Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
ความท้าทาย             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

www.db.com

   
search resources

วรภัค ธันยาวงษ์




มีผู้บริหารมืออาชีพสัญชาติไทยไม่กี่คน ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดกับบรรษัทข้ามชาติ จะตัดสินใจลาออกด้วยเหตุผลหลัก "หมดความท้าทาย" แต่วรภัค ธันยาวงษ์ ทำมาแล้ว

หากดูนามบัตรของวรภัค ธันยาวงษ์ ที่งานด้านตลาดทุนอยู่ภายใต้การบริหารของเขาทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ Managing Director, Co-Head of Global Markets, Head of Debt Markets & Liability Risk Management แห่งดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ประจำประเทศไทย และเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแผนกค้าเงินตราต่างประเทศถูกโอนมาอยู่ในความดูแลของเขา

ด้วยอายุเพียง 38 ปีของวรภัคแต่เขากลับถูกเลือกและได้รับความไว้วางใจจากสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ สัญชาติเยอรมันให้รับผิดชอบงานด้านตลาดทุน (Capital Market) ทั้งหมดในประเทศไทย ถือเป็นความภูมิใจสำหรับเขาอย่างยิ่ง

"เป็นงานที่สนุก ท้าทาย และเหมือน กับเป็นงานช่วยชาติ ทำให้บริษัทลูกค้าสามารถหาเงินทุนเข้ามาทำธุรกิจต่อไปได้" วรภัคบอก "เราหาของมาขายเพื่อไม่ให้เงิน นอนอยู่นิ่งๆ งานเราเหมือนกับเอา Story ของลูกค้าไปขาย และช่วยให้นักลงทุนมีช่องทางการลงทุนเพิ่มขึ้น"

นับตั้งแต่วรภัคเข้ามาทำงานในดอยช์แบงก์ถูกจับตามองจากวงการมากพอสมควรในฐานะผู้บริหาร "มืออาชีพรุ่นใหม่" ที่มีความสามารถและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่าทำไมเขาเลือกเส้นทางการทำงานหนักทั้งๆ ที่ในอดีต ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุดแล้ว

วรภัคจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Management Science & Computer System จาก Oklahoma State University ในปี 1986 เป็นสาขาที่เขาชื่นชอบมานานและใฝ่ฝันอยากจะทำงานด้านนี้ แต่เมื่อพ่อแม่ต้องการให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทก่อน และแนะนำว่าควรจะเลือกเรียนด้านการเงินเพราะมีงานรองรับได้กว้างกว่าทางวิทยาศาสตร์ วรภัคจึงไปเรียน เอ็มบีเอด้านไฟแนนซ์ ที่ University of Missouri และสำเร็จในปี 1988

ในปีถัดมาเขากลับมาทำงานให้กับไอบีเอ็มสาขาประเทศไทยในฐานะ Leasing Specialist ทั้งๆ ที่ในใบสมัครงานเป็นตำแหน่ง System Engineer แต่เขาก็เข้าทำงานด้วยความคิดที่ว่าไม่นานบริษัทคงจะย้ายไปในตำแหน่งที่ต้องการ

อย่างไรก็ดี ด้วยความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและงบการเงินทำให้ วรภัคเริ่มชอบงานด้านการเงินมากขึ้น และนี่คือจุดเริ่มต้นชีวิตการทำงานในตลาดทุนจนถึงปัจจุบันทั้งๆ ที่ Computer Program- ing คือสิ่งที่เขาหมายมั่นปั้นมือที่จะเข้ามาทำงานให้ได้

หลังจากทำงานที่ไอบีเอ็มได้ปีครึ่งวรภัคตัดสินใจลาออกเพื่อแสวงหาความท้าทายกับ Bank of America สาขาประเทศไทย เริ่มต้นด้วยเจ้าหน้าที่ด้าน Corporate Banking และดูเหมือนว่าโชคจะเข้าข้างเพราะตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ธนาคารสัญชาติอเมริกันขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

"เป็นงานที่สนุกเพราะกิจกรรมของธนาคารยุคก่อนวิกฤติ Active มากทำให้เรามีประสบการณ์มากนับตั้งแต่ Project Finance ระดับเล็กไปจนถึงดีลโรงกลั่นน้ำมันที่เข้าไปสัมผัสมาแล้วทั้งสิ้น"

ด้วยฝีมืออันโดดเด่นของวรภัค จึงได้รับการโปรโมตให้เป็น Country Manager หน้าที่หลักคือ ดูภาพรวมทั้งหมด ด้าน Corporate Banking โดยเน้นการตลาด ถือเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับความไว้วางระดับนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อธนาคารแห่งนี้รวมกิจการกับเนชั่นแบงก์ช่วงปี 1997 ประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจกำลังโจมตีเอเชีย อีกทั้งนโยบายใหม่ที่มุ่งทำธุรกิจเฉพาะในอเมริกาทำให้การทำงานของสาขาต่างประเทศจึงลำบากมากขึ้น

ด้วยบุคลิกที่กระตือรือร้น สถาน การณ์เช่นนี้ทำให้วรภัคเริ่มมองอนาคตของ ตนเองและการตัดสินใจลาออกเพื่อแสวง หาความท้าทายเป็นวิธีที่เขาเลือก "ทุกคนที่บ้านคัดค้านการตัดสินใจของผม" เขา เล่า "แต่ผมเลือกแล้วโดยให้เหตุผลว่าจะให้มาทำหน้าที่เพียงไปตัดริบบิ้น พบปะผู้ใหญ่ ไปประชุม มันไม่สนุกและหมดความท้าทายอีกต่อไป"

แม้กระทั่งผู้บังคับบัญชาที่โปรโมตเขาให้ขึ้นถึงระดับนี้ยังอดแปลกใจไม่ได้กับการตัดสินใจลาออก "เขาบอกว่าอุตส่าห์ผลักดันให้ดำรงตำแหน่งนี้จะหนีไปแล้ว หรือ ผมก็ให้เหตุผลว่าคุณโปรโมตขึ้นมาแต่เหมือนกับส่งผมไปรบแต่ไม่ให้อาวุธ จะขอทำอะไรก็ไม่ให้"

ขณะที่ Bank of America เริ่มลดบทบาทการทำงานในต่างประเทศลง (เช่น สาขาในไทยช่วงที่วรภัคเป็น Country Manager มีพนักงานประมาณ 150 คน ปัจจุบันเหลือประมาณ 60 คน) ทางด้านดอยช์แบงก์เริ่มคึกคักมากขึ้นหลังเปลี่ยนสถานะจาก Commercial Bank เป็น Investment Bank โดยเฉพาะหลังรวมกิจการกับแบงเกอร์ทรัสต์ในปี 1998 ส่งผลให้วรภัคไม่ลังเลใจที่จะตอบรับข้อเสนอจากผู้บริหารดอยช์แบงก์ในเมืองไทยที่มองเห็นฝีมือการทำงานของเขา

สิงหาคมปีที่ผ่านมา วรภัคเข้ามาดูแลงานด้านตลาดทุนซึ่งเป็นเส้นทางชีวิตการทำงานที่เลือกเดินด้วยตนเอง "ที่นี่มีความท้าทายมากขึ้น ต้องเข้าใจกลไกตลาด ดูด้านผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่ทำหน้าที่เพียงการตลาดเท่านั้น"

นับตั้งแต่เข้ามาสัมผัสบรรยากาศทำงานแห่งใหม่ ดูเหมือนว่าวรภัคมีความสุขไร้ความกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรจากอเมริกันให้เป็นยูโรเปี้ยน "ผมไม่มีความกดดันเพราะที่นี่มี value relationship ค่อนข้างมาก ส่วนสไตล์อเมริกันต่อให้คุณมีสายสัมพันธ์แนบแน่นแต่เมื่อไรที่ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายโดยเฉพาะ ด้านตัวเลขโอกาสที่จะหลุดมีมาก"

เขายังอธิบายต่อไปว่า "สไตล์ ยูโรเปี้ยนจะเข้าใจในกระบวนการทำงาน อย่างเช่นเราขอทำ Underwrite 100 ล้านเหรียญสหรัฐง่ายมากเมื่อเทียบกับองค์กรเก่าที่ต้องทำรายงาน 30-40 หน้า"

นอกเหนือไปจากการแข่งขันทางด้านธุรกิจเพื่อแสวงหารายได้ให้กับบริษัทแล้ว วรภัคยังมีแนวความคิดในการพยายาม พัฒนาตลาดทุนไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น "ผมจะนำเอารูปแบบการทำงานจากตลาดทุนต่างประเทศเข้ามาพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้กับตลาดทุนไทย" เขาบอก "แม้กระทั่งโกล บอลบอนด์ของกระทรวงการคลังก็เป็นหุ้นกู้รูปแบบใหม่ซึ่งเราก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วม โดยในอดีตไทยไม่เคยออกหุ้นในลักษณะเช่นนี้มาก่อน"

เช่นเดียวกับโครงสร้างหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (IFCT) ที่ดอยช์แบงก์เข้าไปทำให้ในฐานะ Sole Arranger ถือเป็นหุ้นกู้ประเภท Structure Note ที่ออกครั้งแรกในตลาดทุนไทย

นอกเหนือจากนี้สิ่งที่วรภัคกำลังเตรียมการและสนใจที่จะเสนอ คือ ผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ อาทิ หุ้นกู้ของกรุงเทพ มหานคร, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึง Securitization ซึ่งแทบจะไม่มีให้เห็นในตลาดทุนไทยเลยนับตั้งแต่ปี 2000 ที่เลแมน บราเดอร์สดำเนินการให้กับจีอี แคปปิตอล

อีกทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือหุ้นกู้อายุ 10 ปี 20 ปีที่ยังไม่มีให้เห็นในตลาดทุน "การทำงานยุคใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์ มีสิ่งแปลกใหม่ที่ลูกค้าต้องการมาดำเนินการ" วรภัคบอก

หากพิจารณาถึงโครงสร้างตลาดหุ้น กู้ในไทยพบว่าสถาบันการเงินต่างประเทศมีบทบาทอย่างมาก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินท้องถิ่น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีต่อการเติบโต เพราะปัจจุบันตลาดหุ้นกู้ในไทยยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณเงินที่อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์

"พวกเรามองว่าตลาดนี้จะขยายตัว ได้อีกมาก แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องเป็นผู้นำ และช่วยกันพัฒนาตลาดทุน" วรภัคกล่าว "ทุกวันนี้ธนาคารท้องถิ่นทำหน้าที่เพียง

รับฝากกับปล่อยกู้เท่านั้น ซึ่งเป็น Old Fashion ขณะที่ในต่างประเทศพวกเขา ทำหน้าที่หาเงินให้กับลูกค้าในรูปแบบอันหลากหลาย"

แน่นอนไม่มีใครปฏิเสธแนวความคิด ของวรภัค แต่อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจเพราะตราบใดที่ไม่เติบโตเขาก็ยังต้องหากินอยู่กับผลิตภัณฑ์เดิมๆ ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us