|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท. เผยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไตรมาส 3 หดตัว เหตุน้ำมันแพงและค่าครองชีพเพิ่ม ธปท. ชี้ แม้ความต้องการที่แท้จริงยังมีอยู่ แต่ดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นส่งผลผู้บริโภคลังเล เพราะอาจต้องแบกภาระดอกเบี้ยแพงตามมา ส่วนมูลค่าการซื้อขายที่ดินล่าสุดเดือน ส.ค. ขยายตัว 9.7% เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง
นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของประชาชนระดับกลางและระดับล่างยังคงมีอยู่ แต่ราคาบ้านที่อยู่ในระดับสูงและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอลง รวมทั้งการที่สถาบันการเงิน เริ่มลดต้นทุนทางด้านอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่และเงื่อนไขที่ผ่อนปรนมีน้อยลงทำให้ผู้ที่จะซื้อบ้านต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้นเพราะจะต้องมีภาระการผ่อนชำระเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายงาน เศรษฐกิจและการเงินของ ธปท. ระบุว่า อสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 3 ของปี 2548 มีแนวโน้มชะลอตัวลงมาก เนื่องจากกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลงจากราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ที่จะเพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งทำให้ความต้องการในภาคอสังหาฯชะลอตัว
ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวสอดคล้องกับการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนหมวดการก่อสร้างโดยสะท้อนได้จากเครื่องชี้เกือบทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนประเภทอาคารชุดและบ้านสร้างเองที่ยังเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประกอบการ และสินเชื่อส่วนบุคคลชะลอตัวเนื่องจากสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเพราะได้พิจารณาว่ามีความเสี่ยงที่อาจเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาวะอสังหาฯของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จะพบว่าค่อนข้างทรงตัวเช่นกัน โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศ มีทั้งสิ้น 57,232 ล้านบาท หรือขยายตัว 9.7% ขณะที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่วประเทศขยายตัวติดลบ 4.8% ซึ่งในส่วนเฉพาะของที่อยู่อาศัยติดลบ 5.4% ส่วนแนวโน้มในระยะต่อไป ธปท.คาดว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวต่อเนื่องจากความต้องการที่มีกำลังซื้อลดลงในส่วนของผู้ประกอบการจะมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลงตามความต้องการของผู้บริโภค
|
|
|
|
|