|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ช็อก!!สถานการณ์ดอกเบี้ยยังคงหลอนคนผ่อนบ้านและคนกู้บ้านรายใหม่ จับตาดอกเบี้ยสูงขึ้น 1% ส่งผลให้เงินในกระเป๋าของผู้บริโภคหายวูบ 6,000 ล้านบาทต่อปี จับตาดอกเบี้ย MLR ปี 2549 มีสิทธิ์แตะ 8.25-8.50% เตือนคนซื้อบ้านต้องรู้จักการออม ชี้เงินออมเทียบกับระดับรายได้ลดฮวบจากก่อนวิกฤตที่ 12% มาต่ำกว่า 5% ด้านภาวะตลาดอสังหาฯยังเติบโตในอัตราลดลง คาดปีหน้า 5% ของจำนวนหน่วยที่ออกสู่ตลาด ขณะที่มูลค่าประเภทที่อยู่อาศัยเติบโตแค่ 10% หรือ 1.95 แสน ลบ.
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเปิดเผยด้วยความเป็นห่วงต่อ แนวโน้มการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และทิศทางของเศรษฐกิจที่เติบโตลดลง กำลังก่อปัญหาต่อการบริโภคของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ผ่อนชำระที่อยู่อาศัย ที่สามารถในการชำระเงินกู้มีอัตราที่ลดลง โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำและจำกัด รวมถึงระดับการออมของแต่ละครอบครัวมีความเพียงพอมากหรือน้อยแค่ไหนในการรองรับการผ่อนชำระที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ หากวิเคราะห์จากฐานสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบ ที่มียอดคงค้างอยู่ที่ 1.12 ล้านล้านบาท ณ ไตรมาสที่ 2 ของปี 48 และประเมินจากกลุ่มผู้ที่น่าจะอยู่ในฐานคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งน่าจะเป็นผู้ที่กู้อยู่เดิมมากกว่าผู้กู้รายใหม่ พบว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 1% จะทำให้เงินในกระเป๋าของผู้บริโภคกลุ่มนี้หายไปประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 0.15% ของมูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนของประเทศ ซึ่งจำนวนเงินที่หายไป จะส่งผลให้ภาวะการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคในส่วนอื่นๆ ถูกตัดลง เพื่อนำมาเป็นค่าผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว (พิจารณาตารางประกอบ)
“เท่าที่สังเกตตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายของธปท.จะขยับขึ้นเร็วกว่าของ สถาบันการเงิน คาดว่าถึงกลางปี 49 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปีถึงครึ่งปียังคงขยับ แต่โดยรวมแล้วทั้งปีอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับปี 48 แล้วจะลดลง โดยปีนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4.7% และปี 49 จะอยู่ที่ 4% ขณะที่เมื่อมองไปปี 2547 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ไม่สูง อัตราดอกเบี้ยยังต่ำ ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้หรือกำลังซื้อที่เยอะ แต่ปี 49 จะมีมุมกลับกัน คือ รายจ่ายของคนผ่อนชำระบ้านจะเพิ่มขึ้นและเร็วกว่ารายได้และเริ่มใกล้เต็มกับระดับรายได้” แหล่ง ข่าวกล่าว
ตามข้อมูลของบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้คาดการณ์อัตราดอกเบี้ย MLR จะมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 6.00-6.50% ภายในสิ้นปี 48 และขยับขึ้นไปสูงถึง 8.25-8.50% ภายในสิ้นปี 2549 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 1% จะทำให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคลดลงประมาณ 8% ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายที่เร็วกว่ารายได้ของผู้คนผ่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในด้านของธนาคารพาณิชย์ จะมีการปรับความเสี่ยงโดยการลดวงเงินการปล่อยกู้จากก่อนหน้านี้ประมาณ 90% ของราคาบ้าน ลงมาเหลือ 80% ของราคาบ้าน นั่นหมายถึง ลูกค้าจะต้องมีเงินออมถึง 20%
นอกจากสิ่งที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในอนาคตแล้ว เรื่องของการออมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องมาพิจารณาอย่างรอบคอบ จากข้อมูลในปี 2546 เงินออมเทียบกับระดับรายได้อยู่ที่ 6% ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตที่ระดับ 12% และคาดการณ์ว่าในปี 48 เงินออมเทียบกับระดับรายได้จะอยู่ต่ำกว่า 5% และลดลงไปอีก 1-2 ปี ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากต้นทุนค่าครองชีพของผู้ผ่อนชำระบ้านสูงขึ้น แต่เป็นปัญหาในระยะสั้น เนื่องจากรัฐบาลกำลังมีนโยบายการออมภาคบังคับ
สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์วิจัยฯระบุว่า ในปีนี้ยังคงมีอัตราเติบโตในอัตรที่ลดลง โดยจะมีจำนวนหน่วยที่ออกสู่ตลาดประมาณ 65,000 หน่วย ซึ่งเติบโตจากปี 47 เนื่องจากในช่วงต้นปี 48 ผู้ประกอบการอสังหาฯยังมีความเชื่อมั่นต่อตลาด ประกอบกับคอนโดมิเนียมมีการก่อสร้างเสร็จในปีนี้ อย่างไรก็ตามในปี 49 คาดว่าตลาดอสังหาฯจะขยายตัวไม่เกิน 5% ส่วนมูลค่าของตลาดที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยฯในปีนี้จะมีมูลค่า 1.95 แสนล้านบาท เติบโต 10% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ในปี 2547 ที่จะมีมูลค่า 1.7 แสนล้านบาท ขณะที่ตัวเลขมูลค่าที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศในปี 46 อยู่ที่ 1.3 แสนล้านบาท ปี 45 อยู่ที่ 79,000 ล้าน บาท
|
|
|
|
|