Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 พฤศจิกายน 2548
"สวอท์ช" รุกแฟรนไชส์เต็มตัว ลุยหัวเมืองแหล่งท่องเที่ยว             
 


   
search resources

Watches
Franchises
เดอะ สวอท์ช กรุ๊ป, บจก.




"สวอท์ช" แบรนด์นาฬิกาดังจากสวิสเซอร์แลนด์ รุกตลาดขยายสาขาแฟรนไชส์ เจาะหัวเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตั้งเป้า 3 ปี 1 จังหวัด 1 สาขา มั่นใจรองรับตลาดโตแน่ หลัง 2 สาขาแรกพัทยาและสมุย ยอดขายฉลุย ด้านบริษัทแม่ชี้ 2-3 ปีที่ผ่านมายอดขายดีต่อเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคซื้อนาฬิกาใส่มากกว่า 1 เรือนเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่เพื่อเป็นแฟชั่นมากขึ้น

ตั้งเป้า 1 จังหวัด 1 สาขา

ศิริวรรณ พงศ์กิจวรสิน Brand Manager บริษัท เดอะ สวอท์ช กรุ๊ป เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า สวอท์ชในเมืองไทยเริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์เมื่อปีที่ 2547 สาเหตุที่เราทำเป็นแฟรนไชส์เพราะมองว่าสินค้านาฬิกาเริ่มกลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์แล้วไม่ใช่แค่สินค้าแฟชั่นหรือว่าฟังก์ชั่นที่มองเวลาอย่างเดียว และจากการที่ผู้บริโภคมีมุมมองที่เปลี่ยนไปคือคนเราสามารถมีนาฬิกาในครอบครองได้มากกว่า 1-2 เรือนเพื่อใส่ให้เข้ากับเสื้อผ้าซึ่งตรงนี้ทำให้ตลาดจะกว้างขึ้น

นอกจากนี้ ในตลาดต่างจังหวัดมีผู้บริโภคที่ถามหาแบรนด์สวอท์ชค่อนข้างมาก แต่บริษัทไม่สามารถไปเปิดตลาดในต่างจังหวัดด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นสิ่งที่ยากในแง่เรื่องของการจัดการชอปที่มีคุณภาพ หรือการทำชอปที่ให้มีหน้าตาแบบสวอท์ชมากๆ แต่ในขณะที่การขยายสาขาในกรุงเทพฯ ของสวอท์ชถือว่าครอบคลุมดีแล้ว เพราะมีชอป 4 สาขา คือที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลปิ่นเกล้า สยามเซ็นเตอร์ และเกษรพลาซ่า ซึ่งเป็นของบริษัทแม่ทั้งหมดและยังมีมุมจำหน่ายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าอีก 20 แห่ง แต่สิ่งที่สาขาในกรุงเทพฯ จะต้องปรับปรุง คือเรื่องของคุณภาพและการบริการที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ การที่จะเลือกเปิดสาขาชอปให้เป็นรูปแบบแฟรนไชส์หรือเป็นสาขาของบริษัทขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ และการเก็บค่ารอโยตี้ฟีแต่ละประเทศจะเก็บหรือไม่เก็บก็ได้ แต่ที่บริษัทไม่เก็บค่ารอโยตี้ฟี เพราะต้องการให้แฟรนไชซีลงทุนในเรื่องของการซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้านจากสวอท์ชมากกว่าเพื่อให้ได้ภาพลักษณ์ของความเป็นสวอท์ช บริษัทจึงเริ่มเปิดแฟรนไชส์สาขาแรกเมื่อปลายปีที่ 2547 ที่ Walking Street พัทยาใต้ หลังจากนั้นก็เปิดสาขาที่เกาะสมุย และห้างเซ็นทรัลที่พัทยาเหนืออีกแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัทจะให้แฟรนไชซีเพียง 1 รายมีสิทธิในการเปิดสาขาใน 1 จังหวัด นอกจากนี้ ไม่จำเป็นว่า 1 จังหวัดจะต้องมีสาขามากกว่า 1 ชอป เนื่องจากบริษัทต้องการร้านที่คุณภาพ และเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดกัน

สำหรับการเปิดสาขาแฟรนไชส์ปีแรกในต่างจังหวัดถือว่าได้ผลดีเพราะมีทั้งกลุ่มลูกค้าสนใจอยากซื้อสินค้าและที่ต้องการเป็นแฟรนไชซีติดต่อเข้ามาจำนวนมาก เนื่องจาก 1.สวอท์ชเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว และ 2.ราคาสินค้าที่สวอท์ชถือว่าถูกกว่าราคาสวอท์ชในหลายๆ ประเทศ คาดว่าใน 3 ปีต่อจากนี้จะสามารถเปิดร้านสวอท์ชในจังหวัดท่องเที่ยวและหัวเมืองได้ 1 จังหวัด 1 สาขา อย่าง พัทยา เชียงใหม่ สมุย ขอนแก่น อุดรธานี หาดใหญ่ และภูเก็ตฯลฯ และในอนาคตจะเปิดให้ครบทั้ง 4 ภาค

บริษัทเชื่อว่าการขยายสาขาไปต่างจังหวัดจะทำแบรนด์สวอท์ชเป็นที่รู้จักมากขึ้นและยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในแบรนด์ให้กับกลุ่มลูกค้าซึ่งก็ส่งผลดีต่อร้านดีลเลอร์หรือร้านทั่วไปด้วย ส่วนการขยายแฟรนไชส์ในกรุงเทพฯ บริษัทคาดว่าจะขยายสาขาเองเกือบหมดแต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นนักลงทุน

ชี้โอกาสทางธุรกิจน่าลงทุน

ด้านโอกาสในการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์สวอท์ชนั้น ศิริวรรณ มองว่ามีแนวโน้มว่าน่าจะไปได้ดีและโอกาสในการลงทุนค่อนข้างสูงเห็นได้จากการเปิดสาขาพัทยา สาขาสมุย และสาขาแฟรนไชส์ของสวอท์ชในต่างประเทศ นอกจากนี้ การที่นโยบายบริษัทไม่ได้ต้องการที่จะเปิดสาขาแบบเป็นดอกเห็ดทำให้ธุรกิจนี้น่าจะดี และแบรนด์สวอท์ชเป็นแบรนด์อินเตอร์ที่ลูกค้าค่อนข้างรู้จักแต่ในช่วงการเปิด 3 เดือนแรกแฟรนไชซีอาจจะต้องเหนื่อยในการเรียนรู้กลุ่มลูกค้าก่อน และกำไรต่อชิ้นของนาฬิกาในร้านแฟรนไชส์จะสูงกว่าร้านดีลเลอร์

"จริงๆ ธุรกิจนาฬิกาควรเป็นแฟรนไชส์แล้ว เพราะนาฬิกากลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์มากขึ้น ฉะนั้นรูปแบบของชอปก็ควรอยู่ในรูปแบบไลฟ์สไตล์ชอปมากกว่าชอปที่เดินเข้าไปแล้วมีนาฬิกาวางอยู่หลายแบรนด์ คือต่อไปจำนวนแบรนด์ที่ขายในร้านนาฬิกาควรจะลดลงไป แต่มีการแบ่งเป็นเซ็กเม้นต์หรือแบ่งเป็นกลุ่มมากขึ้น"

สำหรับความแตกต่างของการเปิดร้านแฟรนไชส์สวอท์ชกับดีลเลอร์นาฬิกาสวอท์ช คือ 1.การจัดเรียงสินค้า ด้วยดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ที่ผู้ซื้อสามารถหยิบมาลองสวมใส่ได้ทันที 2.รูปแบบนาฬิกาของดีลเลอร์จะสู้รูปแบบของนาฬิการ้านสวอท์ชไม่ได้ในเรื่องของความหลากหลาย เพราะดีลเลอร์ต้องมีสต๊อกนาฬิกาหลายแบรนด์ และ 3.ทั้งร้านแฟรนไชซีและร้านของบริษัทจะมีการจัดมาร์เก็ตติ้งซัพพอร์ทในแคมเปญเดียวกัน

โดยร้านสวอท์ช 1 ร้านจะมีนาฬิกาจำหน่าย 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มคอเลคชั่นใหม่ล่าสุด 2.กลุ่มนาฬิกาที่ขายดี และ 3.กลุ่มแคลี่โอเวอร์หรือนาฬิกาที่ถูกผลิตมาเมื่อ 3-5 ปีที่แล้วแต่ยังมีกลุ่มผู้ซื้อถามถึง ซึ่งการเปิดสาขาช่วงแรกบริษัทคงจะนำสินค้าทุกกลุ่มเข้ามาจำหน่ายก่อนเพื่อศึกษากลุ่มลูกค้า นอกจากนี้แฟรนไชส์ยังสามารถจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องประดับ เช่น สร้อย จี้ห้อยคอ ของสวอท์ชได้ด้วย

ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในการตกแต่งร้านมีด้วย 3 ชุดหลัก คือ 1.Coastline ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ใช้ในร้านสวอท์ชมาแล้ว 4-5 ปี 2.Atlantis เป็นเฟอร์นิเจอร์ชุดใหม่ที่นำเข้ามาซึ่งใช้อยู่ที่ร้าน Loft หรืออิเซตัน 3. Jelly Fish เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในชอปเพียงอย่างเดียวเนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ชุดนี้การลงทุนสูงถึง 5 ล้านบาทปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวใช้อยู่ที่เกษรพลาซ่าแห่งเดียว โดยเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 3 แบบนำเข้าจากสวิสเซอร์แลนด์ทำให้มีราคาสูงซึ่งการตกแต่งชอปให้เป็นรูปแบบใดขึ้นอยู่กับงบประมาณในการลงทุนของแฟรนไชซีด้วย

ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนตลาดโต

ศิริวรรณ กล่าวต่อว่า ด้านตลาดนาฬิกาปีนี้ถือว่าค่อนข้างดีและโตมากทั้งตลาดรวมและสวอท์ช เนื่องจากตลาดนาฬิกาแฟชั่นผู้ซื้อไม่ได้ใส่เพราะมองเรื่องการใช้งานเพียงอย่างเดียวแต่ใส่เป็นสไตล์และแฟชั่นมากขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ผู้บริโภคต่อคนมีการซื้อนาฬิกาไว้ใส่มากกว่า 1 เรือน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนาฬิกาแฟชั่นราคาไม่ได้สูง

นอกจากนี้บางแบรนด์ยังมีระบบการผ่อนชำระและลดราคาทำให้ลูกค้าซื้อเยอะขึ้น ในขณะที่สวอท์ชจะไม่มีนโยบายลดราคา แต่เน้นขายความเป็นสวอท์ชและบริการหลังการขาย โดยจุดเด่นของสวอท์ช คือเรื่องของดีไซน์ที่แตกต่างจากนาฬิกาทั่วไป

ด้านการแข่งขันสวอท์ชจะเน้นการแข่งขันกับตัวเองทั้งเรื่องของการพัฒนา การบริการ การจัดการ การบริหารสต๊อก ฯลฯ เพราะสวอท์ชจับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่และยังเป็นแบรนด์แฟชั่นที่แข็งแกร่งจนสามารถขายสินค้าแบรนด์เดียวในชอปได้ในขณะที่แบรนด์อื่นจะจับกลุ่มลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว โดยร้านแฟรนไชส์นาฬิกาในตลาดคาดว่ามีสวอท์ชเพียงแบรนด์เดียว

ใคร? ที่เหมาะเป็นแฟรนไชซี

โดยหลักในการเลือกเปิดสาขาแฟรนไชส์จะต้องดูเรื่อง 1.โลเกชั่นจะต้องเป็นแหล่งที่มีลูกค้าที่ตรงกลุ่มและต้องเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่จำเป็นต้องอยู่บนห้างสรรพสินค้าก็ได้ อย่างพัทยาอยู่ที่ Walking Street หรือที่สมุยก็อยู่ใกล้ๆ กับหาดฉวาง และ 2.ดูจำนวนคนเดินผ่าน เพราะสวอท์ชเป็นนาฬิกาที่มีราคาจำหน่ายที่ไม่แพงเหมาะทั้งการซื้อให้ตัวเองและเป็นของขวัญให้กับผู้อื่น

สำหรับคุณสมบัติของแฟรนไชซีที่มองไว้ คือ 1.ควรเป็นคนในพื้นที่เพราะจะได้เข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าในพื้นที่เป็นใคร 2.ต้องรักในการบริหารสินค้าที่เป็นแฟชั่นและก็รักในการบริการ เพราะการขายสวอท์ชไม่ใช่แค่การขายนาฬิกาแต่ต้องขายความเป็นสวอท์ช และขายเรื่องบริการหลังการขายคุณภาพ และ 3.หากแฟรนไชซีมีคาแรกเตอร์ของความเป็นสวอท์ชอยู่แล้วถือว่าดี อย่างแฟรนไชซีที่พัทยาเป็นนักสะสมสวอท์ชมาก่อน เพราะจะมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้ามาระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ บริษัทก็ไม่ได้ปิดกั้นสำหรับร้านที่จำหน่ายนาฬิกาหลายๆ แบรนด์หากจะปรับตัวเป็นแฟรนไชส์ของสวอท์ชก็สามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่กลุ่มคนที่เปิดร้านแบบนี้จะชินกับการขายสินค้าหลายๆ แบรนด์มากกว่า

สำหรับกลุ่มลูกค้าของสวอท์ชมีตั้งแต่ 4 ขวบถึง 60 ปีหรือมากกว่านั้น เพราะสวอท์ชมีนาฬิกาที่เหมาะกับทั้งกลุ่มเด็กเล็กจนไปถึงผู้ใหญ่ โดยกลุ่มลูกค้าของแต่ละร้านก็แตกต่างกันไป อย่างสาขาพัทยากลุ่มลูกค้าจะเป็นนักท่องเที่ยว ในขณะที่สาขาในกรุงเทพฯ อย่างสยามจะเป็นกลุ่มนักเรียนวัยรุ่น สาขาเกษรพลาซ่า 50% ก็จะเป็นนักท่องเที่ยว สาขาลาดพร้าวจะเป็นนักศึกษา และสาขาปิ่นเกล้าจะเป็นครอบครัว

เปิดแฟรนไชส์สวอท์ชลงทุนเท่าไหร่?
1. งบประมาณในการลงทุนร้านสวอท์ชขึ้นอยู่กับขนาดและโลเกชั่น
2. บริษัทไม่มีการเก็บค่าแฟรนไชส์และค่ารอโยตี้ฟี
3. พื้นที่การเปิดเริ่มตั้งแต่ 10-60 ตารางเมตร
4. ประมาณการณ์ลงทุนหากเปิดอยู่ในพื้นที่ 30 ตารางเมตรในห้างสรรพสินค้า 1 เดือนเสียค่าเช่า 60,000-80,000 บาท, ค่าพนักงาน 20,000-30,000 บาท, ค่าน้ำค่าไฟ 2,000 บาท, ค่าสต๊อกสินค้า 500,000-1,000,000 บาท, ค่าเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้านประมาณ 500,000 บาท
5. ประมาณการณ์คืนทุน 1-2 ปี
6. บริษัทมีการเทรนนิ่งพนักงานให้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us