|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
- "อินดิโก" ที่ปรึกษาการจัดการองค์กร เปิดโพย 5 ตำแหน่งงานดาวรุ่งปี 2549
- HR มืออาชีพเต็งจ๋า มีแนวโน้มจะขาดแคลน จากภาวะที่องค์กรเติบโตสูงสุด และเริ่มทบทวนจริงจัง ว่าจะพัฒนากลยุทธ์คนกับองค์กรไปในทิศทางใดดี?
- ขณะที่อีก 4 อาชีพ อย่างนักบริหารโครงการ นักบริหารความเสี่ยง นักบริหารจัดการวิกฤต และ นักวิศวกรเครื่องกล เริ่มได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น จากความสลับซับซ้อนของการบริหารจัดการ
"อินดิโกคอนซัลติ้งกรุ๊ป" เก็ง 5 อาชีพดาวรุ่งที่กำลังเนื้อหอมสุดสุด และมีแนวโน้มจะขาดตลาด จากความต้องการที่สลับซับซ้อนมากขึ้นในธุรกิจ ทำให้ผู้บริหารเกิดความต้องการ DNA ของคนสายพันธุ์ใหม่ ที่เก่งคิด เก่งวิเคราะห์ เก่งบริหารจัดการ และสามารถเข้ามาตอบโจทย์ธุรกิจได้ตรงใจ
ดร.จิรพร ช้อนสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินดิโก คอนซัลติ้งกรุ๊ป จำกัด ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการและพัฒนาองค์กร กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่า จากการเข้าไปคลุกคลีและให้คำปรึกษาในองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง พบว่าลักษณะงานที่อยู่ในความสนใจของตลาด และมีแนวโน้มจะขาดแคลนมากขึ้นในปีหน้า ที่เห็นได้ชัดเจนมี 5 กลุ่มงานคือ
1. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) 2. นักบริหารโครงการ (Project Management) 3. นักบริหารความเสี่ยง (Risk Management) 4. นักบริหารจัดการวิกฤต (Crisis Management) และ 5. นักวิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer)
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
ดร.จิรพรอธิบายว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ HR โดยทั่วไปมีอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก แต่กลุ่มที่ตลาดกำลังต้องการคือ นัก HR มืออาชีพ ที่มีศัพยภาพเพียงพอที่จะเข้ามาร่วมพัฒนากลยุทธ์ด้านบุคบุคลากรให้กับองค์กรได้ สามารถมองและเข้าใจภาพรวมของงานทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และยังต้องมีความรอบรู้ในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะทิศทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ ที่จะเลือกใช้และนำเครื่องมือทางด้าน HR ใหม่ๆ อย่างเช่น Competency, Reward และอื่นๆ ที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาองค์กร
"นัก HR ในระดับมืออาชีพนี้ค่อนข้างหายาก และมีการแย่งตัวกันสูงมากในตลาด ค่าจ้างของคนกลุ่มนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่หกหลักขึ้นไป" ดร.จิรพรกล่าว
สำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เธอบอกว่า สามารถสะท้อนให้เห็นถึง ภาพรวมขององค์กรธุรกิจในปัจจุบันว่า ก้าวมาสู่ยุคที่มีการเติบโตสูงสุด ถึงช่วงที่องค์กรต้องทบทวนตัวเองว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรรักษาการเติบโตเอาไว้ได้ ตลอดจนถึงจุดที่ต้องคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดกับองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งก็ต้องหันกลับมามองเรื่องของบุคลากร จึงเกิดความต้องการ HR มืออาชีพ เข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการพัฒนาองค์กรเชิงกลยุทธ์
นักบริหารโครงการ (Project Management)
งานทางด้านผู้บริหารโครงการเป็นที่คุ้นเคยกันดี ในองค์กรประเภทที่มีรูปแบบงานในลักษณะโครงการ และองค์กรไม่ต้องการให้โครงสร้างการบริหารงานภายในมีลำดับชั้นซับซ้อน
คุณสมบัติที่ตลาดกำลังมีความต้องการ ของนักบริหารการจัดการโครงการ หรือผู้จัดการโครงการคือ ต้องมีความรู้ในสายงานอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ตั้งแต่สายงานการผลิต การขาย การตลาดทั้งหมด รวมไปถึงการเงิน
การที่อาชีพผู้จัดการโครงการ หรือบริหารโครงการ เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างมากโดยเฉพาะในปีหน้านั้น มีผลสืบเนื่องมาจากการที่โรงงานมีการขยายงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และแต่ละโครงการต้องมีความต้องการทั้งผู้จัดการโครงการ รวมถึงผู้จัดการโครงการ
"ปีนี้อินดิโกเองก็ได้เข้าไปช่วยอบรมลูกค้าในเรื่อง การจัดการโครงการให้กับนักบริหารโครงการของบริษัทหลายแห่ง ผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะเข้ามาทำงานด้านการจัดการโครงการหรือ Project Management ในตลาดแรงงานขณะนี้ยังมีไม่มาก เพราะต้องการคนที่มีประสบการณ์ มีความรอบรู้ และเข้าใจและมองภาพในการทำงานได้อย่างครบวงจร
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน หรือ ของตัวงาน ตลอดจนเทคนิค รวมถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งบวกและลบที่จะเข้ามามีผลต่อโครงการ ผู้บริหารโครงการในแต่ละสายอาชีพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ในสายอาชีพนั้นสูง จะใช้เด็กจบใหม่ไม่มีประสบการณ์มาทำไม่ได้" ดร.จิรพรกล่าว
นักบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
อาชีพนี้เริ่มเกิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม ประมาณ 2-3 ปี ซึ่งที่ผ่านมาจะอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่บางแห่ง แนวโน้มจากนี้ไปอาชีพลักษณะนี้จะทวีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น และจะขยายตัวในวงกว้างในทุกกลุ่มธุรกิจและทุกขนาดการจัดการ ลักษณะงานในตำแหน่งนี้ จะคอยบริหารและเฝ้ามองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กร การจัดทำแผนรองรับ และป้องกันความเสี่ยง โดยวัตถุประสงค์ของงานตรงนี้ ก็เพื่อทำให้ผู้จัดการสายงานรู้ว่าในการทำงานของเขานั้น อะไร? คือความเสี่ยงและจะบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างไร?
นักบริหารจัดการวิกฤต (Crisis Management)
ลักษณะของงานนี้คือ ดำเนินการและจัดทำแผนรองรับในกรณีที่องค์กรเกิดวิฤต หรือคาดว่าจะเกิดวิกฤตขึ้นมาภายในองค์กร จะต้องมีการดำเนินการอย่างไร?เช่น ธุรกิจเกิดปัญหามีผลต่อชีวิตคนในองค์กรเอง กับลูกค้า หรือกับคนนอกองค์กร หรือสิ่งแวดล้อม ธุรกิจมีการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร? โรงงานทำสารเคมีวันดีคืนดีเกิดสารเคมีเกิดรั่วขึ้นมา เป็นข่าวดังไปทั่วประเทศหรือทั่วโลก หรือเกิดภัยธรรมชาติ เกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่กรณีทุบรถยนต์ประจานที่สร้างความฮือฮาไปทั่ว
ซึ่งจะมีผลกระทบตามติดมาถึงองค์กรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การฟ้อง ยอดขาย การประท้วง ฯลฯ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ขึ้น คนในหน่วยบริหารวิกฤตจะต้องเข้ามามีบทบาท ที่ผ่านมาหน้าที่นี้มักจะเป็นงานฝากขององค์กร ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง อย่างเช่นอาจจะฝากแผนกที่เกี่ยวข้องช่วยดูแล แต่ในขณะนี้องค์กรใหญ่ๆ ได้เริ่มมีการแยกทีมงาน ที่ทำทางด้านบริหารความเสี่ยงออกอย่างมีระบบ และแผนรองรับที่ดี มีมาตรฐานมากขึ้น และมีการคาดเดา ตลอดจนคอยสอดส่องว่าธุรกิจจะมีโอกาสเกิดวิกฤตอะไรขึ้นได้บ้าง? และถ้าเกิดจะมีการบวนการจัดการและแก้ไขได้อย่างไร?
"อาชีพนี้เดิมทีจะจำกัดอยู่ในวงของบางธุรกิจอย่างเช่นสายการบิน แต่ในปัจจุบันจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โรคระบาด ภัยธรรมชาติ ตลอดจนเทคโนโลยีสานสนเทศสื่อสาร ที่ทำให้ข่าวสารต่างๆ สื่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ประกอบเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนที่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลให้ทุกธุรกิจมีโอกาสที่จะเกิดวิกฤตขึ้นได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมากปัจจัยภายในและภายนอก"
นักวิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer)
เธอบอกว่า สาเหตุที่ต้องยกให้อาชีพนี้ติดหนึ่งในอาชีพดาวเด่น ก็เพราะตลอดปีนี้พบว่า กิจการทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง และปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิศวกรเครื่องกลที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ และประสบการณ์ ที่จะออกไปช่วยองค์กรวางแผนเรื่องเครื่องจักรกลต่างๆ ที่จะนำเข้าไปใช้ในการขยายงาน
"ไม่ใช่ว่าขณะนี้เมืองไทยขาดแคลนวิศวกร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ วิศวกรในไทยมีมาก แต่วิศวกรเครื่องกลที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ มีความรอบรู้ยังมีน้อย และคนรุ่นใหม่ยังไม่สามารถพัฒนาขึ้นมารองรับลักษณะงานดังกล่าวไม่ทัน" เธอกล่าวย้ำ
|
|
|
|
|