Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
สยามสินธรยังปิดตัวเงียบ             
 


   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
สยามสินธร




สยามสินธรเป็นบริษัท ที่ได้เกิดจากการถากถางทางมาร่วมกันระหว่างแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ในสมัยมีธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร

เป็นบริษัทพัฒนา ที่ดินบริษัทแรกของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ขยายงานออกไปเมื่อปี 2531 ด้วยเป้าหมายสำคัญ ที่จะทำการพัฒนา ที่ดินแปลงใหญ่ๆใจกลางเมือง ข้อมูลจากกรมทะเบียนการค้าล่าสุด เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ระบุไว้ว่า มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 4 รายคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 37.5% ไทยพาณิชย์ 25% และแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 14% และอนันต์ อัศวโภคิน ประมาณ 11%

ตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2531 บริษัทมีทรัพย์สินรวมประมาณ 200 กว่าล้านบาท เวลาผ่านไปจนถึงสิ้นปี 2539 บริษัทนี้มีสินทรัพย์รวมก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 10,650 ล้านบาทมากกว่าสินทรัพย์ของบริษัท ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อีกหลายๆ บริษัทด้วยซ้ำไป แม้จะลดลงเหลือ 8,708 ล้านบาท เมื่อปี 2541 ก็ตาม

สูตรสำเร็จ ที่ลงตัวอย่างง่ายๆ ที่ถูกกำหนดไว้ก็คือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์จะเป็นผู้บริหารการก่อสร้างในที่ดินย่านใจกลางเมืองของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้สนับสนุนทางด้านการเงิน ปัจจุบัน มีธงชัย จิระดิลก ลูกหม้อเก่าแก่จากค่ายแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ นั่งเป็นกรรมการ

ผู้จัดการใหญ่ ในปี 2537 บริษัทมีการเพิ่มทุนอย่างมหาศาลจาก 180 ล้านบาท เป็น 1 ,000 ล้านบาท เงินส่วนหนึ่งได้ถูกนำไปซื้อ ที่ดินแปลงใหญ่ใจกลางเมืองเพิ่มเติมอีกหลายแปลง เพื่อรอจังหวะในการพัฒนา เมื่อมีแหล่งเงินทุนหนาอย่างแบงก์ไทยพาณิชย์ มีแลนด์แบงก์ดีๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯมีโนฮาว และกำลังคนจากแลนด์ แอนด์ เฮาส์ บริษัทนี้จึงเติบโตอย่างน่ากลัว มีการขยายบริษัทเครือข่ายเช่นเกิดบริษัทสยามรีเทล เจ้าของโครงการแฟชั่นไอร์แลนด์ แล้วยังไปลงทุนในบริษัทฟินิกซ์ แลนด์ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อซื้อโครงการสนามกอล์ฟฟินิกซ์ ที่พัทยา รวมทั้งการเข้าไปซื้อโครงการสมประสงค์พลาซ่าหรือจอมเทียนซีไซด์ของ ประสงค์ พานิชภักดี ลูกหนี้รายใหญอีกรายของ แบงก์ไทยพาณิชย์

โครงการแรกๆ ที่ได้พัฒนาในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สิน และเป็นที่รู้จักในวงการคือ โครงการรัตนโกสินทร์วิวแมนชั่น ตึกแฝดริมแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการดิโอลด์สยามพลาซ่า และอาคารสินธรถนนวิทยุ

หากไม่เกิดความผันแปรทางด้านภาวะเศรษฐกิจเกิดขึ้นการเข้าผงาดในตลาดหลักทรัพย์คือ เป้าหมายต่อไปว่ากันว่าผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ เองก็วาดหวังไว้สูงว่าบริษัทสยามสินธรจะเป็นบริษัททางด้านพัฒนา ที่ดิน ที่จะสร้างเม็ดเงินมหาศาลทดแทนความผิดพลาดจากการที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยไปลงทุนในธุรกิจสื่อสาร ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จด้วยซ้ำไป

แต่วันนี้โครงการพัฒนา ที่ดินหลายโครงการของสยามสินธรเงียบหายไปพร้อมๆ กับการปิดตัวเงียบของผู้บริหารบริษัท แต่ตัวเลขหนี้สินกำลังก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ในปี 2541 บริษัทสยามสินธรมีตัวเลขหนี้สินรวมสูงถึง 9,989 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้สิน ที่เกิดจากการเข้าไปลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมประมาณ 20 บริษัท เป็นหนี้สิน ที่เกิดจากโครงการที่กำลังพัฒนา และ ที่ดิน ซึ่งรอการพัฒนาอีกจำนวนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ปี 2540 ขาดทุนสูงถึง 2,765 ล้าน บาท และปี 2541 ขาดทุนถึง 1,948 ล้านบาท

โครงการที่กำลังทำรายได้ให้กับสยามสินธรในวันนี้ ่จึงมาจากโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบเล็กๆ ซึ่งเป็นธุรกิจ ดั้งเดิม ที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ถนัด เช่น โครงการจอมเทียนซีไซด์ริมหาดจอมเทียน ที่เอามาพัฒนาต่อจากบริษัท สมประสงค์ นั้น ได้เปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถสร้างยอดขายได้ ล่าสุดได้ปรับปรุงเป็นอพาร์ตเมนต์กว้างประมาณ 30 ตารางเมตร สัญญาเช่า 60 ปี ราคาค่าเซ้ง 2.5 แสนบาท และบางส่วนก็ได้ปล่อยเช่าล่าเป็นรายวัน

โครงการบ้านนริศา และนริศราญ ย่านบางขุนเทียน ที่ประสบปัญหาในเรื่องการขายเช่นเดียวกันกับโครงการของบริษัทอื่นๆ และทางบริษัทก็ไม่มีแผนโปรโมตยอดขายอะไรทั้งสิ้น

ส่วนบริษัทดุสิตสินธรบริษัทในเครืออีกแห่งหนึ่งกำลังพัฒนาโครงการ "ดุสิตอเวนิว" ที่อยู่อาศัยเป็นคอนโดกลางเมืองสูง 7 ชั้น 198 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์ และ อาคารพาณิชย์อีก 58 ยูนิต ในพื้นที่ 7 ไร่บริเวณเชิงสะพานซังฮี้ ในส่วนของคอนโดนั้น ราคา 3 ล้านบาท ขึ้นไปนั้น ถึงแม้จะขายได้แต่อาคารพาณิชย์ และทาวน์เฮ้าส์ราคาประมาณ 8 ล้านบาทนั้น ก็คงขายไม่ง่ายนักเช่นกัน

วันนี้บริษัทสยามสินธร จึงไม่สามารถก้าวได้ไกลอย่างที่หวังเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us