Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545
ประสบการณ์ 3 แบงก์             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคลสมชาย สกุลสุรรัตน์

   
search resources

สมชาย สกุลสุรรัตน์




การลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย ของสมชาย สกุลสุรรัตน์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือ คนที่มีประสบการณ์อย่างสมชายในวงการธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้น มีอยู่ไม่กี่คน

เขามีโอกาสผ่านประสบการณ์การเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารถึง 3 แห่งด้วยกัน

สมชายเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรี อยุธยา และธนาคารศรีนคร ก่อนที่จะมารับตำแหน่งที่ธนาคารทหารไทย

"ผมเป็นกรรมการผู้จัดการแบงก์มาแล้วถึง 7 ปี ตอนนี้จึงต้องการหยุดพักบ้าง" เขาให้เหตุผลในวันแถลงข่าวการลาออก

สมชายเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 โดยการชักชวนของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรองประธานกรรมการ โดยตามสัญญาจ้างงานนั้น เขาจะต้องรับตำแหน่งนี้ไปจนถึงเดือนเมษายน 2546 แต่เขาใช้วิธีไม่ต่อสัญญา และขอลาออกก่อนกำหนด

สมชายเข้ามาในแบงก์ทหารไทยในช่วงที่แบงก์แห่งนี้กำลังมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังจากเขาเข้ามา 3 เดือน วันที่ 1 ตุลาคมปีเดียวกัน ทวี บุตรสุนทร ซึ่งขณะนั้นยังเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ถูก พล.อ.วิมล วงศ์วานิช ประธานคณะกรรมการธนาคาร ชักชวนให้มาเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมเงื่อนไขพิเศษที่กองทัพจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารภายในธนาคาร โดยมอบอำนาจสิทธิ์ขาด ให้กับทวี

ทวี บุตรสุนทร ถือเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่เน้นในเรื่องความโปร่งใส และจริยธรรมในการบริหารองค์กรมากที่สุดผู้หนึ่งในประเทศไทย

ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ยังเป็นช่วงที่สถาน การณ์ของธนาคารไทยยังไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ผลประกอบการงวดสิ้นสุดปี 2542 ขาดทุนสุทธิ 11,623.72 ล้านบาท และยังขาดทุนหนักขึ้นในปีต่อมาอีก 25,063.83 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานของธนาคารทหารไทย เพิ่งจะเริ่มมีกำไร ในปี 2544 จำนวน 655.46 ล้านบาท และในครึ่งแรกของปีนี้ ยังมีกำไรต่อเนื่องอีก 456.59 ล้านบาท แต่ผลประกอบการไตรมาส 3 สิ้นสุด 30 กันยายนที่ผ่านมา กลับมาขาดทุนอีกครั้งจำนวน 1,625.69 ล้านบาท

ผลประกอบการที่กลับมาขาดทุนอีกครั้ง ผนวกกับแรงกดดันจากพนักงานบางส่วน ที่มองว่าสมชายเคยบริหารงานผิดพลาด ในช่วงที่ยังอยู่ที่ธนาคารศรีนคร จนทำให้แบงก์ชาติต้องสั่งให้ไปรวมกับธนาคารนครหลวงไทยเมื่อตอนต้นปี อาจมีส่วนต่อการตัดสินใจลาออกของสมชาย

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์บริหารในธนาคารพาณิชย์ถึง 3 แห่ง น่าจะทำให้สมชายเป็นคนที่มีข้อมูลในวงกว้าง โดยเฉพาะ เรื่องราวของคนในวงการธุรกิจ รวมถึงสายสัมพันธ์ที่หลากหลาย กับคนที่เคยเป็นลูกค้าของธนาคารมาก่อน

คุณสมบัตินี้เชื่อว่าคนอย่างสมชาย น่าจะเป็นที่ต้องการตัวขององค์กรธุรกิจอีกหลายแห่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us