ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกทั้งระบบตามลิสต์ในมือของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 มีอยู่ทั้งสิ้น 188 แห่งเงินลงทุน 1,300.93 ล้านบาท
ใช้แรงงานทั้งชาย และ หญิง 5,574 คน เป็นอย่างต่ำ
อย่างไรก็ตาม ทุกคนที่เกี่ยวข้องยอมรับว่า ตัวเลขไม่หยุดเพียงแค่นี้แน่นอน
เพราะตั้งแต่ค่าเงินบาทของไทยลดต่ำลงเมื่อ 2 ปีก่อนเป็นต้นมาบรรดาโรงงานเซรามิกส่งออกของลำปางเกือบทุกแห่ง
มีออร์เดอร์ทั้งจากลูกค้าในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ล้นมือ จนต้องให้คนงานทำล่วงเวลามาจนถึงทุกวันนี้
บางรายต้องหยุดทำตลาดต่างประเทศมาแล้วร่วมๆ 2 ปี เพราะผลิตสินค้าป้อนให้ไม่ทัน
บางรายต้องขอเลื่อนกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าให้ ยาวนานที่สุดเท่า ที่จะทำได้
แน่นอน ประเด็นเรื่องค่าเงินบาท ที่ต่ำลงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ที่ทำให้พวกเขาทำยอดส่งออกได้อย่างเต็มไม้เต็มมือเช่นทุกวันนี้
ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถลดราคาให้ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ โดยอาศัยส่วนต่างของค่าเงินบาท
ที่แต่เดิมอยู่ ที่ 25 บาทเศษ/ดอลลาร์ มาเป็น 30-40 บาท/ดอลลาร์
แต่สิ่งสำคัญก็คือ ตัวสินค้า ทั้งในแง่รูปแบบดีไซน์ คุณภาพของเนื้อดิน เฉดสี
ฯลฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะระยะ 10 ปีที่ผ่านมานี้
เซรามิก ลำปาง เกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคแรกเริ่มเมื่อ 40-50 ปีก่อน ชนิด
ที่ว่าหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว
จากบลู & ไวท์ ก็มีหลากหลายสีสันมากขึ้น จากลูกกรงเซรามิก-ถ้วย ตราไก่
ก็มีรูปแบบสินค้าใหม่ๆ ปรากฏให้เห็นตลอดเวลา จนสามารถขยายฐานการตลาดได้อย่างมากมาย
กลายเป็นสินค้า ที่วิ่งตามโลกแฟชั่นได้อย่างกลมกลืน
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ประกอบการเซรามิกลำปางบางรายสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดินขาว-ถ้วยตราไก่
ราคา 8-10 บาท/ชิ้นในอดีต ให้มีราคาสูงสุดกว่า 400-500 บาท /ชิ้น และทำจนต้องขอหยุดออร์เดอร์ลูกค้าไว้ก่อน
เพราะไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของตลาดได้
อย่างไรก็ดี เมื่อลงลึกในรายละเอียดของตัวผู้ประกอบการแต่ละรายแล้ว พบว่าการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางในห้วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ อยู่ในเงื้อมมือของ
"เลือดใหม่" ของวงการ
เช่น ธนบดีอาร์ตเซรามิก ของศิลปินหนุ่มวัย 37 ปีจาก รั้วศิลปากร, มีลาภเซรามิก
ของหนุ่มใหญ่วัย 30 กว่าปีที่มีวุฒิการศึกษาเพียงแค่มัธยมศึกษาปีที่ 3 และไม่เคยมีพื้นฐานด้านเซรามิกมาก่อน,
เอสพีเซรามิก ของหนุ่มนักบริหารจากรั้วรามคำแหง ที่เริ่มต้นด้วยเงินเพียง
30,000 บาท, มีศิลป์เซรามิก ในมือของ 2 พี่น้องนิติศาสตรบัณฑิตจุฬาฯ วัย
32 ปี นักการเงินหนุ่มดีกรีปริญญาโท จากอเมริกา และ SPP เซรามิก ของหนุ่มไทยเชื้อสายไต้หวัน
ผู้ริเริ่มให้เฉดสีสดใสแก่เซรามิกลำปาง เป็นต้น
วันนี้อาจจะเรีย กได้ว่าพวกเขากลายเป็นยังเติร์กของวงการเซรามิกเขลางค์นครไปแล้วก็ว่าได้
พวกเขาไม่เพียงแต่แหกคอกประเพณีปฏิบัติของนักอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางยุคบุคเบิกในอดีต
ด้วยแนวคิดด้านตัวสินค้าเท่านั้น ยังมีการนำวิธีการจัดการสมัยใหม่-อินเตอร์เน็ต
เข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจเก่าแก่ของลำปางได้อย่างลงตัว
และปัจจุบันกลุ่มยังเติร์กเซรามิกลำปางเหล่านี้ กำลังหาญกล้า ที่จะสร้างอำนาจต่อรองให้กับเซรามิกเมด
อินไทยแลนด์ ที่ในตลาดโลกจัดอยู่ในกลุ่มราคาเดียวกับฟิลิปปินส์-อินโดฯ หรือสูงกว่าเซรามิกจากจีนแผ่นดินใหญ่
อันดับเดียว ให้เทียบเท่ากับเซรามิกจากญี่ปุ่น-ไต้หวัน หรือแม้แต่เซรามิก
ที่มาจากอิตาลี-อังกฤษ ด้วยการใช้แบรนด์ของพวกเขาเอง
โดยมีกำหนดเริ่มต้นศักราชใหม่ของเซรามิกลำปาง ที่ว่านี้ในซีซันใหม่ ที่จะถึงนี้
หรือตั้งแต่ 25 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป
ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของสมาคมเครื่องปั้นดินเผา ที่เป็นศูนย์รวมของ ผู้ประกอบการทั้ง
76 รายนั้น อนุรักษ์ นภาวรรณ ผู้จัดการโรงงานบริษัท อินทราเซรามิก จำกัด
เจเนอเรชั่น ที่ 2 ของตระกูลนภาวรรณ 1 ใน 3 ของ กลุ่มผู้บุกเบิกเซรามิก ลำปางเมื่อ
50 ปีก่อน วัย 37 ปี ได้รวบรวมเอาบรรดาคนในรุ่นที่ 2 ของโรงงานเซรามิกลำปาง
เข้าร่วมเป็นกรรมการสมาคมในสมัยนี้เฉลี่ยอายุแต่ละคนไม่เกิน 40 ปีทั้งสิ้น
เช่น มีลาภ ตั้งสุวรรณ อุปนายกคนที่ 1 จากหจก.มีลาภเซรามิก วัย 38 ปี, อธิภูมิ
กำธรวรรินทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท มีศิลป์เซรามิก จำกัด วัย 32 ปี เลขาธิการสมาคม,
ยุทธนา ผลเจริญ ลูกชายของสมชาย ผลเจริญ แห่งบริษัทแสงชัยเซรามิก จำกัด เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ,
ชัชวาลย์ กิตติโรจนา ประชาสัมพันธ์สมาคม จากบริษัทกิตติโรจน์ดินขาว จำกัด
อนุรักษ์กล่าวว่า ขณะนี้สมาคมมีแนวคิด ที่จะจัดทำ home page ของ สมาคมฯ
ขึ้น เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของสมา ชิกทุกราย/ร่วมกันต่อรองกับแหล่งจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือแก๊ส
เพื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการ ในพื้นที่รวมกันจัดซื้อแก๊ส หวัง ที่จะได้ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอันจะมีส่วนช่วย
เสริมบทบาทของสมาคมให้โดดเด่นยิ่งขึ้ น จนอาจจะสามารถเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยปัญหาการลอกเลียนแบบ
ระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเองได้ในอนาคตด้วย
ย้อนรอยเซรามิกเขลางค์นคร
ที่จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของเซรามิก หรือเครื่องปั้นดินเผา ลำปาง มี ที่มาจากการพบหิน
ที่ใช้ลับมีดของชาวบ้านอำเภอแจ้ห่ม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแร่ดินขาว จากนั้น
ไม่นานนัก มีชาวจีนไท้ปู อันเป็นเมือง ที่มีชื่อเสียงทางด้านผลิตถ้วยจาน
ชาม ชื่อ "ซิมหยู แซ่ฉิน" (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบัน) และ "เซี๊ยะหยุย แซ่อื้อ"
(โรงงานไทยมิตรในปัจจุบัน) รวมทั้ง "ซิวกิม แซ่กว๊อก" ร่วมกันออกค้นหาแหล่งดินขาวโดยมีทวีผลเจริญ
เจ้าของโรงงานเซรามิกย่าน วงเวียนใหญ่ กรุงเทพฯ ให้การสนับสนุนด้านการเงินกระทั่งพบแหล่งดินขาว
บ้านปางค่า อำเภอแจ้ห่ม ระหว่าง กม.26-27 ถนนลำปาง-แม่ทะ เมื่อปี 2490
ต่อมามีการค้นพบว่า แร่ดินขาว ที่ ลำปาง มีปริมาณสำรองใต้ดิน มากที่สุด
ในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 65% ของมูลค่าการผลิตรวมทั้งประเทศ และมีดินเหนียวคุณภาพดีมากถึง
93% ของมูลค่าการผลิตทั้งประเทศ
จากนั้น ก็มีการจ้างคนลากเกวียน บรรทุกแร่ดินขาวมาทดลองปั้นถ้วยชาม จาน
ในโรงงานของซินหยู แซ่ฉิน ต่อมา 3 สหายจากจีนแผ่นดินใหญ่ และเต๊กเซียง แซ่เทน
(โรงงานเจริญเมืองในปัจจุบัน) ได้หาแหล่งเงินทุนจาก ซิน หมิน แซ่เลียว เจ้าของร้านตัดเสื้อผ้าในลำปางสมัยนั้น
) นำเงินมาลงทุนราว 20,000 บาท ร่วมกันก่อตั้งโรงงานแห่งแรกของลำปางชื่อ
"โรงงานร่วม สามัคคี" เมื่อปี 2500 ที่บ้านป่าซาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
โดยอาศัยพื้นฐาน และฝีมือ ที่เคยทำงานในโรงงานถ้วยชามของทวีผลเจริญ ที่กรุงเทพฯ
มาก่อน ดำเนินการปั้นถ้วยชาม พร้อมกับวาดลวยลายไก่ ขนาด 6-7 นิ้ว และถ้วยยี่ไฮ้
เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็นำไปเผากับเตาเผามังกรโบราณ ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และนำไปจำหน่ายในท้องตลาดลำปาง
แต่ทำกันได้เพียง 3 ปี ก็มีการขายกิจการให้กับนายทุน โดยผู้ซื้อได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นโรงงาน
"เสถียรภาพ" หุ้นส่วน ที่เคยร่วมมือกันก็แยกย้ายกันออกไปตั้งโรงงานถ้วยชามของตนเอง
หลังจาก 3 สหายยุคบุกเบิกเซรามิกลำปาง เริ่มต้นผลิต ถ้วยชามตราไก่ ได้ราว
2-3 ปี หรือราวปี 2502-05 ก็มีกลุ่มชาวจีนจากท้องถิ่นเดียวกับ พวกเขาทยอยเดินทางมาก่อตั้งโรงงานผลิตถ้วยตราไก่
ถ้วยก๋วยเตี๋ยวกันมากขึ้น รุ่นแรกๆ ก็คือ โรงงานถ้วย ชามลำปางของ ทวี ผลเจริญ
และ เพื่อน ต่อมา ทวี ก็ได้แยกตัวออกไปตั้งโรงงานใหม่ชื่อ "โรงงานทวีผล"
และนำเตาเผา แบบสี่เหลี่ยมเข้ามาทดลองเผา อันเป็นเตาแบบใหม่ (ปี 2505) และ
ที่โรงงานทวีผลนี้เอง ที่ได้ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยด้วย
ระยะปี 2505-10 กลุ่มคนจีน ที่มีถิ่นฐานในประเทศไทยก็ทยอยเข้ามา ลงทุนตั้งโรงงานถ้วยชามในลำปางเพิ่มขึ้น
โดยเป็นโรงงาน ที่ใช้เตามังกรเผา- เตาสี่เหลี่ยม และเตาอุโมงค์ เพราะใกล้แหล่งวัตถุดิบ
แต่ในยุคนั้น มีปัญหาทางเทคนิคด้านวัตถุดิบ เทคนิคการผลิต ที่ล้าหลัง เกิดการสูญเสียวัตถุดิบ
ค่อนข้างมาก คุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอ ขายได้ในราคาต่ำ และเฉพาะพื้นที่-กรุงเทพฯ
เท่านั้น
อย่างไรก็ตามราวปี 2510-12 สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของไทย และ ความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น
กรมวิทยา ศาสตร์ ได้ให้ความสนใจเซรามิกลำปาง และจัดประกวดถ้วยชามขึ้น และให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
แนะนำให้เกิดการลงทุน จัดสัมมนา พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไปดูงานในต่างประเทศ
ทำให้อุตสาหกรรมเซรามิกของลำปางเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ยอดโรงงานในขณะนั้น
เพิ่มขึ้นเป็น 18 แห่ง
กระทั่งปี 2517 กลุ่มเจ้าของโรงงานเซรามิกลำปางทั้ง 18 แห่ง ภายใต้การนำของ
"ชาญ ลิมป์ไพบูลย์" เจ้าของโรงงานไทยเจริญในปัจจุบัน ได้ร่วมกันก่อตั้ง "ชมรมเครื่องปั้นดินเผา
ลำปาง" ขึ้นเป็นครั้งแรก (ปัจจุบันมี สมาชิกทั้งสิ้น 76 แห่ง)
ปี 2518-28 ถือเป็นห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเซรามิกลำปาง ที่สำคัญช่วงหนึ่ง
โดยเฉพาะในด้านกระบวนการผลิต จากเดิม ที่เคยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผามังกรโบราณก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบของเตา
และมีการใช้แก๊สมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟืน ทำให้สินค้ามีคุณภาพ มากขึ้น และสม่ำเสมอ
ให้สีสันโดดเด่นมากขึ้น พร้อมทั้งประหยัด ลดการสูญ เสียด้านวั ตถุดิบ ที่เคยเป็นปัญหาในอดีตได้มาก
เซรามิกลำปางเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีการส่งออกไป ตลาดต่างประเทศในรูปแบบน้ำเงินขาว
(Blue & White) ระหว่างปี 2528- 37 ผลิตภัณฑ์เซรามิกจากลำปางมีความหลากหลายทั้งด้านรูปแบบตัวผลิตภัณฑ์
เนื้อสโตนแวร์ เอิร์ทเทิร์น ปอร์ซเลน และเทคนิคการผลิต มีการใช้เครื่องมือเครื่องจักร
ที่ทันสมัยเข้ามา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเกื้อหนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์
มีการเริ่มนำเอาเตาเผารุ่นใหม่ๆ มาใช้ เช่น เตาเผาแบบ ซัตเติล, เตา อุโมงค์,
เตาฉนวนไฟเบอร์ เป็นต้น ส่วนสไตล์ของสินค้ามีความเป็นสากลมากขึ้น มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ออกมาตลอดเวลา เพื่อสร้างตลาดกลุ่มใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
จุดเด่นเซรามิกลำปาง
- มีแบบ ที่เป็นอนุรักษนิยม คือ ใช้กรรมวิธีแบบจิ๊กเกอร์ (เครื่องปั้นดินเผากึ่งเครื่องกึ่งมือ)
ใช้คนลำเลียงผลิตภัณฑ์เข้า-ออก ขณะที่กรรมวิธีผลิต จนถึงปัจจุบันยังคงมีการเผาโดยใช้เตามังกรแบบโบราณ
เพื่อผลิตชามตราไก่ขนาด 5-7 นิ้วอยู่ราว 7-8 โรง
- แบบเตาแก๊ส (แบบ Shuttle) หรือเตาเผาแบบกระสวย หมายถึงการเคลื่อนที่ของผลิตภัณฑ์เข้าไปในเตาเป็นช่
วงๆ เพื่อให้ได้สินค้า ที่มีคุณภาพ และสามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้
การใช้เตาเผาแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารของชำร่วยของตกแต่งในบ้าน
ลูกกรงเซรามิก งานปั้น ที่ใช้ฝีมือ และงานเบญจรงค์
- แบบใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เป็นแบบเตาอุโมงค์ (Tunnel Klin) อันเป็นการเผาแบบต่อเนื่อง
ลำเลียงผลิตภัณฑ์เข้าเตาไม่หยุด จากนั้น เคลื่อนที่ออกอีกด้านหนึ่งของเตา
ซึ่งสามารถขยายกำลังการผลิตได้ทั้งปริมาณ-คุณภาพ ตามความต้องการของลูกค้าต่างประเทศได้ดี
สามารถให้สีสัน ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ชุดชา-กาแฟ ถ้วยชาม จาน
กระถาง ขนาดยักษ์ แจกัน ชุดอาหาร 20 ชิ้น เป็นต้น