Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
เตรียมใช้พลังงานจากอุจจาระได้แล้ว             
 





ภายใน 5 ปีนี้ สิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลวทั้งหลายแหล่ จะเป็นแหล่งก่อให้เกิดพลังงานสำหรับรถ บ้านอยู่อาศัย และโรงงานต่างๆ ได้สบายๆ อันเป็นผลมาจากการพัฒนา ของทีมงานที่นำโดย Asok Bhattacharya ผู้อำนวยการของ process technology group แห่งมหาวิทยาลัย Warwick ประเทศอังกฤษ

นิตยสาร Popular Science ฉบับเดือนสิงหาคมรายงานว่า ทีมของ Bhattacharya ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิธีแยกแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cells) ได้ คราวนี้แหล่งพลังงานกลายเป็นของใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็ต้องบอกว่าเป็น "ของที่ออกจากตัวเรา" นั่นคือ อุจจาระ หรือสิ่งปฏิกูลเหลวต่างๆ น่ะเอง

Bhattacharya เรียกแหล่งพลังงานที่เปรียบเสมือน ขุมทองของเขาว่า wet biomass พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติม ว่า วงการใช้เยื่อไม้แห้ง และวัสดุย่อยสลายได้ชนิดอื่นๆ มา เป็นแหล่งผลิตแก๊สไฮโดรเจนนานปีแล้ว แต่ wet biomass ให้แก๊สมากกว่าราว 2 เท่าตัว

กระบวนการของเขาเริ่มต้นจากการแยกแก๊สไฮโดรเจนจากน้ำที่ปะปนและเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งปฏิกูล จากนั้นก็แยกแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไอน้ำ และแก๊สไฮโดรเจนที่ยังหลงเหลือตกค้างอยู่

แล้วนำแก๊สเหล่านี้ป้อนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ (reactor) ซึ่งทำหน้าที่แยกโมเลกุลของไอน้ำและแก๊สมีเทนออกจากกัน เพื่อให้ได้แก๊สไฮโดรเจนในปริมาณมากขึ้น เพราะเครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวเป็นเยื่อทำด้วยเซรามิกที่ยอมให้สารบางอย่างผ่านไปได้ (semipermeable ceramic membrane) ในกรณีนี้คือ แก๊สไฮโดรเจนเท่านั้นที่จะซึมผ่านไป ได้ ทำให้ได้ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ถึง 95%

ณ วันนี้ทีมของ Bhattacharya ได้เงินอุดหนุนจากสหภาพยุโรป (European Union) แล้ว 3.5 ล้านดอลลาร์โดยประมาณ สำหรับเป็นงบสร้างเครื่องแยกแก๊สและปฏิกรณ์ต้นแบบขนาดใหญ่ขึ้นในประเทศอังกฤษ หรือไม่ก็เนเธอร์แลนด์ ซึ่งตัวเขาคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน 3 ปี

Bhattacharya อธิบายต่ออีกว่า สามารถสร้างระบบคล้ายคลึงกันนี้ในโรงเก็บสิ่งปฏิกูล โรงงานเยื่อกระดาษ หรือฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานได้ทันที แล้วนำพลังงานที่ได้มาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้อีกต่อหนึ่ง

ความท้าทายขั้นต่อไปของเขาก็คือ พัฒนาวิธีรวมเอาเทคโนโลยี fuel cell และระบบแยกแก๊สจากสิ่งปฏิกูล (waste-gasification system) เข้าไปใช้ตามครัวเรือนแต่ละหลังและชุมนุมต่างๆ ให้ได้อย่างประหยัด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us