เจรจาเจ้าหนี้อีกครั้ง เผยเบื้องหลังฮุบรพ.พญาไท แปลงหนี้เป็นทุน-กู้เงินคืนหนี้-ลดทุนจากพาร์ 10บาทเหลือ 1 บาท กุมหุ้นใหญ่ไม่ต้องใช้เงินมากทำเทนเดอร์ฯ 37ส.ต. ด้าน"วิชัย" เผยผู้หวังดีตัวแทน 2 ฝ่ายเจรจากันเอง

นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า หลังจากที่นายวิชัย ทองแตง ทนายคดีซุกหุ้น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา (PYT) หรือโรงพยาบาลพญาไท และเนื่องจาก รพ.พญาไท ถือหุ้นในบริษัท ประสิทธิรัตน์ จำกัด หรือ มหาวิทยาลัยรังสิต (ม.รังสิต) ในสัดส่วน 33% ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาตัวแทนของนายวิชัย ได้เข้ามาติดต่อ ยื่นข้อเสนอให้แลกหุ้นระหว่าง ม.รังสิต ที่ รพ.พญาไทถืออยู่ดังกล่าวกับหุ้น รพ.พญาไท ที่กลุ่มตนเองถืออยู่ 5%

ทั้งนี้ การเข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน รพ.พญาไทของนายวิชัย เท่ากับว่าได้ครอบครองหุ้นใหญ่ใน ม.รังสิต 33% ผ่าน รพ.พญาไท ซึ่ง ม.รังสิต ถือเป็นธุรกิจด้านการศึกษาที่กลุ่มนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 66% และมีควบคุมอำนาจบริหารอยู่ในปัจจุบัน

ในการเข้าเจรจาขอแลกหุ้นตัวแทนนายวิชัยเสนอขอแลกหุ้น พิจารณามูลค่าตามบัญชีของหุ้น ม.รังสิต ซึ่งประเมินอยู่ที่หุ้นละ 300 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 100 บาท แต่จะเสนอขายให้ในราคาหุ้นละ 600 บาท ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ได้ว่าจ้างบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาตให้มาเป็นที่ปรึกษาประเมินราคาซึ่งได้ในราคาหุ้นละ 248 บาท

ส่วนหุ้น รพ.พญาไทของกลุ่มตนถืออยู่ 5% นั้นตัวแทนนายวิชัยจะเสนอซื้อในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาท ซึ่งถือเป็นข้อเสนอที่ไม่สามารถรับได้ เพราะเป็นข้อเสนอที่ไม่เป็นธรรม และถ้าจะแลกหุ้นกันจริงกลุ่มตนก็จะต้องใส่เงินเพิ่มอีก การขอแลกหุ้นดังกล่าวคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีเงินจำนวนมาก

“ข้อเสนอแลกหุ้นของนายวิชัยผมทำใจไม่ได้ เพราะเขาจะขายหุ้น ม.ลัยรังสิตให้ผมหุ้นละ 600 บาท แต่จะให้ผมขายหุ้นโรงพญาไทในราคาหุ้นละ 1 บาท ” นายอาทิตย์ กล่าว

ปัจจุบันนายวิชัยอยู่ระหว่างจัดทำคำเสนอซื้อ (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) หุ้น รพ.พญาไท จากประชาชนทั่วไปหลังจากได้เข้ามาถือหุ้น จำนวน 442,302,312 หุ้น หรือ 25.54 % ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเคยมีความคิดว่าจะทำคำเสนอซื้อแข่งกับนายวิชัย แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าคงจะสู้ไม่ได้ เนื่องจากอาจจะต้องใช้เงินจำนวน 300-400 ล้านบาท ซึ่งตนเองไม่มีเงินมากเพียงพอ จึงตัดสินใจไม่ดำเนินการดังกล่าว

นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอฟังคำพิจารณาของศาลฎีกา หลังจากที่ตนเคยยื่นขอเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งจะศาลจะอ่านคำพิพากษาภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาตามคำตัดสินเดิมตนก็ยอมรับและอาจจะตัดสินใจขายหุ้นโรงพยาบาลพญาไท ที่ถืออยู่ 5% ให้กับนายวิชัยก็ได้

แต่อย่างไรก็ตาม หากศาลฎีกาตัดสินให้ตนเองเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟู ก็พร้อมที่จะเข้ามาดำเนินการฟื้นฟูธุรกิจ รพ.พญาไท โดยพร้อมที่จะเข้าไปเจรจากับธนาคารเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของโรงพยาบาลพญาไท

“ขณะนี้ผมก็รอศาลตัดสินในวันที่ 15 พ.ย.นี้ ซึ่งก็เชื่อมั่นในความเป็นธรรมของศาลหากคำตัดสินออมาเป็นอย่างไรก็พร้อมที่จะรับคำตัดสินนั้นโดยดี” นายอาทิตย์ กล่าว

สำหรับ รพ.พญาไทประสบปัญหาทางการเงิน ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 โดยบริษัทได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินจำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อที่จะขยายธุรกิจ แต่เกิดการลดค่าเงินบาท ส่งผลให้หนี้จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นและเมื่อรวมกับดอกเบี้ยมีจำนวนหนี้สินทั้งสิ้น 12,000 ล้านบาท จึงส่งผลทำให้บริษัทต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้

ในการปรับโครงสร้างหนี้บริษัทได้ว่าจ้าง ไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ คูเปอร์ส เข้ามาจัดโครงสร้างหนี้และจัดทำแผน ซึ่งขณะนั้นตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยในช่วงแรกๆ ไพร์วอเตอร์ เฮาส์ จะคอยรายงานให้ทราบถึงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปการรายงานเริ่มน้อยลง และมีการปกปิดข้อมูล ซึ่งเป็นช่วงที่ตนได้พ้นจากการเป็น รมว.วิทยาศาสตร์แล้ว ที่สำคัญไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ได้แอบเสนอตัวเป็นผู้บริหารแผนเสียเอง ทั้งๆที่ไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงพยาบาล

ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเมื่อมีการทำแผนเสร็จ ก็จะต้องส่งคืนให้กับทางเจ้าของไปดำเนินการต่อ เช่น เดียวกับกรณีของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ และไม่มีปัญหาแต่อย่างไร

การดำเนินการไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ในฐานะผู้บริหารแผนนั้น ปรากฎว่า ในช่วง 6-7 เดือน ที่มีการบริหารแผนใช้เงิน 140 ล้านบาท ขณะที่ตนรู้เรื่องดังกล่าวก็ได้มีการเสนอตัวเป็นผู้บริหารแผน โดยจะไม่คิดค่าบริหารแผน ซึ่งจะทำให้ไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ได้มีการปรับคิดค่าบริหารใหม่ โดยเสนอเป็นเหมาจ่ายในอัตราเดือนละ 1-2 ล้านบาท ทำให้ทางเจ้าหนี้ที่มีความเชื่อถือในชื่อเสียงของ ไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ได้มอบหมายให้เป็นผู้บริหาร ซึ่งก็ปรากฏว่า ทางไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ก็มีการใช้เงินด้านต่างๆ ในการบริหารแผนเป็นจำนวนมาก เช่น ค่าที่ปรึกษาทางกฏหมาย คิดเกือบ 200 ล้านบาท แผนที่เสนอไปในช่วง 6-7 เดือน ก็ไม่มีความคืบหน้า

นอกจากนี้ทางไพร์วอเตอร์ เฮาส์ ก็ได้มีการจัดซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช้ามาใช้ในโรงพยาบาลอีก 700 เครื่อง คิดเป็นเงิน 100 ล้านบาท และได้มีการซื้อระบบซอฟแวร์จากต่างประเทศอีกจำนวน 80 ล้านบาท ปรากฏว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาดังกล่าวนำไปติดตั้งที่โรงพญาไท 1 ซึ่งก็ใช้ได้เพียง 1 ปี จากนั้นก็ใช้ไม่ได้ และโรงพญาไท 2 ก็ไม่มีการนำไปใช้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ก็ส่งผลให้เครื่องดังกล่าวล้าสมัย

“ในความเป็นจริงการการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องให้คนเข้ามาดูระบบก่อน ว่าจะใช้ระบบอะไรที่จะเหมาะสมไม่ใช่เป็นการซื้อครั้งเดียวจำนวนมากอย่างที่ไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ ดำเนินการ และพบว่า คนที่ซื้อคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ขายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงทำให้เกิดผลเสียต่อโรงพยาบาล”

ในปี 2546 ได้ยื่นต่อศาลเพื่อจะเป็นผู้บริหารแผนและเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ฯ ขณะเดียวกันพ่อของตน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รพ.พญาไท ได้ยื่นหนังสือขอลาออก แต่ไม่ยื่นผ่านคณะกรรมการบริษัท โดยยื่นต่อผู้อำนวยการบริหารของแต่ละโรงพยาบาลในเครือ รพ.พญาไท เมื่อตนและคณะกรรมการบริษัททราบเรื่อง ก็ได้ขอเรียกคืนใบลาออกดังกล่าวกลับคืนมา ซึ่ง รพ.ก็ส่งคืนกลับมาให้ ยกเว้น รพ.พญาไท 2 ที่ไม่ยอมคืนมา ซึ่งต่อมา ทางไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ฯ ก็ได้นำใบลาออกของ รพ.พญาไท 2 มายื่นต่อศาล โดยอ้างว่าได้ลาออกไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจในการเข้ามาดำเนินการ

นอกจากนี้ทางไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ฯ ได้ยื่นต่อศาลเสนอชื่อนายวิชัย ทองแตง และนายชนินท์ เย็นสุขใจ เข้ามาเป็นกรรมการ ซึ่งนายวิชัย ถือว่าเป็นผู้บริหารของโรงพยาบาลเปาโล ดังนั้นจึงแปลกใจว่ากลุ่มนายวิชัย เข้ามาเป็นผู้บริหารในโรงพยาบาลพญาไทได้อย่างไร ซึ่งศาลก็อนุมัติให้กลุ่มดังกล่าวเข้าบริหาร

นายอาทิตย์ กล่าวว่า หลังจากที่นายวิชัยเข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูของ รพ.พญาไท ก็ได้มีการจัดโครงสร้างหนี้ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก ได้มีการแปลงหนี้เป็นทุน 4,300 ล้านบาท ส่วนที่ 2 ซึ่งมีหนี้อยู่ 4,700 ล้านบาท ก็ปรากฎว่า กลุ่มนายวิชัยได้มีการไปขอกู้จากธนาคารกรุงไทยทั้งจำนวน เพื่อที่จะชำระคืนให้กับเจ้าหนี้ และบริษัทได้มีการลดทุน จากพาร์ 10 บาท เหลือ 1 บาท โดยอ้างว่าเป็นการลดขาดทุนของบริษัท แต่ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม โดยกลุ่มของตนเองจากเดิมที่ถืออยู่ 12% ปัจจุบันก็เหลือเพียง 5% และจากที่มีการลดทุนดังกล่าว ทางกลุ่มนายวิชัยก็ได้มีการขอทำเทนเดอร์ฯในราคาหุ้นละ 0.375 บาท ซึ่งถือว่าใช้เงินไม่มากในการซื้อหุ้นครั้งนี้

ทั้งนี้นายวิชัย ประกาศทำเทนเดอร์ฯจำนวน 1,289,745,208 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.375 บาท คิดเป็นมูลค่าเสนอซื้อ 483,654,453 บาท

“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ รพ.พญาไทนั้น ยอมรับว่าเกิดจากความไร้เดียงสาในการทำธุรกิจของผมและไปเชื่อในชื่อเสียงของไพร์วอเตอร์ เฮ้าส์ฯ มากเกินไป ที่ว่าฝรั่งเข้ามาหากินกับซากศพช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ผลก็เห็นแล้วว่าเป็นความจริง และผมเป็นคนที่ไม่มีอำนาจทางการเงิน ทางกฎหมาย และอำนาจรัฐ คงจะไปสู้เขาไม่ได้ พวกที่เข้ามาใน รพ.พญาไทนั้นมีการเตรียมความพร้อม โดยการรวมกลุ่มทุนที่มีเงินเข้ามา จึงเหลือเพียงรอความเป็นธรรมจากศาลฎีกา ว่าจะตัดสินใจอย่างไร”

นายวิชัย ทองแตง ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานกรรมการบริษัทประสิทธิพัฒนา (PYT) หรือโรงพยาบาลพญาไท กล่าวว่า ทราบว่าตัวแทนของ 2 ฝ่ายเจรจากันมาประมาณ 1 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องของกลุ่มผู้หวังดีทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันแต่ยังไม่มีข้อยุติ "ผมยังไม่เคยเจรจากับคุณอาทิตย์เลย และอาจจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นก็ได้หากสุดท้ายผมหรือคุณอาทิตย์ไม่ตกลงตามที่ได้เจรจากันมา"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us