|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ของสังคมกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของการดำเนินธุรกิจไปแล้วในยุคที่โลกก้าวเข้าสู่กระแสไร้พรมแดน เพราะการหลั่งไหลเข้ามาของทุนต่างชาติทำให้การแข่งขันรุนแรงจนต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด บริษัทหลายแห่งกลายสถานะตนเองเป็นลูกครึ่ง2สายเลือด แต่สำหรับไทยประกันชีวิตยังยืนหยัดยึดมั่นเสมอในสายเลือดเดียว และใช้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยแท้100%นี้ เป็นกลยุทธ์ต่อสู่บนสังเวียนการแข่งขันในธุรกิจประกันชีวิต
การสร้างบุคลิกความเป็นไทยแท้ของ "ไทยประกันชีวิต" เริ่มสะท้อนสู่สายตาสังคมมาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกที่สร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านสื่อโฆษณาโทรทัศน์ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาไม่เพียงแต่ย้ำบุคลิกความเป็นไทยเท่านั้น แต่ยังสะท้อนภาพสังคมที่ต้องการจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย และการสร้างสรรค์สังคม
ไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยประกันชีวิต บอกว่า บุคลิกของความเป็นไทยประกันชีวิต สะท้อนออกมาเป็นผู้ชายไทยคนหนึ่งที่มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้ เป็นผู้ชายที่รู้เท่าทันกระแสแต่ไม่วิ่งตาม และที่สำคัญคือเป็นคนไทยที่ไม่ใช่ลูกครึ่ง ซึ่งเป็นบุคลิกที่อยากสะท้อนให้เห็นว่า แม้จะเป็นคนไทยแต่ขีดความสามารถทางการแข่งขันก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าต่างชาติ
และนี่คือบุคลิกที่ ไทยประกันชีวิต จับออกมาเพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้ในสังคม ในขณะเดียวกันเมื่อสื่อโฆษณามีอิทธิพลสูงแผนการประชาสัมพันธ์ของบริษัทจึงควบคู่ไปกับการปลูกจิตสำนึก และการสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทย แต่การประชาสัมพันธ์จะต้องอยู่ในกรอบที่สามารถสื่อถึงประกันชีวิตด้วย ทำให้เรื่องความเป็นความตายถูกหยิบขึ้นมานำเสนอ
"การนำความเป็นความตายมาเสนอเป็นเรื่องที่สะท้อนสังคมแห่งความเป็นจริง เมื่อชีวิตหนึ่งกำลังลืมตาดูโลก แต่อีกชีวิตหนึ่งกำลังดับวูบ เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งการสื่อออกมาเช่นนี้เพื่อให้สังคมรับรู้คล้อยตาม และเห็นความสำคัญของการประกันชีวิต อันเป็นหลักประกันมั่นคงแก่คนรักหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เขาเหล่านั้นยังสามารถมีชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคตได้"
ไชย บอกว่า การใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์อาจไม่สามารถเพิ่มตัวเลขยอดขายได้ เนื่องจากประกันชีวิตไม่ได้เป็นสินค้าที่เห็นแล้วอยากซื้อไว้ เป็นสินค้าที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจก่อนตัดสินใจ จึงช่วยในเรื่องยอดขายได้ไม่มาก หากแต่เป็นการตอกย้ำและสร้างความรู้จักให้สังคมยิ่งขึ้นมากกว่า แต่กระนั้นก็ตามหากยอดขายจะเพิ่มขึ้นก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้จากการรับรู้แบรนด์ของสังคม
เพราะฉะนั้นการเป็นที่รับรู้มากยิ่งขึ้นคือแผนกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในยุคปัจจุบัน และไม่เพียงเท่านี้ความมั่นคงของบริษัทก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยประกันชีวิตได้รับความไว้วางใจในสังคม ซึ่ง ไชย บอกว่า ด้วยเหตุนี้เองทางบริษัทจึงให้ทาง Standard & Poor's (S&P)จัดอันดับเครดิตให้ เพื่อให้ลูกค้าที่มาซื้อประกันชีวิตมั่นใจว่าเงินที่ฝากไว้กับบริษัทจะมั่นคงอยู่ยาวนาน 15-20 ปี
สำหรับกลยุทธ์การตลาดก่อนสิ้นปี 48 ไทยประกันชีวิตได้จัดทำโฆษณาใหม่ "ลูกพ่อ"ภายใต้แนวคิดที่สะท้อนถึงความรักที่พ่อมีให้กับลูก แต่ไม่อาจแสดงออกหรือบอกว่ารักได้เพราะมีความขัดแย้งในความคิดของเส้นทางเดินในอนาคต และกว่าที่จะรู้ว่าต้องแสดงความรักให้ลูกเห็นเวลานั้นอาจสายเกินไปก็ได้ เรื่องนี้จึงนำมาสู่ประโยคทองของคำว่า "บอกรักก่อนที่คุณจะไม่มีโอกาสได้บอก"
เห็นได้ว่ากลยุทธ์การแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ การสร้าง แบรนด์ ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของการต่อสู้ทางธุรกิจ และโดยเฉพาะในภาคธุรกิจประกันภัย ที่ถือว่าอยู่ในยุคของกระแสการรีแบรนดิ้ง ที่หลายบริษัทต่างพาเรดเข้าขบวน เพราะได้ตระหนักว่าประโยชน์ไม่ได้อยู่แค่การรับรู้ของสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจ อันนำมาสู่ผลพลอยได้ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|