Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 พฤศจิกายน 2548
เงินเฟ้อสูงสุดรอบ7ปี ธปท.ระบุยังพุ่งได้อีก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงพาณิชย์
Economics




เงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด ล่าสุดตัวเลขเดือน ต.ค.ทำสถิตินิวไฮแตะ 6.2% ขยับขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี เหตุจากน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่ารถ ค่าเรือ พาเหรดขึ้น "การุณ" ยอมรับตัวเลขทั้งปีอาจสูงถึง 4.5% แถมลากยาวถึงต้นปีหน้า ด้านผู้ว่าฯแบงก์ชาติ คาด 2 เดือนสุดท้ายมีสิทธิ์สูงกว่าเดือนตุลาฯ ได้อีก เชื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยไม่กระทบนโยบายการเงินของไทย

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน ต.ค.48 สูงขึ้น 0.3% ชะลอตัวลงจากเดือน ก.ย.ที่สูงขึ้น 0.7% เป็นผลจากสินค้าในหมวดอาหารที่สำคัญมีราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า เนื้อหมู ไข่ไก่ และผลไม้สด แต่เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.47 สูงขึ้น 6.2% เป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 85 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ย.41 ส่วนดัชนีเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) สูงขึ้น 4.3%

"เงินเฟ้อในเดือน ต.ค.นี้ ถ้าเทียบเดือนต่อเดือนจะเห็นว่าเริ่มต่ำลง จากเดือน ก.ย.และเป็นการชะลอตัวลงเรื่อยๆ จากที่สูงสุดในเดือน ก.ค.คือ 1.6% เนื่องจากช่วงนั้น เป็นช่วงที่มีการปล่อยลอยตัวน้ำมันดีเซล ทำให้คาดว่าในเดือนต่อไปดัชนีเงินเฟ้ออาจจะต่ำลงกว่านี้"นาย การุณ กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อเทียบเดือนเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อสูงขึ้น 6.2% เกิดจากราคาน้ำมันเป็นหลัก โดยราคาน้ำมันเดือนต.ค.ปีนี้สูงกว่าเดือนต.ค.47 อัตรา 31.7% และยังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่ากระแสไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) 2 ครั้ง 13.55 สตางค์ต่อหน่วย รวมทั้งการปรับขึ้นของค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารเรือ ค่าธรรมเนียมสนามบิน และค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในประเทศเริ่มมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยราคา น้ำมันดิบดูไบ เดือน ต.ค.48 บาร์เรลละ 53.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนก.ย.ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่บาร์เรลละ 56.65 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 4.99% ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับลดลง โดยเบนซินปรับลดลง 4 ครั้ง ดีเซลลดลง 1 ครั้ง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อลดลง

นายการุณกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่ตั้งไว้เดิม 4.2% นั้น เห็นว่าในเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกเดือน ย่อมทำให้อัตราเฉลี่ยสูงขึ้น แต่ยังไม่ขอระบุว่าทั้งปีจะเป็นเท่าไร จะแถลงในเดือนพ.ย.นี้ แต่ถ้าพิจารณาจากการคาดการณ์ของกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระดับ 4.4-4.5 % น่าจะเป็นไปได้ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ทั้งปี 4.5-5.5% โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์คาดว่าทั้งปีอาจะไม่เกินระดับ 4.5%

ส่วนเงินเฟ้อในปี 49 คาดว่าในช่วงต้นปี อัตราเงินเฟ้อจะยังขยายตัวในอัตราที่สูง เพราะฐานเงินเฟ้อ ในช่วงต้นปี 48 อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากรัฐบาลยังตรึง ราคาน้ำมันเอาไว้ และขณะนี้ผลกระทบจากราคาน้ำมันเริ่มมีชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่ลอยตัวน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น แต่เชื่อว่ากลางปี 49 เงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวลดลง

สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งคำนวณจากสินค้าและบริการ 266 รายการ หักสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน คิดเป็นสัดส่วน 25% ออก เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.48 สูงขึ้น 0.1% เทียบเดือน ต.ค.47 สูงขึ้น 2.4% ส่วนอัตราเฉลี่ย 10 เดือน เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้น 1.4%

นางนทีทิพย์ ทองเขาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ในส่วนที่เป็นผลกระทบโดยตรงเห็นผลทันที ส่วนผลกระทบทางอ้อม เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ใช่ผลกระทบในอัตราสูงสุด ดังนั้น คาดว่าผลกระทบจะมีอีกในเดือนถัดไป แต่จะมากเท่าไรขึ้นอยู่กับกลไกตลาดที่จะแข่งขันกัน และประสิทธิภาพการควบคุมราคาสินค้าของภาครัฐ

"ขณะนี้ได้ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บตัวอย่างราคาแก๊สโซฮอล์ การใช้จ่ายค่าโดยสารเครื่องบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ว่ามีสัดส่วนต่อน้ำหนักในการมาเป็นฐานคำนวณเงินเฟ้อเท่าไร ซึ่งถ้ามีสัดส่วนขั้นต่ำ 0.01% ก็จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อด้วย" นายนทีทิพย์ กล่าว

ต.ค.ยังไม่ใช่ระดับสูงสุด

ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย.และ ธ.ค.มีโอกาสที่จะสูงกว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนต.ค.ที่กระทรวงพาณิชย์ ประกาศที่ระดับ 6.2% ได้อีก ส่วนจะขึ้นไปที่ระดับเท่าไรนั้นเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว เป็นตัวเลขที่ ธปท.ประเมินไว้แล้ว โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นมาก ที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 และจะสูงกว่า 6% อย่างแน่นอน ฉะนั้นในช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.)จึงได้ขึ้นดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (ดอกเบี้ยอาร์พี) ถึง 0.50% ติดต่อกัน 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นไปอีก
"ตัวเลขที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ แบงก์ชาติได้คาดไว้อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เราคาดไว้ตั้งแต่กลางปีแล้วว่าเงินเฟ้อจะสูงกว่า 6% หลังจากนั้นเราจึงได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายติดกัน 2 ครั้ง และจากในแบบจำลองพบว่าเงินเฟ้อของอีก 2 เดือนที่เหลือปี 48 นี้จะสูงกว่า 6.2% ได้อีกเล็กน้อย"ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

ทั้งนี้คาดว่า หลังจากดำเนินนโยบายดอกเบี้ยมาในทิศทางดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อ ที่เร่งสูงขึ้นในไตรมาส 4 ค่อยๆ ปรับลดลงในไตรมาส แรกปีหน้า ก่อนที่จะลดลงอย่างชัดเจนในไตรมาส 2 และมั่นใจว่าการขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ติดกัน 2 ครั้งน่าจะเพียงพอในการสกัดไม่ให้เงินเฟ้อสูงกว่าที่ ธปท. ประมาณการไว้ ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งสุดท้ายในปีนี้วันที่ 14 ธ.ค.จะยังต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในระดับ 0.50% หรือไม่นั้น ธปท.จะต้องดูสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง

ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันนี้ (2 พ.ย.) เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทย เนื่องจาก ธปท.จะให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก และที่ผ่านมาเฟดก็มีการปรับ ขึ้นดอกเบี้ยเป็นปกติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ และคงไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

มิถุนายน เงินเฟ้อทั่วไป 3.8
กรกฏาคม เงินเฟ้อทั่วไป 5.3
สิงหาคม เงินเฟ้อทั่วไป 5.6
กันยายน เงินเฟ้อทั่วไป 3.0
ตุลาคม เงินเฟ้อทั่วไป 6.2   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us