Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548
8-9-3 YAKUZA             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Social




หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น พยายามที่จะเรียกขานพวกเขา ด้วยศัพท์บัญญัติทางกฎหมายในฐานะ Boryokudan หรือ violence groups แต่สำหรับสมาชิกในองค์กรอาชญากรรมที่มีรากฐานมายาวนาน ถ้อยความดังกล่าวเป็นประหนึ่งการหลู่เกียรติ และหยามศักดิ์ศรีอย่างรุนแรง

เนื่องเพราะความหมายของ Boryo-kudan ได้ผลักให้ Yakuza เป็นเพียงกลุ่มอาชญากรระดับสามัญที่ไม่ได้แตกต่างจากโจรและมิจฉาชีพที่อาศัยความรุนแรงในการประทุษร้ายต่อทรัพย์และชีวิต ในสารบบของคดีอาชญากรรมทั่วไป

แม้ว่าการดำรงอยู่ของ Yakuza จะดำเนินไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความเป็นไปของกลุ่มอันธพาลหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล ที่อาจพบเห็นได้ทั้งในประเทศด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ด้วย บริบทของสังคมแบบญี่ปุ่น Yakuza กลายเป็นกลุ่มนอกกฎหมายหรือ crime syndicate ที่ได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่รู้จักของผู้คนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ความภาคภูมิใจในความเป็น Yakuza มิได้เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอยไร้รากฐาน หากแต่เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ Yakuza ในยุคบุกเบิก ซึ่งสะท้อนผ่านศัพท์บัญญัติว่าด้วย Yakuza นี้

Yakuza เป็นคำที่เกิดขึ้นจาก hana-fuda (flower-cards) ซึ่งเป็นการละเล่นเกมไพ่ชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น โดยผู้ที่ถือไพ่ชุดที่ประกอบด้วย 8-Ya (hachi) 9-Ku (kyu) และ 3-Sa (san) ที่มีผลรวมเท่ากับ 20 ถือเป็นไพ่ชุดในมือที่แย่ที่สุด (useless hand) และถือเป็นไพ่ในมือของผู้แพ้โดยแท้

ฐานคติดังกล่าวได้สะท้อนลักษณะความเป็นไปของ Yakuza ในฐานะ bad hands of society ได้อย่างชัดเจน เพราะแม้ Yakuza จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่น่าพึงประสงค์ แต่บทบาทในการเก็บรับความไม่ดีไม่งามของสังคมให้อยู่ภายในมือเสียเองนี้ กลายเป็นกรณีที่สังคมญี่ปุ่นไม่สามารถปฏิเสธการดำรงอยู่ของพวกเขาได้

ขณะเดียวกันวิวัฒนาการของ Yakuza ที่สามารถสืบย้อนไปตั้งแต่สมัย Edo (1603-1867) ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองสูงสุดของระบบโชกุน ได้เน้นย้ำบทบาทของ Yakuza ในฐานะของการเป็นผู้พิทักษ์ ปกป้องและให้บริการต่อทั้งเจ้านายเหนือหัวและสังคมไปพร้อมกัน

ความสามารถในการกระชับและรวมศูนย์อำนาจของระบอบโชกุน Tokugawa ได้ส่งผลให้บทบาทของขุนนางศักดินา (feudal lord) ถูกลดทอนลงอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีว่าด้วยการจัดเก็บรายได้จากที่นา ที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยตรงเช่นเดิม หากแต่ต้องผ่านระบบ feudal tax ขณะที่ในยุคแห่งความสงบของสมัย Edo นี้เหล่าขุนศึก (samurai) ซึ่งเดิมมีบทบาททั้งในฐานะ ทหารอาชีพในยามสงคราม และเจ้าหน้าที่บริหารในยามสงบให้กับ daimyo ในเขตหัวเมืองใหญ่น้อย จำนวนมากถูกผลักให้กลายเป็นขุนศึกไร้สังกัด (ronin) ไปโดยปริยาย

ขุนศึกไร้สังกัด ซึ่งสูญเสียอาชีพเหล่านี้บางส่วนได้ผันตัวไปสู่การเป็นนักรบเสเพล (kabukimono) ด้วยอาภรณ์ที่ดูแปลกตา และสำเนียงภาษาที่เถื่อนหยาบเฉพาะกลุ่ม ที่มักอ้างตัวในฐานะ hatamoto yakko หรือผู้รับใช้ โชกุน (servants of the shogun) เพื่อเรียกร้องค่าคุ้มครองและปล้นสะดมชาวบ้านร้านถิ่น แต่นั่นย่อมมิใช่รากกำเนิดที่สมาชิกของ Yakuza ประสงค์จะอ้างอิง

บรรดาสมาชิกของ Yakuza ส่วนใหญ่ พึงใจที่จะอ้างแนวคิดเชิงอุดมคติของเหล่า samurai และ ronin ที่ผันตัวมาเป็นผู้พิทักษ์ชุมชนหรือ machi yakko (servants of the town) ซึ่งทำหน้าที่รักษาระเบียบและป้องกันชุมชนจากผู้คุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะจากหมู่โจรและเหล่า hatamoto yakko ด้วย

บทบาทของ Yakuza ตามแนวคิดแบบ machi yakko ที่เน้น help the weak and oppose the strong (kyoki wo kujiki yowaki wo tasukeru) จึงกลายเป็นประหนึ่ง เรื่องราวของวีรบุรุษของผู้ด้อยโอกาสที่ยืนหยัดอยู่ข้างผู้ยากไร้และปราศจากหนทางสู้ ไม่แตกต่างจากเหล่าวีรบุรุษในตำนานพื้นบ้านของหลายประเทศ และทำให้สถานะของ machi yakko ได้รับการยกย่องจากชุมชนอย่างมาก ก่อนที่ขุนศึกจากส่วนกลางจะเข้ามากระชับอำนาจอีกครั้ง เพื่อควบคุมกระแสนิยมของ machi yakko ในเวลาต่อมา

กระนั้นก็ดี ไม่ว่า Yakuza จะยึดถือการสืบทอดแนวความคิดของกลุ่มว่ามาจาก hatamoto yakko หรือ machi yakko ก็ตาม ความเป็นไปและภาพลักษณ์ของ Yakuza ใน ระยะต่อมาต่างได้รับอิทธิพลจากบรรพบุรุษทั้งสองอย่างแยกไม่ออก โดยมีสีสันของการแต่งกายและสำเนียงภาษาที่ได้รับการสืบทอด มาจาก kobukimono เป็นลักษณะเด่นด้วย

ความจำเริญและขยายตัวทางสังคมเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ความเป็นไปของ Yakuza คลี่คลายออกไปสู่บริบทสังคมอื่นๆ และกลายเป็นต้นร่างของรูปแบบประพฤติกรรมของ Yakuza ที่ยังดำเนินอยู่และสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน

กลุ่มพ่อค้าเร่ (tekiya : peddlers) ซึ่งเดิมเป็นชนชั้นที่มีสถานะทางสังคมต่ำที่สุด ในระบบวรรณะแบบ Edo เริ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิก ด้วย การจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการค้าขายในเทศกาล ต่างๆ ทั้งงานวัด งานศาลเจ้าหรืองานประจำเมือง รวมถึงการอำนวยความสะดวกและดูแลเรื่องความปลอดภัย โดยสมาชิกแต่ละรายจะต้องจ่ายค่าเช่าและค่าคุ้มครองเป็นการตอบแทน

สถานะของกลุ่ม tekiya ได้รับการหนุนนำให้สูงขึ้น เมื่อรัฐบาลโชกุนแห่ง Edo ให้การรับรองสถานะของ oyabuns (fathers : หัวหน้ากลุ่ม) ของกลุ่มพ่อค้าเร่เหล่านี้ด้วยการมอบนามสกุลและอนุญาตให้สามารถพกพาดาบ ซึ่งถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากของกลุ่มพ่อค้าเร่ เพราะก่อนหน้านี้กลุ่มคนที่สามารถพกพาอาวุธได้ จำกัดอยู่เฉพาะเพียง samurai และขุนนาง (nobleman) เท่านั้น

กลุ่มนักพนัน (bakuto : gamblers) กลายเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ส่งทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้กับ Yakuza เพราะนอกจากการลักลอบเล่นพนัน ซึ่งเดิมมักใช้บริเวณของวัดและศาลเจ้าร้างตามเขตชานเมืองเป็นสถานประกอบการ จะต้องมีการวางกำลังคุ้มกันทางเข้าออกของบ่อน ภายในบ่อนพนัน เหล่านี้ยังก่อให้เกิดธุรกิจการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูง (loan sharking) ให้กับลูกค้าของบ่อนไป พร้อมกัน

แม้ว่า bakuto จะเป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมต่ำกว่ากลุ่มพ่อค้า (tekiya) ด้วยเหตุที่การพนันถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ขณะที่บ่อนพนันและนักพนัน เหล่านี้ ได้รับการเหยียดหยามจากสังคมอย่างกว้างขวาง แต่ภาพลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ของ bakuto กลับส่งผ่านอิทธิพลกลายเป็นวัฒนธรรมหลักที่สะท้อนเอกลักษณ์ของ Yakuza ไว้อย่างแนบแน่น

ไม่ว่าจะเป็นการสักตามร่างกาย หรือ Irezumi (Japanese tattoos) ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ bakuto ที่มักเปลือยร่างกายท่อนบนขณะเล่นพนัน เพื่อเป็นเครื่องแสดงออกของการประกาศศักดา รวมถึงการบั่นปลายข้อนิ้วก้อยของมือข้างซ้าย (yubitsume) ซึ่งพวก bakuto ถือเป็นสัญลักษณ์ของการสำนึกผิดอย่างสูง เพราะนิ้วก้อยซ้ายถือว่าสำคัญมากในการจับถือถ้วย ลูกเต๋าในการเล่นพนัน

แต่สมาชิกของ Yakuza มักอ้างถึงการบั่นข้อปลายนิ้ว yubitsume ดังกล่าวในฐานะที่เป็นหนึ่งในวิถีปฏิบัติของเหล่า samurai เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อการกระทำน่าอับอาย หรือขัดขืนคำสั่งของเจ้านายเหนือหัว ซึ่งการบั่นข้อนิ้วก้อยจะทำให้ samurai ผู้นั้นถูกลดทอนศักยภาพในการจับถือดาบ (katana) ไปด้วย

การสิ้นสุดยุคสมัยแห่งระบอบโชกุน พร้อมกับการเปิดประเทศสู่ความทันสมัยในยุคของจักรพรรดิ Meiji (1868-1912) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของ Yakuza ด้วยเช่นกัน

บทบาทของ Yakuza ในลักษณะของ machi yakko ซึ่งเดิมทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ชุมชน ถูกแทนที่ด้วยระบบของตำรวจ สมัยใหม่ และลดทอนความสำคัญต่อชุมชนเป็นลำดับ ขณะที่ bakuto ถูกผลักให้เข้าสู่มุมมืดของสังคมมากขึ้น เมื่อกลไกรัฐของ Meiji ดำเนินมาตรการที่เข้มงวดกับการพนันอย่างหนักหน่วง Yakuza ในรูปแบบเดิมๆ จึงแทบไม่เหลือที่ทางให้ได้ใช้เป็นที่อยู่ที่ยืน

อย่างไรก็ดี ความทันสมัยที่ท่วมโถมเข้าสู่สังคมญี่ปุ่นในเวลาต่อมา ได้กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อ Yakuza สายพันธุ์ใหม่ให้งอกเงยขึ้นในเขตเมืองใหญ่และเมืองท่า ซึ่งเป็นแหล่งผลประโยชน์ใหม่อย่างรวดเร็ว

Yakuza เริ่มเข้ามาเรียกรับผลประโยชน์ในรูปของค่าคุ้มครองจากธุรกิจใหญ่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมายในย่าน red-light รวมถึงการเข้าไปจัดสรรผลประโยชน์ให้กับแรงงานในท่าเรือ และการลักลอบขนส่งสินค้าหนีภาษี และค้าขายยาเสพติดไปในคราวเดียวกัน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงปลายของสมัย Meiji ที่ต่อเนื่องสู่ยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) ได้กลายเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ Yakuza เติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสู่การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งองค์กรอาชญากรรมอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ยังดำเนินสืบเนื่องมากระทั่งในปัจจุบัน

ขณะเดียวกันกระแสของสงครามได้ส่งผลให้ Yakuza บางส่วนซึ่งมีแนวความคิดชาตินิยมสุดขั้ว (ultra-nationalists) ผันบทบาทมาสู่การเป็นผู้พิทักษ์ (guardians) ของสังคมญี่ปุ่นอีกครั้ง ทั้งโดยการจารกรรม ก่อวินาศกรรม และลอบสังหารกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่น อย่างต่อเนื่อง โดยมีข้าราชการและทหารเข้าร่วมส่วนในการดำเนินกิจกรรมและมีฐานะเป็นสมาชิกของ Yakuza ด้วย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สมาชิกของ Yakuza ส่วนใหญ่เก็บรับอิทธิพลของวัฒนธรรม American รวมถึงวิถีปฏิบัติของกลุ่มอันธพาลจากซีกโลกตะวันตก มาเป็น ต้นแบบทั้งในเรื่องของการแต่งกาย ที่พยายาม ถอดแบบจากยุครุ่งเรืองของ Al Capone ไปจนถึงรถยนต์อเมริกันสีดำคันใหญ่ ขณะที่ Yakuza บางส่วนได้เข้าร่วมเป็นกลไกใต้ดินให้กับ CIA และกลุ่มการเมืองอนุรักษนิยม ในการต่อต้านอิทธิพลของลัทธิ Communist และกำจัดปฏิปักษ์ทางการเมืองอย่างเอิกเกริก

กิจกรรมของ Yakuza ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายบริบทไปอย่างกว้างขวางและครอบคลุมธุรกรรมสีเทาไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟอกเงิน การปั่นหุ้น ธุรกิจปล่อยเงินกู้ การค้ามนุษย์ sex-tour กิจการซ่องโสเภณี ยาเสพติด รวมถึงการรีดไถและฮั้วประมูลการก่อสร้าง ซึ่งอิทธิพลของ Yakuza นี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น หากยังขยายไปสู่การสร้างเครือข่ายในประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมนอกกฎหมายถึงในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว

ขณะเดียวกัน Yakuza ได้ขยายบทบาทเข้าสู่ธุรกิจบันเทิง กีฬา และธุรกิจสื่อ ทั้งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งนับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับโลกธุรกิจและวัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว โดยธุรกิจสื่อของ Yakuza ได้กลายเป็นช่องทางในการเรียกรับผลประโยชน์จากบรรษัทธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของรายได้จากการลงโฆษณาและการข่มขู่ blackmail ด้วยการเขียนข่าวในทางลบ

ภายใต้เครือข่ายของธุรกิจหลากหลาย ที่ถูกระบุให้เป็น underworld ของสังคมญี่ปุ่นนี้ การแบ่งเวลาเป็นกลางวันกลางคืนดูจะไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก เพราะสำหรับ Yakuza ซึ่งพยายามดำเนินบทบาทและหน้าที่ในฐานะผู้พิทักษ์ (guardians) และจัดสรรทรัพยากรให้กับสังคมญี่ปุ่นนี้ มีเพียงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เท่านั้นที่พวกเขาใส่ใจ

เป็นบทบาทและหน้าที่ของผู้พิทักษ์ bad hands ที่ good hands จากหน่วยงานภาครัฐของญี่ปุ่น ยังเอื้อมเข้าไปไม่ถึง และต้องปล่อยให้อยู่ร่วมบนร่างกายนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us