Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 พฤศจิกายน 2548
4 องค์กรแถวหน้า โมเดลสู่ความเป็นเลิศ             
 


   
www resources

Toyota (Thailand) Homepage
โฮมเพจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บจก.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ยัม เรสเทอรองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), บจก.
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Knowledge and Theory




- ถอดสลักความคิด 4 องค์กรแถวหน้า มุ่งมั่นสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ
- "โตโยต้า" ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ สะท้อนผ่านโมเดลรถยนต์หลายรุ่นที่สร้างตำนานไปทั่วโลก
- "ยัม เรสเทอรองต์ส" เพราะลูกค้าคือพ่อแม่คนที่ 2 การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ จึงต้องเสนอสนองมากกว่าความคาดหวัง
- "บำรุงราษฎร์" ยกมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ ผ่าน 3 แนวคิดสู่ความสำเร็จ
- "ปูนซิเมนต์ไทย" เปิดกลไกการสร้างความยั่งยืนในยุคที่ต้องแข่งกับเงิน-เทคโนโลยี-เครือข่าย

โตโยต้า "ทำทุกสิ่งให้เป็นไปได้"

วิเชียร เอมประเสริฐสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงการเพิ่มผลผลิตสู่ความเป็นเลิศว่า สิ่งที่ทำให้โตโยต้าผงาดขึ้นมาได้ทั่วโลกทุกวันนี้ มาจากการทุบกำแพงของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ เอาความแข็งแกร่งมาผสมผสานกับความนุ่มนวล กลายเป็นโมเดลรถยนต์ที่สอดรับกับความต้องการของตลาด

เบื้องหลังพวงมาลัยโตโยต้าหลายรุ่นอย่างตำนานเลคซัส หรือออฟโรด ล้วนแล้วแต่มาจากการรวมกันของแนวคิดสองสิ่งคือ การพัฒนารุ่นสินค้าจากฟากของวิศวกรและการตลาด การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงภายใต้ต้นทุนต่ำ หรือการขับขี่ออฟโรดที่นุ่มนวลได้แบบเก๋ง ทั้งหมดนี้ยืนอยู่บนพื้นฐานหลักคิดเดียวกัน

"การกำหนดราคาขายของโตโยต้าไม่ได้มาจากกลยุทธ์การดัมพ์ราคา แต่มาจากผลวิจัยทางการตลาดที่สามารถคุมเกมตลาดรวมได้อย่างแม่นยำมาก และมีอิทธิพลต่อการชี้นำเศรษฐกิจ เพราะรู้แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น รู้ต้นทุนในอีก 6 เดือนข้างหน้า รู้สถานการณ์สภาพแวดล้อม จนสามารถไปกำหนดราคาขายในอนาคตได้ ว่าไทยมีกำลังซื้อได้ราคาเท่าไหร่? ฟิลิปปินส์จะจ่ายได้เท่าไหร่ พอวางแผนแบบนี้แล้วทำให้สามารถดึงส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ได้อย่างแน่นอน"

ด้วยแนวคิดการกำหนดราคารถยนต์ตั้งแต่เป็นวุ้นอยู่ในโรงงาน จึงเป็นกลยุทธ์หลักในการวางแผนโครงสร้างราคาตั้งแต่ออกแบบโมเดล การสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) และมูลค่าทางการผลิต (value engineering) ไม่ใช่ปักธงลดราคาจากโชว์รูม "รถยนต์ญี่ปุ่นต้นทุนไล่กันทัน อยู่ที่ว่าใครมองอนาคตแม่นยำกว่ากัน จะได้กำหนดราคาได้ก่อน"

ปรัชญาธุรกิจของโตโยต้าคือเน้นโตแบบยั่งยืนไม่หวือหวา เป็นแนวคิดที่ถือปฏิบัติเหมือนกันทั่วโลก ทุกอย่างต้องมองยาวไม่มองสั้น ขณะที่เครื่องมือการจัดการที่โตโยต้าได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกคือ management system และมีการเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางในหลายมหาวิทยาลัย

ความสำเร็จจริงแท้แน่นอนของโตโยต้ามาจากการมุ่งสู่คุณภาพ ที่ต้องคิดต่อว่าคุณภาพอยู่ตรงไหน? อยู่ตรงที่ความพึงพอใจของลูกค้า จึงต้องสร้างเครื่องมือการจัดการที่เน้นคุณภาพสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด และหัวใจของระบบโตโยต้าคือการใช้วิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์ผสมกับมนุษยศาสตร์

เขาบอกอีกว่า การไต่อันดับความสำเร็จของโตโยต้า กว่าจะมายืนอยู่ตรงนี้ได้ไม่ใช่เรื่องของส้มหล่น แต่มาจากความตั้งใจจริง การมุ่งมั่นการผลิตที่ดีที่สุด รวมถึงการพัฒนาคนเพื่อให้ได้รหัสพันธุกรรมสายพันธุ์โตโยต้า ตั้งแต่วินาทีแรกที่มาทำงาน ก็จะถูกหล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกันทั้งวิธีคิดแบบตะวันตกกับตะวันออก

ทุกวันนี้โตโยต้าทั่วโลกจะใช้ปรัชญาบริหารเล่มเดียวกัน มีการตั้งมหาวิทยาลัยโตโยต้าทั่วทุกมุมโลก และหลังจากการออกหนังสือ Toyota Way ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา องค์กรแห่งนี้ก็เดินหน้าต่อในเรื่องของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (continues improvement) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (respect people)

ยัม เรสเทอรองต์ส "ลูกค้าคือพ่อแม่คนที่ 2"

ปณิธาน เศรษฐบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารร้านเคเอฟซี พิซซ่าฮัท และเอแอนด์ดับบลิว มองถึงกระบวนการจัดการที่ผลักดันให้องค์กรเป็นเลิศว่า ยัมจัดอยู่ในธุรกิจ people business มีกลุ่มลูกค้าหมุนเวียนเข้าออก 45 ล้านคนต่อปี ดังนั้นการบริหารจึงต้องมุ่งเน้นในความสามารถของคน ที่เชื่อมโยงไปกับการฝึกอบรมเป็นหลัก และที่ผ่านมาบริษัทมีประสิทธิภาพในการจูงใจและรักษาคนไว้ได้สูงถึง 90%

ยัมจะวัดประสิทธิผลในการบริหารจัดการ ผ่านคุณภาพของสินค้าและความเป็นเลิศในการให้บริการ โดยใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวรองรับแนวคิดเหล่านี้

"เราสร้างความเชื่อกับพนักงานว่า ลูกค้าคือพ่อแม่คนที่ 2 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดชีวิตและอนาคตการทำงาน วัฒนธรรมการบริการไม่มีศาสตร์กำหนดตายตัว แต่ต้องเริ่มจากจิตใจที่ถูกต้อง ว่าพนักงานต้องดูแลลูกค้าเหมือนดูแลพ่อแม่"

สำหรับเครื่องมือประเมินผลของยัม ในการดึงให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการตลอดชีวิต จะเน้นผ่านหลักการ CHAMPS คือ C= cleanliness สะอาด, H=hospitality มีใจให้บริการ, A=accuracy ถูกต้องแม่นยำ, M=maintenance ดูแลโต๊ะเก้าอี้ และการเปิดเพลงในร้าน, P=products คุณภาพสินค้า, S=speed ความรวดเร็วในการให้บริการ รวมถึงเปรียบเทียบมาตรฐานการให้บริการกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมใกล้เคียงแบบรายวัน เพราะธุรกิจบริการจะเปลี่ยนเร็วมาก การสร้างการรับรู้ของแบรนด์จะต้องปรับปรุงตลอดเวลา

บำรุงราษฎร์ "เน้นบริหาร-ไอที-บริการ"

นพ.การุณ เมฆานนท์ชัย ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าว่า โรงพยาบาลเริ่มเน้นระบบพัฒนาคุณภาพตั้งแต่ 8 ปีที่ผ่านมา จากเหตุผลหลักคือ ต้องการรวบรวมการปฏิบัติที่กระจัดกระจายมาอยู่ด้วยกัน ด้วยการตั้งหน่วยงาน TQM : Total Quality Management รองรับ

และจากการที่ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ทำให้บำรุงราษฎร์สามารถฝ่าฝันอุปสรรค กลายเป็นโรงพยาบาลเอกชนแถวหน้าที่ผ่านการรับรองคุณภาพ และเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในเอเชียที่ได้มาตรฐานโรงพยาบาล มีภาพลักษณ์ของศูนย์ให้บริการทางการแพทย์ระดับโลก (world class medicine, world class service) มีคนไข้เข้ามาใช้บริการปีละ 1 ล้านคน แบ่งเป็นต่างชาติ 40% และในประเทศ 60%

ความสำเร็จของการดำเนินงาน จะมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตผลในทุกส่วน และมีปัจจัยสำเร็จอยู่ที่การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และการบริการ ซึ่งการนำมาตรฐานคุณภาพมาใช้ ที่ผ่านมาทำให้บุคลากรตื่นตัวอย่างรุนแรง ผลักดันให้ธุรกิจดีขึ้น 15-20% ต่อปี คุณภาพโดยองค์รวมก็เพิ่มมากขึ้น เป้าหมายจากนี้ไปบำรุงราษฎร์จะสมัคร TQA award เพื่อการสร้างคุณภาพอย่างยั่งยืน

ปูนซิเมนต์ไทย "เราแข่งกับเงิน-เทคโน-เครือข่าย"

ชลธร ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมคุณภาพงาน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการสร้างผลผลิตเพื่อความแข็งแกร่งว่า เป็นการมองในสองส่วนคือ การเพิ่มประสิทธิภาพผ่านสิ่งที่ใส่เข้าไปและผลลัพธ์ที่ออกมา กับการเพิ่มประสิทธิผลผ่านผลลัพธ์เทียบเคียงกับวัตถุประสงค์องค์กร ซึ่งเป็นเนื้องานเชิงกลยุทธ์

ปูนซิเมนต์ไทยใช้เครื่องมือการจัดการ TQM : Total Quality Management ในการเพิ่มผลผลิต จากการมองว่าสภาวะโลกเปลี่ยน ธุรกิจต้องแข่งกับผู้ประกอบการที่มีเงินหนากว่า มีเทคโนโลยีสูงกว่า มีเครือข่ายหนาแน่นกว่า ดังนั้นถ้าไม่ปรับตัวสู่ความยั่งยืนในวันนี้ ธุรกิจก็จะอยู่ไม่ได้

ที่ผ่านมาบริษัทผ่านช่วงบริหารจัดการ TQM 3 ระยะคือ ช่วงแรกเป็นการเน้นย้ำที่ตัวผู้บริหารให้มีความเชื่อต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง ต้องลงมือทำด้วยตัวเองจากการศึกษาดูงานเพิ่มเติม ถัดมาก็เป็นช่วงการฝึกปรือท้าทายองค์กรด้วยการไปสร้างมาตรฐานคุณภาพผ่านรางวัลต่างๆ อย่างเช่น เดมมิ่งไพรซ์ ถัดจากยุคของการใช้ TQM เป็นเครื่องมือแล้วก็เดินหน้ามาถึงยุคการใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือบริหารจัดการเสริมกัน

ปัจจุบันปูนซิเมนต์ไทยมีธุรกิจในเครือหลายกลุ่ม แต่ทั้งหมดจะยืนอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมร่วมอันเดียวกัน หลักๆ ได้แก่ การเน้นคุณธรรม มุ่งมั่นในงาน และการสร้างความสำเร็จ รวมถึงเน้นขยายตัวไปในธุรกิจหลักที่เป็นสิ่งถนัด เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันทั้งเครือ

เรียบเรียงจากงานสัมมนา "การนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศ" ในโอกาสครบรอบ 10 ปี สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปลายเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us