Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์3 พฤศจิกายน 2548
ผู้บริโภคไทยยุค Smart Age ห่วงใยสุขภาพอ่านฉลากก่อนซื้อ             
 


   
search resources

Marketing
เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย), บจก.




เอซีนีลเส็นเผยผลสำรวจพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Smart Age จะให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากก่อนซื้อโดยเฉพาะผู้บริโภคชาวไทยกว่า 41% ให้ความสนใจในฉลากอาหารบนตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งมากที่สุดในเอเชีย ทั้งนี้ผู้บริโภคชาวไทยจะมีการตรวจสอบข้อมูลบนผลิตภัณฑ์เสมอ

ในขณะที่ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทั่วโลกมีความเข้าใจในข้อมูลบนฉลากอาหารเพียงบางส่วน ทั้งนี้มีผู้บริโภคเพียง 20% เท่านั้นที่ตรวจฉลากอาหารทุกครั้งในขณะที่ผู้บริโภค 40% ตรวจฉลากอาหารเมื่อซื้อสินค้านั้นๆเป็นครั้งแรก และผู้บริโภคเกือบ 30% มีการตรวจฉลากเมื่อซื้ออาหารบางชนิดเท่านั้น

การสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกโดยเอซีนีลเส็นจากผู้บริโภคกว่า 21,100 คน ใน 38 ประเทศ จากยุโรป, เอเชียแปซิฟิค,อเมริกาเหนือ, ลาตินอเมริกา และอัฟริกาใต้ โดยการสำรวจได้สอบถามผู้บริโภคทั่วโลกว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับฉลากอาหารบนตัวผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด ตรวจสอบฉลากอาหารเมื่อใดและตรวจสอบในเรื่องใดบ้างเมื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจในฉลากอาหารมากที่สุดในเอเชียถึง41% โดยผู้บริโภคชาวไทยมักตรวจสอบข้อมูลบนผลิตภัณฑ์เสมอ ในขณะที่โดยทั่วไปหนึ่งในห้าของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิค, ยุโรปและอเมริกาเหนือตรวจฉลากอาหารบนตัวผลิตภัณฑ์เป็นประจำโดยผู้บริโภคชาวลาตินอเมริกามีการตรวจฉลากมากที่สุดถึงสามในห้าของผู้บริโภค ส่วนประเทศอื่นๆในเอเชียแปซิฟิคที่อยู่ในสิบอันดับแรกของโลกที่ให้ความสนใจในการตรวจสอบฉลากอาหารได้แก่ ประเทศอินเดีย (32 %) และประเทศมาเลเซีย (29 %)

"สำหรับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร การนำเสนอฉลากอาหารไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและความชัดเจนของข้อมูลบนฉลากจะเป็นตัวตัดสินในการที่ผู้บริโภคจะลองสินค้านั้นหรือไม่ ตัวผลิตภัณฑ์เอง และฉลากผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่ายจะเป็นตัวตัดสินว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้านั้นๆหรือวางมันกลับไปบนชั้นวางสินค้า" นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

ในขณะที่ผู้บริโภคตรวจฉลากอาหารนั้นผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเข้าใจในฉลากอาหารที่พวกเขาอ่าน ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทั่วโลกกล่าวว่า พวกเขาเข้าใจแค่บางส่วนของฉลากอาหาร โดย60%ของผู้ที่อาศัยอยู่แถบเอเชียแปซิฟิคเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เข้าใจในฉลากน้อยที่สุด ตามมาด้วยชาวยุโรป (50%) และชาวลาตินอเมริกา (45%)ส่วนผู้บริโภคที่มีความเข้าใจในฉลากอาหารมากที่สุดคือชาวอเมริกัน โดย 64%อ้างว่าเข้าใจฉลากเกือบทั้งหมดจาก 13 ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิค สำหรับประเทศไทยอัตราส่วนของผู้บริโภคที่อ้างว่าไม่เข้าใจฉลากอาหารเลยมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซนต์ ในขณะที่ส่วนที่เหลืออ้างว่าพวกเขาเข้าใจในฉลากอาหารไม่ว่าจะเข้าใจเกือบทั้งหมด (40%) หรือเข้าใจเพียงบางส่วน (59%)

"มันเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ผลิตที่ต้องทำฉลากสินค้าให้ตรงประเด็นและเข้าใจง่ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับผู้บริโภคเพื่อที่ผู้บริโภคจะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าถ้าผู้บริโภคไม่เข้าในฉลากสินค้า พวกเขาอาจไม่เสี่ยงที่จะซื้อสินค้าก็เป็นได้"นางจันทิรา กล่าว

สำหรับรายละเอียดบนฉลากที่ผู้บริโภคมักจะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษคือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ไขมันเป็นส่วนประกอบที่ผู้บริโภคพิจารณามากถึง 43% น้ำตาล 42% สารกันบูด 40% สีและสิ่งปรุงแต่ง อย่างละ 36%

จากการสำรวจทั้ง5 ภูมิภาค พบว่า สหรัฐอเมริกา และลาตินอเมริกาติดอันดับสูงสุดในการตรวจสอบระดับไขมันแคลอรี่ และน้ำตาล ในขณะที่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิคให้ความสำคัญกับการดูองค์ประกอบที่เป็น สารกันบูด 47% ไขมัน 45% และสี 43% สำหรับผู้บริโภคชาวไทยจะพิจารณาฉลากโดยให้ความสำคัญกับส่วนผสมประเภทสารกันบูด 55% แคลอรี่ 52% และสี 50% บนฉลากอาหารเป็นประจำ

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่าง ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัวค่าเฉลี่ยทั่วโลก 56% ระบุว่ารู้ถึงความแตกต่าง ซึ่งสอดคล้องกันในทุกภูมิภาค ในทางตรงกันข้าม จำนวนกลุ่มเป้าหมายสิบอันดับต้นๆอ้างว่าไม่รู้ความแตกต่างโดยชาวญี่ปุ่นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง 73% ตามมาด้วยชาวฝรั่งเศส 69% ชาวไต้หวัน 63% และชาวจีน 61% เปรียบเทียบกับประเทศที่เหลือของแถบเอเชียแปซิฟิค ชาวไทยและชาวนิวซีแลนด์เป็นกลุ่มที่รู้ความแตกต่างระหว่างไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวดีที่สุด โดย 68% ระบุว่าพวกเขาตระหนักถึงความแตกต่างของไขมันทั้งสองชนิด โดยมีชาวสิงคโปร์ตามมาติดๆ 66%

"ผู้บริโภคทั่วโลกไม่เลือกซื้อสินค้าที่พวกเขาคิดว่ามีส่วนผสมที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย และตัดสินใจด้วยตัวเองในการเลือกซื้อสินค้าโดยดูจากระดับไขมันน้ำตาล เป็นต้นในตลาดที่กำลังพัฒนาผู้บริโภคให้ความสำคัญเกี่ยวกับสารกันบูดและสิ่งปรุงแต่งมากกว่าปริมาณแคลอรี่ในขณะที่ผู้บริโภคในตลาดที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญในการตัดสินใจไม่เลือกซื้อสินค้าที่มีส่วนผสมที่ทำให้พวกเขามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและการเผชิญหน้ากับการมีน้ำหนักตัวที่มากเกิน" นางจันทิรา กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us