Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
สยามฟิวเจอร์กับอนาคต             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์
www.icsc.org
www.planetretail.net

   
search resources

สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์, บมจ.




จากสภาวะล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ใครจะคิดบ้างว่าท่ามกลางวิกฤติการณ์ ยังมีกลุ่มธุรกิจที่กล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรมใหม่ ในเส้นทางที่ตนเองถนัดและไปไกลกว่าที่คาด

สยามฟิวเจอร์กับอนาคต จากสภาวะล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ใครจะคิดบ้างว่าท่ามกลางวิกฤติการณ์ ยังมีกลุ่มธุรกิจที่กล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรมใหม่ ในเส้นทางที่ตนเองถนัดและไปไกลกว่าที่คาด จากแนวนโยบายเด่นชัดผสมผสานกับความเชี่ยวชาญในธุรกิจและวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า ทำให้สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ กลายเป็นต้นแบบของธุรกิจด้านการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกในประเทศ ไทยจนกระทั่งยกระดับขึ้นในฐานะผู้นำและปัจจุบันดูเหมือนว่ายังไม่มีคู่แข่งที่แท้จริง

สยามฟิวเจอร์ฯ ก่อตั้งในปี 2537 เพื่อพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแบบเปิด หรือศูนย์การค้าชุมชน (Neighborhood Shopping Center) ถือเป็นรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่และยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากขณะนั้นซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินหรือชั้นแรกภายในห้างสรรพสินค้า

ลักษณะการดำเนินธุรกิจ คือการ นำตลาดสดหรือร้านโชวห่วยตามตึกแถวเดิมมาจัดระบบใหม่โดยมีมืออาชีพเข้ามาบริหารพื้นที่ หมายถึงซูเปอร์มาร์เก็ตเข้ามาแทนที่ตลาดสดซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากในอเมริกาและยุโรป

อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถในการยึดทำเลที่มีศักยภาพต่อการเปิดศูนย์การค้าแบบเปิดของสยามฟิวเจอร์ฯ ลูกค้าหรือผู้เช่าจึงมั่นใจต่อการดำเนินธุรกิจเป็นแรงผลักดันให้บริษัทเติบใหญ่อย่างต่อเนื่อง "ทุกแห่งมีผู้เช่าเต็มเกือบ 100% และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นทำให้ธุรกิจค้าปลีก เติบโตสูงขึ้น" นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสยามฟิวเจอร์ฯ กล่าว

นอกจากนี้ที่ผ่านมาซูเปอร์มาร์เก็ต มีแนวโน้มลดลงในการที่เข้าไปเปิดตามห้าง สรรพสินค้า รวมทั้งธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี หรือคาร์ฟูร์ ที่ใน อนาคตไม่มีความประสงค์พัฒนาที่ดินด้วยตนเองจึงเป็นโอกาสของสยามฟิวเจอร์ฯ เข้าไปเจรจาร่วมเป็นพันธมิตร

"พวกเขาจะกลายเป็นผู้เช่าภายในศูนย์การค้าของเรา" นพพรบอก

สาเหตุที่ทำให้เขาเกิดความมั่นใจ เนื่องจากการขยายตัวศูนย์การค้าแบบเปิดมีอย่างต่อเนื่องโดยจากสถิติของสภาศูนย์ การค้าระหว่างประเทศ (ICSC) พบว่าจาก ศูนย์การค้าทั้งหมด 45,721 แห่งในอเมริกา 95% เป็นศูนย์การค้าแบบเปิด

หากพิจารณาเฉพาะธุรกิจค้าปลีกคาดว่าไม่มีการหยุดขยายตัว จากการสำรวจของ M+M Planet Retail พบว่าธุรกิจนี้ขยายสาขากันทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะแถบประเทศกำลังพัฒนา เช่น อเมริกาใต้ในปี 2545 มีร้านค้าปลีก 2,861 แห่ง เพิ่มขึ้น 237.38% จากปี 2540 ขณะที่ยุโรปกลางและตะวันออก ในปี 2545 มีร้านค้าปลีก 2,250 แห่ง เพิ่มขึ้น 185.89% จากปี 2540 เช่นเดียวกับเอเชียแปซิฟิกตัวเลขในปีนี้อยู่ที่ 28,663 แห่งเพิ่มขึ้น 51.30% ภายในระยะเวลา 5 ปี

ตัวเลขดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันอนาคต สดใสของสยามฟิวเจอร์ฯ ประกอบกับประมาณ 4 ปีที่ผ่านมากลุ่มคู่แข่งบางแห่งหยุดดำเนินงานศูนย์การค้าเปิด อาทิ กลุ่มสยามพรีเมียร์และกลุ่มเฟิสท์แปซิฟิค "ก่อน วิกฤติเศรษฐกิจมีเจ้าของที่ดินมาเปิดโครงการเอง แต่ปัจจุบันแทบไม่มีใครลงทุน เพิ่มเพราะไม่ใช่ตลาดของมือสมัครเล่น" นพพรเล่า

ด้วยความสำเร็จอันรวดเร็วผสมผสานกับการมองอนาคตอย่างมั่นใจ จากนี้ไปสยามฟิวเจอร์ฯ จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการใหม่ๆ ที่ต้องใช้เงินถึง 80 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us