ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป อันเป็นช่วงเริ่มต้น ซีซันใหม่ สำหรับสินค้าเซรามิกในตลาดโลก
เราจะเริ่มเห็น ผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวโมเดิร์น ที่ผลิตจากโรงงานเซรามิกบนแผ่นดินเขลางค์นคร
ที่ตีตรา "dhana" อันเป็นเครื่องหมายการ ค้าของบริษัท ธนบดีอาร์ตเซรามิก จำกัด
เริ่มวางจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ 23 ประเทศทั่วโลก ทั้งญี่ปุ่น กลุ่มประเทศ
EU และ อเมริกา ฯลฯ
หรืออย่างน้อยที่สุด หากเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ตีตราผู้ค้าเซรามิกในต่างประเทศ
แต่เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจาก "ธนบดีอาร์ตฯ" จังหวัดลำปาง ก็ต้องมีคำว่า "By
dhana" ติดอยู่ด้วย
พนาสิน ธนบดีสกุล ศิลปินหนุ่มโสดวัย 37 กรรมการผู้จัดการบริษัทธนบดีอาร์ตเซรามิก
จำกัด ศิษย์เก่าจากรั้วศิลปากรรุ่นเดียวกับ ติ๊ก กลิ่นสี- นนทรี มินิบุตร
ที่บ่งบอกถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญ ที่จะสร้างชื่อเซรามิกลำ ปางภายใต้ชื่อ
"dhana" เมดอินไทยแลนด์ ในตลาดโลก
ถ้าสำเร็จก็กินยาว แต่ถ้าล้มเหลว ก็ไม่ถือว่าเสียหายอะไร สำหรับ "ธนบดีอาร์ตเซรามิก"
อุตสาหกรรมเซรามิกขนาดย่อม ที่มีทุนจดทะเบียนตอนก่อตั้งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
(ราวปี 2532) เพียง 200,000 เหรียญสหรัฐ
เพราะถ้าเทียบชั้นผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่ปรากฏอยู่ในตลาดโลกแล้ว สินค้าเมดอินไทยแลนด์
จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับฟิลิปปินส์ ที่สูงกว่าจีนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การที่จะตีตรา
เพื่อบอกให้ผู้บริโภครู้ว่าเป็นสินค้าเมดอินไทยแลนด์นั้น อาจทำให้ไม่สามารถปรับราคาสินค้าให้ขึ้นไปอยู่ระนาบเดียวกันกับสินค้าจากญี่ปุ่น
ไต้หวัน หรือแม้แต่อังกฤษ-อิตาลีได้ แม้ว่าคุณภาพ-ดีไซน์ของผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขาก็ตามที
พูดง่ายๆ ก็คือ ในสายตาผู้บริโภคในต่างประเทศ หากเห็นว่าเป็นเซรามิกเมดอินไทยแลนด์
ที่แม้ว่าดีไซน์-คุณภาพสินค้า จะอยู่ในระดับตลาดบนก็ตาม ยังคงเห็นว่า ควรมีราคาอยู่ในระนาบเดียวกับเซรามิกจากฟิลิปปินส์อยู่นั่นเอง
ทั้ง ที่เมื่อผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศนำสินค้าของเขาไปตีตราของผู้แทนจำหน่ายกลับขายได้ในราคาสูงกว่า
ที่ซื้อจากโรงงานในลำปางหลายเท่าตัว
ของจากญี่ปุ่น สเปน อิตาลี อังกฤษ ชิ้นหนึ่งยังขายได้ตั้ง 4,000- 5,000
บาท ของไทยเราทำไมจะขายไม่ได้ !?
ปีเริ่มต้นสหัสวรรษใหม่นี้ อาจจะกลายเป็นจุดเปลี่ยน ที่สำคัญยิ่ง สำหรับ
อุตสาหกรรม เซรามิกขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะตัวของพนาสิน ที่อาจถือได้ว่าเป็น
1 ในกลุ่มคนรุ่นใหม่แวดวงเซรามิกลำปาง ที่เดินแหกกรอบประเพณีปฏิบัติของนักอุตสาหกรรมเซรามิกรุ่นบุกเบิกของลำปางทุกๆ
ด้านมาตั้งแต่แรกเริ่มแม้ว่าตัวเขาจะเป็นคนในรุ่นที่ 2 ของ 1 ในนักบุกเบิก
เซรามิกลำปาง (ซิมหยู แซ่ฉิน ผู้ก่อตั้งโรงงานร่วมสามัคคีในอดีต : โรงงานธนบดีสกุล
ในปัจจุบัน) ก็ตาม
เพราะถึงแม้ว่า พนาสินจะถูกเรียกตัวกลับหลังจากจบการศึกษาจากรั้วศิลปากร
แล้วเข้าทำงานอยู่ในบริษัทไทยเยอรมันเซรามิค จำกัด ผู้ผลิตกระเบื้องคัมพานา
ในแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เพียง 2 ปี และตั้งใจว่าจะไปลงหลักปักฐาน ที่อิตาลีต่อ
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว หรือโรงงา น ธนบดีสกุล ที่ผลิตถ้วยตราไก่
ตกอยู่ในฐานะง่อนแง่นอย่างหนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย
แต่การกลับมาช่วยกู้สถานการณ์กิจการของครอบครัวคราวนั้น พนาสินเลือก ที่จะไม่เดินตามรอย
ที่คนในตระกูลของเขาทำทั้งหมด เขาเชื่อมั่นว่า หากยังคงผลิตถ้วยชามตราไก่เหมือนกับ
ที่ทำกันมาในอดีต ก็เหมือนกับเดินซ้ำรอยเดิม ที่วันหนึ่งกิจการของครอบครัวก็อาจจะต้องเจอกับวิกฤติซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
ไม่มีความยั่งยืนในตัวเอง
พนาสินเลือก ที่จะขอเงินจากผู้เป็นพ่อจำนวน 30,000 บาท เพื่อออกมาก่อตั้งโรงงานใหม่
โดยเขาเป็นผู้ดำเนินงานเองทั้งหมด แม้ ว่าทางบ้านจะไม่ค่อยเห็นด้วยก็ตาม
ขณะที่โรงงานธนบดีสกุ ล ก็ยังคงผลิตถ้วยชามตราไก่ ออกจำหน่ายภายในประเทศอยู่เช่นเดิมต่อไป
โดยเขามุ่งเน้น ที่จะใช้จุดเด่น ความเป็นศิลปินในตัวเองขายศิลปะล้วนๆ ผลิต
เพื่อการส่งออก 100%
2 ปีแรก พนาสินยอมรับว่า สาหัสสากรรจ์มากที่สุด เพราะผลิตภัณฑ์ ของ "ธนบดีอาร์ตเซรามิก"
มีแต่ความเป็นศิลปะล้วนๆ ที่ออกมาจากตัวของ พนาสินมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม 2 ปีดังกล่าวก็ถือเป็นช่วงเวลา ที่มีค่ามากที่สุดช่วงหนึ่ง
สำหรับเขา ในที่สุดหลังการร่วมออกงานแสดงสินค้า ทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเปิดตัวสินค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งประสบการณ์ด้านเทรนด์ ของผู้บริโภคในแต่ละปีที่สั่งสมไว้ตั้งแต่สมัยทำงานในบริษัทไทยเยอรมันเซรามิค
ที่มีโอกาสเดินทางไปอบรมตามประเทศต่างๆ มาตลอด ทำให้พนาสิน เริ่มจับคอนเซ็ปต์ของลูกค้าในตลาดต่างประเทศในแต่ละกลุ่มทั้งยุโรป-
อเมริกา-ญี่ปุ่น ฯลฯ ได้มากขึ้น เมื่อย่างเข้าสู่ปีที่ 3 "ธนบดีอาร์ตเซรามิก"
ของพนาสิน ก็เริ่มได้รับการตอบรับจากผู้ค้าเซรามิกในตลาดยุโรป-อเมริกา ด้วยผลิตภัณฑ์
ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าแปลกแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่มีขายกันในท้องตลาด
มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะ-แฟชั่น-ความต้องการของ ลูกค้าได้อย่างกลมกลืน
แน่นอน ผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่พนาสินทำออกมาขายจุดเด่น ที่ศิลปะการ ดีไซน์
ย่อมมีราคาแพงกว่าเซรามิกทั่วไป ที่ กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานเซรา มิกลำปาง
เคยทำกันมาตลอดระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าต่างกันลิบลับทีเดียว
จากราคาถัวเฉลี่ยของเซรามิกลำปาง ที่ส่วนใหญ่จะมีราคาส่งออกกันในระดับ 10-100
บาทเศษ/ชิ้น แต่สำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่พนาสินผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดต่างประเทศทุกวันนี้นั้น
ต่อชิ้นกล่าว ได้ว่าแทบจะไม่ต่ำกว่า 400-500 บาท/ขึ้นทั้งสิ้น
ไม่เพียงแต่ความแปลกแยก และแตกต่างด้านดีไซน์ผลิตภัณฑ์ ที่พนาสินเลือกนำมาใช้เป็นจุดเด่นในการผลิตสินค้าออกสู่ตลาด
จนสามารถใช้เวลาเพียงสั้นๆ ใน การทำตลาด มีออร์เดอร์จากลูกค้ามาให้ตลอดเวลา
และแน่นอนว่าในช่วงนั้น เป็นการออร์เดอร์ โดยมีภาพสเกตช์ติดมาให้หรือเป็นการผลิตตาม
คำสั่ง-รูปแบบ ที่ลูกค้าต้องการเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดี ด้วยความเป็นศิลปิน ที่ผ่านประสบการณ์งานออกแบบ ตลอดจนการศึกษาอบรมงานด้านศิลปะมาทั่วโลก
ตลอดระยะเวลา 7-8 ปีที่ ผ่านมา พนาสินได้พยายาม ที่จะสร้างจุดยืนของตนเองเกี่ยวกับการผลิตสินค้าตามแนวคิดของตัวเขาเองมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งปัจจุบัน จากกำลังการผลิต 250,000 ชิ้น/ปี นั้น มีไม่น้อย กว่า
80% เป็นสินค้า ที่พนาสินเป็นผู้ดีไซน์ออกมาตามแนวคิดของ เขาเองผสมผสานกับความต้องการของผู้บริโภคปลายทาง
โดยที่ดีไซเนอร์ของผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศแทบจะไม่ได้เข้ามายุ่งหรือช่วยเหลือใดๆ
ทั้งสิ้น มี เพียง 20% เท่านั้น ที่ผลิตตามแบบ ที่ลูกค้าส่งมาให้ และพนาสินยังย้ำอีกว่า
สัดส่วน 20% ที่ว่านี้ จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเซรามิก ที่ผลิตออกไปจากบริษัทธนบดีอาร์ตเซรามิกฯ
ทั้งหมด 100% จะต้องเป็นสินค้าตามดีไซน์ของธนบดีอาร์ตฯ เท่านั้น นั่นหมายถึงในอนาคตอันใกล้นี้
เขาจะไม่รับผลิตเซรามิกตามแบบดีไซเนอร์ฝรั่งใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเก่าหรือใหม่ก็ตาม
"ทุกวันนี้ทำเท่า ที่กำลังผลิต ที่เหลืออยู่เท่านั้น ถ้ามีออร์เดอร์ตามดีไซน์เราเข้าเต็มก็จะไม่รับผลิตตามแบบลูกค้าเลย"
พนาสินถือว่าการผลิตตามแบบ ที่ลูกค้ากำหนดเป็นการสิ้นเปลืองวัตถุดิบ-ค่าใช้จ่าย
และก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานของเขา เพราะก รณี
ที่เขาดีไซน์แบบออกมาเอง และนำออกเสนอลูกค้าแล้วมีออร์เดอร์เข้ามา นั่นมันหมายถึงว่าเขาได้วางแผนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบไว้แล้ว
ตั้งแต่ส่วนงานแม่พิมพ์-ส่วนผสมดิน-สี-เตา ฯลฯ หากต้องเปลี่ยนสีตามความต้องการลูกค้า
ก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือเพิ่มขั้นตอนการผลิตขึ้นไปอีก ขณะที่ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้น
หรือกำไรไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนของโรงงานกลับเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่พ้น
"ทางที่ดีก็คือ ทำตามแนว ที่เราวางไว้แล้ว เพราะจนถึงวันนี้ เราถือว่าดีไซน์
ที่เราทำออกมาตรงตามความต้องการของลูกค้า-ผู้แทนจำหน่าย ที่เรามีอยู่ทั้งหมด
23 ประเทศอยู่แล้ว ยิ่งระยะหลังๆ ลูกค้าจะเป็นผู้ถามเรามาตลอดว่า ปีนี้มีดีไซน์อะไรใหม่ๆ
บ้าง ซึ่งเราก็จะให้โอกาสลูกค้าเก่าเลือกดีไซน์ก่อน ที่เหลือจึงจะนำมาออกงานแฟร์หรือบรรจุไว้ในเว็บไซต์
ที่บริษัทฝากไว้ใน www.thaimarket. net/c1685. html ของกรมส่งเสริมการส่งออก"
ซึ่งแต่ละปีพนาสินจะมีดีไซน์ใหม่ๆ ออกมาเสนอลูกค้าราว 30 แบบ โดยในปี 2542
เขามีแบบสินค้า ที่ผลิต และขายในตลาดรวมประมาณ 100- 130 แบบ ปกติพนาสินจะคัดแบบเก่าออกประมาณ
50 แบบ แล้วเอา ที่เหลื ออีก 80 แบบมาดัดแปลง เพิ่มเติมด้วยดีไซน์ใหม่อีก
30 แบบ นั่น หมายถึงปีต่อไปเขาจะมีผลิตภัณฑ์ในดีไซน์ใหม่ๆ เสนอลูกค้าราว
100-130 แบบ เช่นเดิม
แต่ในซีซันใหม่ (หมายถึงตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 43) เขาจะคัดเอาแบบเก่ามาแค่
50 แบบ แล้วนำของใหม่มาเพิ่มเติมอีก 30 แบบรวมเป็น 80 แบบเท่านั้น โดยพนาสินให้เหตุผลว่า
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีหลากหลายเกินไปก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อกระบวนการผลิตสู้ผลิตออกมาน้อยๆ
แต่ มีราคาสูง จะทำกำไรได้มากกว่า
ในแง่ของการจัดการภายในองค์กรก็เช่นกัน พนาสินค่อนข้างมีแนวคิด ที่สวนทางกับนักธุรกิจในไลน์เดียวกันคนอื่นๆ
มากพอสมควร โดยเขามุ่งมั่น ที่จะคงสถานะของบริษัทธนบดีอาร์ตเซรามิก จำกัด
ให้เป็นกิจการขนาดเล็กที่สุดเท่า ที่จะทำได้ ไม่มีการขยายตัวตามกระแสไม่ว่าจะเป็นช่วงเศรษฐกิจบูม
หรือตกต่ำ ไม่มีการใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือเงินกู้นอกระบบแม้แต่บาท
เดียวมาตั้งแต่ต้น
เขายึดหลักทำเท่า ที่ศักยภาพตนเองมีอยู่ และพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มตามวัตถุดิบ
ที่มีอยู่ในมือให้สูงที่สุด
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ก่อตั้งกิจการขึ้นมาพนาสินเลือก ที่จะไม่ขยายกิจการมากเกินความจำเป็น
หรือเนื้อ ที่ ที่เขาใช้เป็นที่ตั้งโรงงานอยู่หน้าวัดจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ที่มีอยู่ไม่ถึง 2 ไร่ในขณะนี้เท่านั้น และ อย่างน้อยในระยะเวลาอันใกล้นี้
เขาก็จะไม่ขยายไปมากกว่านี้อีก รวมทั้งยังจะพยายามคงจำนวนพนักงานภายในโรงงานของเขาไม่ให้เกินกว่า
100 คน เท่านั้น
เขาตั้งใจถึงขั้นว่าหากขอเลื่อนกำหนดส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ก็จะขอเลื่อน
เพื่อไม่ขยายกิจการเพิ่มกว่า ที่เป็นอยู่ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้ง ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ออร์เดอร์จากลูกค้าขาประจำของเขาจาก 23 ประเทศ
ที่มีอยู่ และติดต่อซื้อขายกับเขามาอย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าล้นกำลังการผลิตเฉพาะในโรงงานของเขาอยู่แล้ว
เพียงแต่ ที่ผ่านมาเขาใช้วิธีสร้างซับคอนแทร็กต์กับโรงงานอื่นๆ ในจังหวัดลำปางแทน
จนถึงขณะนี้เขาต้องใช้ซับคอนแทร็กต์ผลิตสินค้าให้ตามแบบของเขาเองป้อนลูกค้าต่างประเทศมากถึง
6 โรงงานแล้ว
พนาสินให้เหตุผลถึงการใช้วิธีซับคอนแทร็กต์ แทนขยายโรงงานเป็นของตนเอง ที่จะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำมากกว่า
ว่าเป็นเพราะ
1. ตั้งใจทำกิจการขนาดเล็ก ไม่ยุ่งยาก แต่สร้างกำไรสูงสุด สามารถแบ่งเวลาเป็นส่วนตัวได้
ไม่ต้องการขยายกิจการ สร้างผลกำไรให้ตนเองอย่างมากมายมหาศาล เพื่อนำเงินมาใช้
รักษาตัวเองยามแก่ชรา
2. การป้อนออร์เดอร์ให้โรงงานในเครือข่าย เป็นการช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับโรงงานอื่นๆ
ใ นจังหวัดลำปางด้วย ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมตกต่ำเช่นนี้
3. การขยายกิจการให้เป็นกิจการขนาดกลางหรือใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต้องติดต่อซื้อขายกับตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศรายใหญ่
เป็นเรื่องยุ่งยากลำบาก เพราะกว่าจะได้ออร์เดอร์ลูกค้าต้องส่งทีมเจ้าหน้าที่แต่ละด้าน
เข้ามาตรวจสอบโรงงานโดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมการใช้แรงงาน
ความสะอาดในโรงงานมาตรฐานสินค้า ฯลฯ ขณะที่ความชอบส่วนตัว มีความเป็นศิลปินมากเกินไป
และ 4. ที่สำคัญ ทุกวันนี้ ตลาดขยายตัวเกินกว่า ที่เขาจะควบคุมได้แล้วหรือกล่าวง่ายๆ
ก็คือ
งานล้นมือจนทำให้ลูกค้าไม่ไหว พนักงานของเขาต้องทำงานล่วงเวลา ติดต่อกันมายาวนาน
เกือบ 2 ปีเต็มๆ แล้ว
ขณะเดียวกัน หลังจากพยายามควบคุมจำนวนพนักงานในโรงงานให้ อยู่ในจำนวน ที่เขาพึงพอใจแล้ว
ตั้งแต่ 2-3 ปีก่อน พนาสินเริ่มส่งเสริมด้าน การศึกษาของพนักงานในบริษัทแต่ละคนตามกำลังความสามารถ
ที่พวกเขามีอยู่ โดยเลือกเอาคนที่อยู่ด้วยกันมานาน และมีพื้นฐาน ที่สามารถส่งเสริมได้
โดยขณะนี้ พนาสินได้ให้ทุนการศึกษาสำหรับพนักงาน ตั้งแต่การศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน
(กศน.)-มสธ. ในสัดส่วนตั้งแต่ 25-100% รวมแล้วร่วม 10 คน เป็นการศึกษาทั้งในด้านศิลปะ
การบริหารการตลาด บัญชี บางคนเรียนอยู่ ปี 2-3 แล้ว
ทั้งนี้ พนาสินยืนยันว่า การให้ทุนการศึกษาสำหรับพนักงาน ไม่มีข้อผูกมัดว่าหลังจากจบการศึกษาแล้วต้องอยู่กับบริษัทต่อไปอย่างน้อยกี่ปีเหมือนกับทุนของรัฐบาล
แต่เขายึดมั่นว่า หลังจากบุคลากรเหล่านี้จบการศึกษาแล้ว แม้ว่าจะย้ายไปอยู่โรงงานอื่น
เขาก็ถือว่า
วงการเซรามิกลำปาง หรือสังคมโดยรวม เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง
การช่วยเหลือพนักงานในสังกัดของพนาสิน ไม่ได้มีเพียงการให้ทุนการศึกษาเท่านั้น
ในบรรดาโรงงานซับคอนแทร็กต์ ที่ผลิตสินค้าเซรามิกให้ตามออร์เดอร์ของบริษัทธนบดีอาร์ตเซรามิก
จำกัดนั้น มีอยู่ 1 รายที่ก่อนหน้านี้ เป็นลูกน้องเก่าในบริษัทธนบดีอาร์ตฯ
ที่พนาสินแนะนำให้ออกไปตั้งโรงงานเป็นเถ้าแก่เอง โดยที่เขาเป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านเงินทุน
ส่วนหนึ่ง- เทคนิคการผลิตทุกด้าน รวมทั้งด้านการตลาดด้วย
ฟื้นวิญญาณถ้วยตราไก่
ราวปี 2541 ที่ผ่านมา หลังจาก ที่พนาสินปลุกปั้นงานเซรามิก ที่ฉีกต้นฉบับ
รูปแบบเซรามิกดั้งเดิมของลำปางทิ้งอย่างไม่เหลือชิ้นดีแล้ว พนาสินเริ่มย้อนกลับมาฟื้นชื่อของ
"ถ้วยตราไก่" ของลำปาง ที่เคยลือชื่อในอดีตอีกครั้ง
จุดเด่น ที่พนาสินเห็นว่า ถ้วยตราไก่ของโรงงานธนบดีสกุล ที่ซิมหยู ผู้เป็นพ่อของเขาปลุกปั้นมาตั้งแต่
40-50 ปีก่อน ปัจจุบันมี "ยุพิน ธนบดี สกุล" ผู้เป็นพี่สาวดูแลอยู่ ก็คือ
"วิญญา ณ ที่มีอยู่ในตัวถ้วยตราไก่" ด้วยความเป็นถ้วยตราไก่ ที่ผลิตจากโรงงาน
เซรามิกแห่งแรกในจังหวัดลำปาง-เผาด้วยเตามังกรโบราณ ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง
กระบวนการผลิตทุกอย่างยังคงเหมือนกับเมื่อยุคที่พ่อของเขาดำเนินการไม่ผิดเพี้ยน
พนาสินเริ่มต้นด้วยการจัดรูปแบบแพ็กเกจจิ้งสำหรับถ้วยตราไก่ใหม่ สร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ตราไก่
หมายถึงสร้างชุดผลิตภัณฑ์ตราไก่ ให้มีครบทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้บนโต๊ะอาหาร
ตั้งแต่ ถ้วยตราไก่ขนาดต่างๆ 5 ขนาด อุปกรณ์ประกอบทั้งขวดใส่พริกไทย เกลือ
ช้อน ฯลฯ รวม 20 รายการ
ผลิตภัณฑ์ตราไก่ยุคใหม่ พนาสินเลือก ที่จะผลิต เพื่อส่งออกสู่ตลาดญี่ปุ่น
ที่ถือว่าเป็นตลาดที่หินที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะผู้บริโภคในญี่ปุ่นนิยมเซรามิก
ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวการเริ่มต้นก็เป็นเพียงการผลิตสินค้าตัวอย่างนำเสนอผ่านเครือข่ายลูกค้าเก่า
ที่เขาสั่งสมไว้ตั้งแต่ 7-8 ปีก่อนหน้านี้ และมีความเชื่อถือในตัวเขามากพออยู่แล้ว
จึงไม่เป็นการยากสำหรับการเปิดช่องทางให้กับ "ถ้วยตราไก่" ของลำปาง เมื่อได้ออร์เดอร์จากลูกค้าในส่วนนี้
เขาก็จะส่งต่อให้กับโรงงานธนบดีสกุล ที่อยู่ในความดูแลของพี่สาวอีกต่อหนึ่ง
กรณีดังกล่าวนี้ ในแวดวงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางต่างถือว่า เป็นต้นแบบการฟื้นชีพให้กับถ้วยตราไก่
ที่โด่งดังในอดีตได้คลาสสิกที่สุดรูปแบบหนึ่ง
และทุกวันนี้โรงงานธนบดีสกุล นอกจากจะผลิตถ้วยชามตราไก่ขายกัน ในประเทศดัง
ที่เห็นกันตามร้านก๋วยเตี๋ยวข้างถนนแล้ว ยังผลิตเซรามิกตราไก่ส่งออกญี่ปุ่นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
เพราะอย่างน้อยถ้วยตราไก่ ที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น ก็มีมูลค่าเพิ่มจาก ถ้วยละ
8-10 กว่าบาท เป็นชุดละไม่ต่ำกว่า 300-500 บาท
พนาสินกล่าวย้ำอีกว่า ถ้วยตราไก่ของธนบดีสกุลมันมีวิญญาณในตัวของ มันเอง
เป็นวิญญาณถ้วยตราไก่ของโรงงานแห่งแรกในลำปาง เพราะ แม้ว่า ถ้วยตราไก่ในประเทศไทย
จะผลิตกัน ที่ราชเทวีสมัยก่อนสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เป็นแห่งแรกโดยมีตลาดหลักอยู่
ที่กลุ่มคนจีนเนื่องจากเป็นถ้วย ที่เหมาะแก่การใช้ตะเกียบพุ้ยข้าว แต่หลังจากกลุ่มคนจีน
ที่ถือเป็นรุ่นบุกเบิกเซรามิกในลำปาง รวมทั้งผู้เป็นพ่อเขาด้วยมาตั้งโรงงาน
ที่ลำปางก็เริ่มผลิตถ้วยตราไก่ขึ้นมาจำหน่าย
สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับถ้วยตราไก่ยุคใหม่ได้
และอีกไม่นานหลังจากทุกอย่างลงตัวเต็มที่ โรงงานธนบดีสกุล ที่ ซินห ยู
แซ่ฉิม ผู้เป็นพ่อของเขาก่อตั้งขึ้นมาเป็นโรงงานเซรามิกแห่งแรกของลำปาง จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เซรามิกลำปาง
ตามเจตนารมณ์ ที่เขาได้ตั้งไว้ม านานแล้วด้วย