Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤศจิกายน 2548
เวิลด์แบงก์ลดศก.ไทยเหลือ4.2%             
 


   
search resources

World Bank
Economics




"เวิลด์แบงก์" ชี้ พิษน้ำมันฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้หด 1% ประกาศปรับลดอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเหลือ 4.2% จากเดิมประเมินไว้ 5.2% คาดปีหน้าเศรษฐกิจขยายตัว 5% การลงทุนภาคเอกชนหนุนเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยรายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกประจำปี 2548 ครั้งที่ 2 ซึ่งได้เปิดเผยรายงานพร้อมกับธนาคารโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ธนาคาร โลกประเมินการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของไทยในปี 2548 จะขยายตัว 4.2% ลดลงจากที่เคยประมาณการไว้ 5.2% ในเดือน เมษายน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นถึง 40% และผลกระทบจากภัยแล้ง ภัยสึนามิ ซึ่งสูงกว่าที่คาด การณ์ไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปี 2548 สูงขึ้นเป็น 4.5%

ทั้งนี้ การที่ภาครัฐได้ปล่อยลอยตัวราคาน้ำมัน ทำให้การบริโภคน้ำมันเบนซินในช่วง 8 เดือนแรกของ ปีลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนราคา น้ำมันดีเซลมีการใช้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง อย่างไร ก็ตาม ธนาคารโลกมองว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 น่าจะดีขึ้นต่อเนื่องจากการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3 โดยมีอัตราการขยายตัว 15% ขณะที่การนำเข้าเริ่มชะลอลง
ส่วนในปี 2549 ธนาคารโลกมองว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 5% เพราะตัวเลขการลงทุนของภาค เอกชนน่าจะขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 11% เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่ขยายตัวประมาณ 9% ช่องว่างการนำเข้าและส่งออกแคบลง ซึ่งการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นตัวหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนในปีหน้า แต่จะต้องเพิ่มการลงทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคส่งออกควรเร่งการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกในปีหน้าจะอยู่ที่ 56 ดอลลาร์ สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศสูงขึ้นอีก 14%

ส่วนอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3.5-4% และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำประมาณ 4-5% โดยเชื่อว่าการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาค รัฐ (เมกะโปรเจกต์)จะผลักดันให้ตัวเลขการนำเข้าเพิ่ม ขึ้นเฉลี่ย 1.5% ของจีดีพีต่อปีในช่วงเวลาที่ก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ 5 ปี ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2549 ขาดดุลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.7% ของจีดีพี หรือ มีมูลค่าประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ 1.5% ของจีดีพีในปีนี้ หรือเป็นมูลค่าประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ(เอฟดีไอ) ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2548 เงินลงทุนโดยตรงสูงถึง 40%
การสำรวจความเห็นของนักธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่จำนวน 325 บริษัทของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) พบว่าไทยติดอันดับประเทศน่าลงทุนในอันดับ 3 ของ เอเชีย รองจากจีน และอินเดีย ส่วนเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในปี 2548 นี้ธนาคารโลกประเมินว่าจะขยายตัว 6.2% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 7.2%Ž นางสาวกิริฎากล่าว

สำหรับจีนที่เป็นประเทศน่าลงทุนเป็นอันดับ 1 นั้น ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของจีนในปีนี้น่าจะขยายตัวอยู่ที่ 9.3% และชะลอลงเหลือ 8.7% ในปีหน้า ซึ่งการที่เศรษฐกิจโดยรวมของจีนในช่วงผ่านมาที่เติบโตได้ดีและสภาพการดำเนินการทาง การเงินจะช่วยส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้ม ลดลง ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลง เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ทางการควรหามาตรการเพื่อลดความร้อนแรงของภาคการลงทุนที่ขยายตัวอย่างมากในขณะนี้

ด้านนายโฮมิ คาราส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจในปี 2549 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยทางธนาคาร โลกเห็นว่าจะต้องมีการติดตามโรคไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องประสานความร่วมมือกัน และเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกเพื่อไม่ให้กลายพันธุ์ติดต่อจากคนสู่คน

"ประเทศในภูมิภาคจะต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ในภูมิภาค รวมทั้งต้องติดตามผลการประชุมองค์การ การค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ที่ประเทศฮ่องกงที่จะมีขึ้น ในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่าประเทศในเอเชียจะได้รับประโยชน์ประมาณ 50% จากการเปิดเขตการค้าเสรี โดยเฉพาะการค้าข้าว เป็นต้น" นายโฮมิกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us