Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
สูตรรักษาสุขภาพของทวี บุตรสุนทร             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

ทวี บุตรสุนทร




เช้าวันอาทิตย์นั้น อากาศเย็นสบาย ฝนตกพรำๆ มาตั้งแต่ค่อนรุ่ง และกว่าแสงแดดจะทอแสง ผ่านม่านเมฆออกมาก็สายมากแล้ว นักเล่นตะบองกลุ่มนั้นเริ่มออกมาฝึกท่ารำกันอย่างขะมักเขม้น ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่ ซึ่งใครๆ เรียกว่า "อาจารย์" ที่ยืนคอยอธิบาย และกำกับท่าอยู่กลางวงคือ ทวี บุตรสุนทร อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธาน กรรมการบริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) คนปัจจุบัน

คนกลุ่มนี้มีประมาณ 15 คนทุกเช้าวันอาทิตย์จะมารวมตัวกันที่สวนสาธารณะของหมู่บ้านปัญญา พัฒนาการ ตั้งแต่ก่อน 7 โมงเช้าเพื่อมาซ้อมรำตะบอง จนครบ 12 ท่า ต่อจากนั้นก็จะนั่งคุยกันต่อในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องธรรมะ เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ และที่สำคัญคือเรื่องของ "การกิน" และผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของอาหารมากที่สุด ก็คือทวี ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นบุคคลหนึ่งที่หน่วยงานต่างๆ เชิญไปบรรยาย พิเศษเกี่ยวกับหัวข้อ "กินอย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว" อยู่เป็นประจำ

"ผมไมใช่หมอนะ ผมเป็นวิศวกร" เป็นคำพูดที่เขามักบอกใครๆ อยู่เสมอเพราะจริงๆ แล้วเขาเป็นนิสิตเกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานอยู่ที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มานานกว่า 30 ปี ตำแหน่งสุดท้ายที่นั่น คือ รองผู้จัดการใหญ่ ก่อนมารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารทหารไทยในปัจจุบัน

เพียงแต่ต้องยอมรับว่าเขาเป็นผู้ที่ให้ความสนใจศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับอาหารอย่างจริงจัง ที่บ้านของเขาในหมู่บ้านปัญญา พัฒนาการ มีตำราเกี่ยวกับเรื่องอาหารจากต่างประเทศมากมายหลายร้อยเล่ม กระจัดกระจายอยู่ในห้องทำงาน ห้องรับแขก และในห้องนอน

"วันก่อน ลูกสาวเขาลองนับดูคร่าวๆ ปรากฏว่ามีเกือบ 400 เล่ม" ทวีเล่าให้ฟังด้วยใบหน้ายิ้มๆ หนังสือทุกเล่มจะเลือกประเด็นหลักๆ ที่สำคัญๆ มาทำเป็นแผ่นใสเอาไว้บรรยายให้ผู้สนใจฟังต่อไป

"กินอะไร กินอย่างไร แบบไหน ไขมันมีกี่ตัว ตัวไหนทำให้คอเรสเตอรอลสูง ผมอ่านจนละเอียด เดี๋ยวนี้ผมยังกลายเป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำผลไม้ ที่บ้านมีหนังสือเกี่ยวกับน้ำผลไม้ประมาณ 40-50 เล่ม น้ำมะเขือเทศกินดีไหม น้ำส้มต้องปั่นอย่างไร ผมก็พยายามเขียนเรื่องพวกนี้ให้จบแต่ละบทในตัวเอง แล้วมีปทานุกรมในแต่ละบท แต่มันทำให้ยาก และอันที่ 2 คือจะไม่มีภาษาฝรั่งเข้ามาปนเลย ไม่มีภาษาแพทย์เข้ามาปนเลยทำให้ผมเขียนช้า ที่จริงผมเขียนไปหลายบทแล้วนะ"

การให้ความสนใจในเรื่องอาหาร จนนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังนั้น เกิดขึ้นได้เพราะในช่วงเวลาหนึ่งเมื่อสมัย ที่เขาทำงานอยู่ที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยได้มีโอกาสเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาการเกษียณอายุก่อนกำหนด เนื่องจากการเจ็บป่วย และพบว่าบางคนเป็นโรคมะเร็ง เป็นอัมพาต ตั้งแต่อายุไม่มาก เมื่อพูดคุยหาสาเหตุก็รู้ว่าส่วนใหญ่มาจากการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง

เมื่ออ่านมาก ศึกษามาก ก็ต้องการให้คนอื่นได้รู้ และเห็นประโยชน์ด้วย เริ่มแรกจะเป็นเพียงการคุยกันกับเพื่อนๆ และ คนรู้จักบนโต๊ะอาหาร จากนั้นก็ขยายมาใช้เวลาพูดในห้องหลังเลิกงาน ปรากฏว่ามีคนสนใจฟังมากขึ้น ก็เริ่มจัดบรรยายเป็นประจำที่บริษัท ต่อมาองค์กรต่างๆ ข้างนอกก็เข้ามาเชิญไปพูดข้างนอก

เป็นนายช่างใหญ่จากบริษัทปูนซิเมนต์ ที่สร้างชื่อเสียงด้วยความรู้ในเรื่องอาหารอีกทางหนึ่งด้วย จนวันหนึ่งมีโอกาสได้รู้จักกับอาจารย์ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพในแนวธรรมชาติ และการแพทย์แบบผสมผสาน ทั้งสองคนเลยได้ผนึกกำลังกันเผยแพร่ ในประเด็นหลักๆ ที่ว่า "ทำอย่างไรให้สุขภาพดี" โดยที่ ดร.สาทิส ได้แต่งตำราออกมาหลายเล่มเป็นที่รู้จัก ในขณะที่ทวีจะมีวิดีทัศน์การบรรยายพิเศษ ออกมาเผยแพร่

ทวีเป็นคนทานอาหารแบบแมคโครไบโอติกส์ (Macrobiotics) ซึ่งมีที่มาจากอาหารของพระแบบเซนในประเทศญี่ปุ่น มีหลักสำคัญคือทานข้าวกล้อง หรือเส้นมะกะโรนีเป็นเส้นที่ไม่ฟอกขาวในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมดที่ทานแต่ละวัน ทานผักวันละ 25-30 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ทาน พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ นอกจากเนื้อปลา และควรทานปลาน้ำลึกที่ไม่มีเกล็ด โดยเฉพาะปลาเนื้อขาว เพราะมีไขมันน้อย

ตามหลักแมคโครไบโอติกส์ อาจจะกำหนดให้ทานผักสุก แต่ทวีกลับชอบทานผักดิบๆ ทุกชนิดที่เป็นสีเขียว ซึ่งมีวิตามินอี และแคลเซียมสูงมาก เขาบอกว่า ถ้ารสชาติของผักดิบไม่ขมขื่นจนเกินไปควรทานดิบๆ แม้แต่ข้าวโพด ซึ่งเป็นผักชนิดหนึ่ง ก็ไม่ควรไปทำให้สารอาหารหายไป ด้วยการทำให้ร้อนจนสุก

ที่บ้านของเขา ในห้องออกกำลังกาย จะมีตู้เย็นขนาดใหญ่วางอยู่ ใครๆ เห็นก็เข้าใจว่าเป็นตู้เก็บไวน์ แต่พอเปิดออกมาจะพบผักและผลไม้ เรียงรายอยู่มากมาย เช่น ส้ม แคนตาลูป แครอท แตงโม ซึ่งแม่บ้านเอาไว้ปั่นเป็นน้ำผลไม้ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ

"ตระกูลเบอร์ลี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่ จะมีสารต้านมะเร็ง มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี ผลไม้ไทย ก็เช่น มะละกอ วิตามินเอสูง ส้มไม่ต้องเอารกและเส้นใยออกเพราะประโยชน์อยู่ตรงนั้น ในขณะที่น้ำของมันให้ประโยชน์น้อยกว่า อย่างที่บ้านผมจะปอกเปลือกส้มแล้วแคะเม็ด แล้วปั่นเลย ส่วนองุ่นประโยชน์มากที่สุดคือเปลือกถัดไป ก็เป็นเม็ด ต้องเคี้ยวทั้งเปลือกทั้งเม็ด" เขาอธิบายให้ฟังอย่างเชี่ยวชาญ

นอกจากอาหาร ทวี บุตรสุนทร ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการออกกำลังกาย ด้วยท่าตะบองที่อาจารย์ ดร.สาทิส อินทรกำแหง คิดค้นขึ้นมา และเป็นสิ่งที่ทวีปฏิบัติมาประมาณ 7-8 ปี รวมทั้งได้เปิดสอนตะบองครั้งแรกในประเทศไทยที่สวนจตุจักรแล้ว มาเปิดที่พัฒนาการเป็นแห่งที่ 2 ลูกศิษย์บางคนนำไปเปิดสอนที่จังหวัดขอนแก่น และ สงขลา

"เรื่องสมุนไพรก็ศึกษา แต่บางอย่างมันมากไป ตำราผมก็มี แต่ผมไม่ได้กิน จำไว้ ทุกอย่างที่เข้าปาก มีทั้งประโยชน์และโทษ หากกินต้องมั่นใจ อย่างผมมีน้ำลูกยอในตู้เย็น มีคนเอามาให้แพงด้วย แต่ผมยังไม่กล้ากิน ผมยังศึกษามันไม่ถี่ถ้วน"

หลายคนคิดว่าเขาคงเคร่งครัดในเรื่องการทานอาหารอย่างมากๆ แต่บางครั้ง (นานๆ ครั้ง) เขาอาจจะแอบไปทานข้าวมันไก่เบตง ร้านอร่อยในหมู่บ้านอย่างได้รสชาติ โดยที่มื้อเที่ยงอาจจะเป็นราดหน้าทะเล แถมตบท้ายด้วยกล้วยหอมทอดเป็นของหวานด้วยซ้ำไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us