Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤศจิกายน 2548
ธ.ก.ส.ตั้งเป้าปล่อยกู้ปีหน้า2.46แสนล. เน้นลูกค้ากลุ่ม-หนุนนโยบายรัฐเต็มสูบ             
 


   
search resources

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - ธ.ก.ส.
Loan




“ธ.ก.ส.” วางนโยบายปี 49 ตั้งเป้าขยายสินเชื่อใหม่ 2.46 แสนล้านบาท เน้นปล่อยสินเชื่อกลุ่ม 12% หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท ลดความเสี่ยงของสินเชื่อ พร้อมสนองนโยบายรัฐเต็มเหนี่ยว เผยผลดำเนินงานปี 48 ล่าสุดสินเชื่อคงค้าง 3.8 แสนล้าน คาดทั้งปี กำไรอาจต่ำเป้า 2.3 พันล้าน เหตุต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น หลังขยับดอกเบี้ยฝาก แต่ยังไม่ปรับดอกกู้

นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปีบัญชี 2549 (1 เมษายน 2549- 31 มีนาคม 2550) ธ.ก.ส. ได้ตั้งเป้าขยายสินเชื่อไว้ที่ 246,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 8-12% ยอดเงินฝากเพิ่ม ขึ้น จากปีก่อนไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท การเพิ่มรายได้จาก ค่าธรรมเนียมการให้บริการต่างๆ (FBI) เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท การขยายเครือข่ายการบริการเพิ่มอีก 100 แห่ง ซึ่งจะมีการเปิดสาขาขนาดเล็กในแหล่งชุมชน และจัดระบบเวลาการให้บริการนอกเหนือเวลาปกติด้วย

นอกจากนี้ จะเร่งช่วยเหลือและฟื้นฟูการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการผลิต ส้ม ลำไย และกุ้ง การนำระบบโครงการธุรกิจหลัก (Core Banking System) มาใช้ในการดำเนินงาน การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของพนักงาน การให้ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการจัดเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตร ใน พืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ข้าวหอมมะลิ ยางพารา อ้อย มัน สำปะหลัง ข้าวโพด ลำไย มังคุด ทุเรียน เงาะ และกุ้ง และสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ SPV

สำหรับนโยบายในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ ใหม่นั้น ธ.ก.ส. จะเน้นการให้สินเชื่อผ่านระบบกลุ่มต่างๆ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 12% ของเงินให้สินเชื่อรวม เช่น สินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน SML ธนาคารชุมชน กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น การให้สินเชื่อและสนับสนุนการจัดการแก่ สหกรณ์ทุกประเภท การสนับสนุน สินเชื่อแก่กลุ่มเป้าหมายอาชีพใหม่ จำนวน 5,000 ล้านบาท เช่น องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ใหม่ในชุมชน การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ในชุมชน รวมถึงการให้บริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการใช้ L/C เพื่อสนับสนุนลูกค้าด้านตลาดสินค้า เกษตรระหว่างประเทศอีกด้วย

นายประยงค์ ตันบี้ ผู้อำนวย การฝ่ายนโยบายและแผน ธ.ก.ส. กล่าวว่า เป้าการขยายสินเชื่อในปี 2549 ที่ตั้งไว้ 246,000 ล้านบาทดังกล่าว แบ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อ ตามนโยบายจำนวน 2,300 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อ รับจำนำพืชผลทางการเกษตร ส่วนที่เหลืออีก 223,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อตามปกติของธนาคาร ซึ่งรวม สินเชื่อกองทุนหมู่บ้าน SML ธนาคารชุมชน กลุ่มเกษตรกรด้วย

สำหรับผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2548 ได้ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 170,000 ล้านบาท ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 20% โดยเป้าทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 12-15% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี ธ.ก.ส. ไม่ได้เน้นเรื่องปล่อยสินเชื่อแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ช่วงการผลิตของเกษตรกร ขณะที่ มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 380,000 ล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 5% คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเอ็นพีแอลดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นเอ็นพีแอลจริงทั้งหมด เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ยังครบกำหนดเวลาชำระเงินแต่เกษตรกรยังไม่มาชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันการตั้งสำรอง หนี้สงสัยจะสูญของ ธ.ก.ส. ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังนั้น ธ.ก.ส.ได้สำรองครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ โดยมีการสำรองประมาณ 7,000 -8,000 ล้านบาท

ส่วนผลกำไรนั้น ในปี 2548 นี้ ธนาคารตั้งเป้าไว้ที่ 2,300 ล้านบาท แต่ในภาวะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นนั้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของธนาคารเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธนาคารจึงจำเป็นต้องทบทวนเป้าใหม่อีกครั้ง แต่จะพยายามรักษาระดับกำไรไม่ให้ ต่ำกว่า 1,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรที่ทำได้ในปี 2547   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us