Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 พฤศจิกายน 2548
ธรรมาภิบาลหุ้นไทยสอบผ่านเฉียดฉิว พ่าย"อินเดีย"หมดรูป หน้าที่บอร์ด"เกือบตก"             
 


   
search resources

Stock Exchange




ผลสอบ "ธรรมาภิบาล"ตลาดหุ้นในเอเชียโดยธนาคารโลก ประเมินภาพรวมเทคะแนนให้ "แดนภารตะ" นำโด่งเป็น "นักเรียนเรียนดี" ขณะที่บทบาทความรับผิดชอบของบอร์ดบจ."ตลาดหุ้นไทย" ยังอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง เพราะผ่านผลสอบมาได้แบบเฉียดฉิว วัดความโปร่งใสยังแพ้ ไต้หวัน มาเลย์ และเกาหลี แต่คะแนนรวมยังทิ้งห่างอินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์....

เพราะต้นตอจาก "วิกฤต" ต้มยำกุ้งแท้ๆ ที่ทำให้ ตลาดหุ้นไทยต้องหันมาถกหัวข้อ "ธรรมาภิบาล"ถี่ขึ้น จนข้ามไปถึงลงมติเข้าร่วมโครงการประเมิน ผลการปฎิบัติตามมาตรฐานสากลด้านธรรมาภิบาล CG หรือ CG-ROSC(Corporate Governance on the Observance of Standards and Cords) โดยธนาคารโลก

โครงการดังกล่าวจึงไม่ต่างไปจาก "การสอบวัดผล"เพี่อประเมินความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นนั้นๆเทียบกับที่อื่นๆ สำหรับนักลงทุนทั่วโลก โดยมีประเทศเข้าทำการสอบ 31 ประเทศ เป็นแถบเอเชีย 7 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกงและไทย

การวัดผลสอบจะทำโดยการเก็บข้อมูลพื้นฐานและเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดทุนนั้นๆ โดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงตลาดทุนหลายกลุ่มอาทิ บริษัทจดทะเบียน(บจ.) บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ตลาดหลักทรัพย์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงานด้วย

ธนาคารโลกจะใช้เกณฑ์ในการประเมิน โดยยึดหลักการที่กำหนดโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(Organization for Economic Cooperation and Deve Lopment หรือ OECD)ภายใต้หมวดใหญ่ 6 หมวด
อาทิโครงสร้างพื้นฐานด้านธรรมาภิบาล สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในบริษัท การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส สุดท้ายคือ บทบาทและความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทหรือบอร์ด

มีการให้คะแนน 5 ระดับ คือ O , LO , PO , MNO และ NO เรียงลำดับตามคะแนนสูงสุด และแยกเป็น O , LO อยู่ในกลุ่มทำตามมาตรฐานสากล หรือ เข้าข่ายนักเรียน "เกรดเอ" PO ควรมีมาตรการเพื่อปรับปรุง และยกระดับ คือ "แค่ผ่าน" ส่วน MNO และNO ต่ำกว่ามาตรฐาน คือ"สอบตก" หรือถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ O จะเท่ากับคะแนน 100% , LO คือ 75% , PO 50% MNO25% และNO คือ 0%

ชาลี จันทนยิ่งยง กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ อธิบายว่า โดยภาพรวมเมื่อประเมินกับประเทศเอเชียด้วยกัน ไทยจัดอยู่ในกลุ่มมีมาตรฐานและต้องปรับปรุงบางส่วน ไม่มีวิชาที่สอบตก แต่ก็ไม่มีเกรดเอแม้แต่หัวข้อเดียว ตรงกันข้ามกับอินเดียที่มีวิชาที่ตก แต่มีเกรดเอช่วยดึงให้คะแนนสูงสุดในกลุ่ม

ตลาดหุ้นอินเดียจึงกลายเป็นนักเรียนผลการเรียนดีที่สุดในห้อง แต่ก็มีบางวิชาที่สอบตก ส่วนไทยและเกาหลีใต้ ไม่เคยได้เกรดเอ แต่ก็สอบผ่านทุกวิชา คะแนนรวมออกมาจึงอยู่ระดับกลางๆ โดยดูจากคะแนนรวม อินเดียทำได้ 77% เกาหลีใต้ 70% ไทย 68% ส่วนอินโดนีเซียอยู่ที่ 49%และฟิลิปปินส์อยู่ที่ 50% โดยมีคะแนนเฉลี่ยใน 31 ประเทศที่ 60% อย่างน้อยก็พบว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อย

หากวัดโดยรายวิชาใน 6 หมวดหัวข้อ ไม่นับโครงสร้างพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่เพิ่งบรรจุเข้ามาใหม่ แต่จะนับใน5หัวข้อที่เหลือ ไม่ว่า สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม บทบาทผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทที่รวมเอา พนักงาน เจ้าหนี้ ชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ฯ การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ปรากฎว่า มีเพียงหมวดการปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมเท่านั้นที่ตลาดหุ้นไทยมีคะแนนนำโด่งพอๆกับฟิลิปปินส์ ส่วนข้อที่เหลืออินเดียกับเกาหลีใต้เก็บกวาดแท่นเบอร์หนึ่งและสองเรียบ

ที่น่าสังเกตคือ หมวดบทบาทความรับผิดของกรรมการบริษัท และบทบาทผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทตลาดหุ้นไทยพ่ายอินเดียแบบหมดรูป จากคะแนนเฉลี่ยที่ 55% ตลาดหุ้นไทยสอบได้เพียง 58% ขณะที่อินเดียได้ถึง 79% นอกจากนั้นคะแนนความโปร่งใสโดยรวม ตลาดหุ้นไทยก็ยังพ่ายทั้งไต้หวัน มาเลเซียและเกาหลีใต้ นั่นก็แปลว่า เรื่องคอรัปชั่นยังจัดอยู่ในอันดับประเทศที่น่ากังวล

ผลคะแนนรวมที่ได้เหล่านี้ จึงชี้ให้เห็น "เสน่ห์ของหญิงสาว" ซึ่งก็คือตลาดหุ้นทั่วไปที่เข้าร่วมประกวดในเวทีนี้ ขณะที่คะแนนรายวิชาแยกตามหมวดก็แสดงถึง "จิตสำนึก" ของผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ ผู้บริหารระดับสูงที่นั่งอยู่ในบอร์ดว่า ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ "นักลงทุนรายย่อย" ได้มากน้อยแค่ไหน...

การวัดผลสอบ จึงบอกอะไรได้หลายอย่าง หนึ่งคือ ความน่าสนใจของตลาดหุ้นนั้นๆ ขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึง "พฤติกรรม" ของผู้ถือหุ้นใหญ่และ "อุปนิสัย" ของผู้บริหารระดับบิ๊กๆในบริษัทจดทะเบียนด้วยว่า ทำหน้าที่ "พิทักษ์"รักษาผลประโยชน์ "แมงเม่า" ชนกลุ่มน้อยผู้ถือหุ้นรายย่อยเท่าที่ได้รับมอบหมายหรือไม่...

หรือคิดแต่จะ ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเอง พรรคพวก เพื่อนพ้อง ญาติสนิท มิตรสหายไม่รู้จักหยุดหย่อน แบบหน้าไม่อาย....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us